สรุปภาวะตลาด

วันอังคารที่ผ่านมา ดัชนีปรับตัวลงต่อเนื่อง ทำจุดต่ำสุดใหม่บริเวณ 1,540 จุด แรงขายนำโดยหุ้นกลุ่มการเงิน ค้าปลีก และพลังงาน ปัจจัยกดดันมาจากการรายงาน CPI เดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 7.66% สูงกว่าที่ตลาดคาดที่ 7.5% ประกอบกับความกังวลตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่สูงขึ้น ทำให้มีแรงซื้อในหุ้นกลุ่มโรงพยาบาล ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,541.30 จุด -18.97 จุด -1.22% มูลค่าการซื้อขาย 76,714 ลบ. ต่างชาติ -3,024.70 ลบ. TFEX +11,067 สัญญา ตราสารหนี้ +445.63 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงาน โดยอ้างแหล่งข่าวว่า ปธน.โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐอาจประกาศยกเลิกการจัดเก็บภาษีสินค้านำเข้าบางส่วนจากจีนภายในสัปดาห์นี้ รวมทั้งประกาศมาตรการตรวจสอบการอุดหนุนภาคอุตสาหกรรม ซึ่งอาจนำไปสู่การเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมจากหลายภาคส่วน ซึ่งรวมถึงธุรกิจเทคโนโลยี

+ ดัชนี PMI ภาคบริการของจีนดีดตัวขึ้นแตะระดับ 54.5 ในเดือนมิ.ย. ขยายตัวรวดเร็วที่สุดในรอบเกือบ 1 ปี หรือนับตั้งแต่เดือนก.ค.ปีที่แล้ว และเป็นการขยายตัวเดือนแรก หลังจากที่หดตัวลงติดต่อกัน 3 เดือน

+ รมว.สาธารณสุขคนใหม่ของฮ่องกงคาดว่าฮ่องกงจะเปิดพรมแดนกับจีนผ่านทางเมืองเซินเจิ้นได้ก่อนวันที่ 4 ส.ค.  ซึ่งถือเป็นความคืบหน้าครั้งสำคัญในการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด-19 ที่เข้มงวดในจีน

+ รัฐบาลจีนเตรียมจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน วงเงิน 5 แสนล้านหยวน (7.469 หมื่นล้านดอลลาร์) เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศที่ซบเซา

+/- ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 2,428 ราย ATK 4,079 มีผู้เสียชีวิต 22 ราย รักษาหาย 2,049 ราย

ปัจจัยลบ –

– ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 129.44 จุด -0.42% กังวลภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐ แต่ดัชนี S&P500 และดัชนี Nasdaq ปิดบวกโดยได้แรงหนุนจากคำสั่งซื้อหุ้นในช่วงท้ายตลาด ซึ่งรวมถึงหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี

– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลุง 8.93 ดอลลาร์ 8.2% ปิดที่ 99.50 ดอลลาร์/บาร์เรล ต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 25 เม.ย. กังวลว่าเศรษฐกิจโลกที่ส่งสัญญาณถดถอย และการที่จีนมีแนวโน้มจะกลับมาล็อกดาวน์เมืองสำคัญ อาจส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันในตลาดโลกทรุดตัวลงด้วย

– ตลาดพันธบัตรสหรัฐเกิดภาวะ inverted yield curve โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปีปรับตัวสูงกว่าอายุ 10 ปี ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้ เกิดความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย

– โตเกียวพบมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 5,302 ราย มากกว่า 5,000 รายเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย. ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในกรุงโตเกียวพุ่งขึ้นมากกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน

– ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิต-บริการ ขั้นสุดท้ายของยูโรโซน ปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 16 เดือนที่ 52.0 ในเดือนมิ.ย. 2565 จากระดับ 54.8 ใน เดือนพ.ค. ซึ่งสูงกว่าประมาณการก่อนหน้าที่ 51.9 เพียงเล็กน้อย

– กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มิ.ย.2565 พุ่ง 7.66% สูงสุดในรอบ 13 ปี จากราคาน้ำมัน ค่าไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม เพิ่มขึ้นไม่หยุด จับตาไตรมาส 3 ยังทะยานต่อ แต่ทั้งปียังยืน 4-5%

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีวันนี้แกว่งตัวผันผวนระหว่างวัน โดยนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐ ประกอบกับราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลงแรงกดดันหุ้นกลุ่มพลังงาน ขณะที่เงินบาทที่อ่อนค่าต่อเนื่องส่งผลให้ Fund Flow ไหลออก มองกรอบการเคลื่อนไหวในวันนี้ 1,530-1,550 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • กนง.มีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยช่วงครึ่งปีหลัง + หุ้นแบงก์ได้ประโยชน์จากธปท.เลิกเพดานจ่ายปันผล และทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น เราชอบแบงก์ใหญ่ KBANK SCB BBL KTB TISCO
  • ครม.เว้นภาษี VAT สำหรับผู้ประกอบการ Data Center : ICN ITEL MFEC INSET .
  • กังวลโควิด-19 ระลอกใหม่ : BH BDMS CHG BCH PRINC WPH
  • หุ้นเด่น IAA Consensus : BBL BEM CPN KBANK

หุ้นรายงานพิเศษ

VIH  อยู่ระหว่างพิจารณา M&A เพื่อสร้างการเติบโตเพิ่มเติมจากธุรกิจใหม่

  • 1Q65 มีรายได้ 1299.93 ลบ. ขยายตัว +104.5%YoY +65.80%QoQ โดยในปี 2564 และใน 1Q65 มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการรักษาคนไข้โควิดผ่าน 1. บริการคัดกรองผู้ป่วยโควิด 2. ร่วมมือกับโรงแรมเปิด Hospitel กว่า 14 แห่ง 3. จัดโครงการ Factory Sandbox ในการคัดกรองและฉีดวัคซีนในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ และ 4. บริการ Alternative Quarantine ให้แก่นักท่องเที่ยว รวมถึงมีรายได้ที่ขยายตัวจากคนไข้ OPD/IPD ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้รายงานกำไร 1Q65 ที่ 371.96 ลบ ขยายตัว +501.75%YoY +509.57%QoQ
  • ผู้บริหารตั้งเป้ากำไรเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในปี 2565 ผ่านการลดคนไข้แบบ Capitation หรือคนไข้ประกันสังคม และเพิ่มคนไข้แบบ OPD/IPD หรือคนไข้ทั่วไปที่มี margin สูงกว่า รวมถึงอยู่ระหว่างพิจารณาดำเนินการ M&A เพื่อสร้างการเติบโตเพิ่มเติมจากธุรกิจใหม่และกระจายความเสี่ยง
  • ความเห็น มีมุมมอง Neutral ต่อแนวโน้มผลประกอบการในปี 2565 เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์โควิดมีแนวโน้มลดความรุนแรงลง ทำให้รายได้ในส่วนนี้มีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาการเติบโตของกำไร ในช่วง 5 ปีย้อนหลังก่อนเกิดการระบาดของโรคโควิด`19 พบว่า VIH มีกำไรเติบโต 18% มากกว่าในตลาดกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันที่ 12% นอกจากนี้ VIH มีการกระจายความเสี่ยงผ่านการวางกลยุทธ์ให้โรงพยาบาล Vichaivej แต่ละสาขามีความโดนเด่นทางการแพทย์ที่แตกต่างกับ เพื่อรองรับผู้ป่วยหลายหลาย อาทิ โรงพยาบาล Vichaivej สาขาอ้อมน้อย ซึ่งตั้งอยู่บริเวณรอยต่อของจังหวัดกรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร และนครปฐม จึงเกิดอุบัติเหตุในบริเวณนี้เป็นประจำทำให้สาขานี้มีความโดนเด่นในศูนย์กระดูกและสมอง และโรงพยาบาล Vichaivej สาขาสมุทรสาคร ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความหนาแน่นของโรงงานอุตสาหกรรมมากจึงมีหน่วยงานตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ ซึ่งการกระจายความเสี่ยงนี้ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อกำไรจากบริการคนไข้ทั่วไป

หุ้นมีข่าว

(+) WICE (Bloomberg consensus 22.50 บาท) รับเต็มๆ สงบศึกสงครามการค้า สหรัฐปลดกำแพงภาษีจีน ชี้มีสาขาที่จีน 4 สาขา สัดส่วนส่งออกสหรัฐสูง เตรียมรับคำสั่งซื้อเพิ่มทางตรง แถมได้ทางอ้อมจากเศรษฐกิจจีนฟื้น ทำให้การขนส่งไปจีนมากขึ้น ด้านนักวิเคราะห์เปิดโผหุ้นรับอานิสงส์ อิเล็กทรอนิกส์มีโอกาสกลับมา แต่ต้องติดตามดีมานด์ และสต๊อกสินค้า (ที่มา ทันหุ้น)

(+) MC (Bloomberg consensus 11.75 บาท) แย้มผลงานโค้งสุดท้ายสดใสต่อเนื่อง ย้ำเป้ารายได้ปีนี้แตะ 3,000 ล้านบาท พร้อมคุมต้นทุนรักษามาร์จิ้น เดินหน้าเปิดสาขา Mc Outlet ครบ 72 สาขา ตามแผน ด้านโบรกมองแนวโน้มกำไรปี 2565 มีโอกาสเติบโตดีกว่าคาด จากการฟื้นตัวของ SSSG การเพิ่มขึ้นของราคาต้นทุนวัตถุดิบยังไม่ส่งผลกระทบ (ที่มา ทันหุ้น)

(+) IMH (Bloomberg consensus 29.15 บาท) ลั่นจิ๋วแต่แจ๋ว ชี้ปีหน้าเตรียมแปลงร่างเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ หลังปิดดีล M&A ปีนี้ พร้อมเปิดรายชื่อผู้บริหารโรงพยาบาล IMG แบริ่ง ในเดือนตุลาคม แย้มยอดผู้ป่วยโควิดปัจจุบันพุ่งเต็มทุกเตียง เร่งจับมือร่วมกับโรงแรมรองรับเพิ่มอีก 400 เตียง ย้ำเป้ารายได้ปีนี้ที่ 1.2 พันล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

(+) ORI (Bloomberg consensus 14.05 บาท) โชว์ครึ่งปีแรกกวาดยอดขายบ้าน-คอนโดคึก 17,772 ล้านบาท ทะลุ 51% ของเป้าหมายทั้งปี หลังไตรมาส 2/2565 ทำผลงานกว่า 9,623 ล้านบาท มั่นใจครึ่งปีหลังตลาดยังแกร่งจากหลายปัจจัยบวก เตรียมเปิดคอนโด-บ้านเพิ่มอีก 20 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 26,500 ล้านบาท หนุนยอดขายทะลุ 35,000 ล้านบาท สร้างสถิติ All Time High (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 6 ก.ค. สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย 6 ก.ค. อียู รายงานยอดค้าปลีกเดือนพ.ค. (สภาผู้ส่งออก) แถลงสถานการณ์การส่งออก ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แถลงสรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์
  • 7 ก.ค. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม หอการค้าไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค
  • สัปดาห์ที่ 2 สภาธุรกิจตลาดทุนไทย แถลงผล สํารวจดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนและอัพเดต สถานการณ์ลงทุน
  • 8 ก.ค. ประชุม ศบค. ชุดใหญ่
  • 19-22 ก.ค. อภิปรายไม่ไว้วางใจ
  • ภายใน 21 ก.ค. หุ้นกลุ่มธนาคารส่งงบฯงวด 2Q65
  • 10 ส.ค. ประชุมกนง. ครั้งที่ 4/65

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 6 ก.ค. อียูรายงานยอดค้าปลีกเดือน พ.ค.

สหรัฐ รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาค บริการขั้นสุดท้ายเดือนมิ.ย. ดัชนีภาคบริการเดือน มิ.ย.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน และอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนพ.ค. (เช้าวันที่ 7 ก.ค.) คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ(FOMC) เปิดเผยรายงานการประชุมวันที่ 14-15 มิ.ย.

  • 7 ก.ค. สหรัฐรายงานตัวเลขจ้างงานภาคเอกชน เดือนมิ.ย.จาก ADP จํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้าเดือนพ.ค. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสํานักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)

จีน รายงานทุนสํารองเงินตราต่างประเทศเดือน มิ.ย.

 

- Advertisement -