Daily Focus: Defensive Play // Bet on Rebound at 1500-1520+-

2022SET Target, 1670

ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index ปรับตัวลงแรงกว่าคาด -18.97 จุด และทำระดับปิดต่ำสุดในรอบ 11 เดือน จากความกังวลเศรษฐกิจโลก รวมถึงแรงกดดันหลังกระทรวงสาธารณสุขแจ้งเตือนระวังการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ สถาบันในประเทศขายสุทธิในตลาดหุ้นบางๆ 183 ลบ. ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายเร่งขึ้นเป็น 3 พันลบ. (แต่ Long Index Futures อีก 1 หมื่นสัญญา)

แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index มีแนวโน้มปรับตัวลงต่อเนื่องจากบรรยากาศการลงทุนที่ค่อนไปในทางลบ จากความกังวลโอกาสเกิด Recession ในปีหน้าที่สูงขึ้น เม็ดเงินพลิกมาไหลเข้าพันธบัตร ส่งผลให้ Bond Yield ปรับตัวลงแตะระดับราว 2.84% และเริ่มเกิด Inverted Yield Curve จากส่วนต่างBond Yield 10Y-2Y ที่ติดลบ นอกจากนี้ Dollar Index ยังแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนแตะ 36 บาท/ ดอลลาร์ สูงสุดในรอบ 6 ปี เรายังประเมินว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงฟื้นตัวสวนทางสหรัฐฯ และยุโรป อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อไทยที่เร่งตัวและบาทอ่อนกดดันให้ธปท.อาจจะเป็นต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่ประเมิน รวมถึงหากเกิด Recession ในฝั่งสหรัฐฯ และยุโรปปีหน้า อาจทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจไทยช้ากว่าที่เคยประเมิน ทำให้ SET Index ยังอยู่ในช่วงพักฐาน เราคาดว่ามีโอกาสเกิด Technical Rebound จากแนวรับหลักบริเวณ 1,500-1,520+- จุด โดยระดับดังกล่าวคิดเป็น PER ราว 15.4 เท่า และ Earnings Yield Gap ราว 3.75% ใกล้เคียงค่าเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลัง ยังเน้นหุ้น Defensive ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าบริการจำเป็น

กลยุทธ์ : เน้นลงทุนหุ้น Defensive Play // รอซื้อลุ้น Rebound บริเวณ 1,500 1,520+- จุด

หุ้นเด่นเดือน ก.ค. : CK, CPN, GFPT, KTB, MAKRO

หุ้นเด่นวันนี้ : BDMS

  • แนะนํา “ซื้อ” ราคาเป้าหมายจาก FSSIA 31 บาท
  • เป็นหุ้นหลบภัยที่คาดแข็งแรงกว่าตลาดที่ผันผวนระยะนี้ โมเมนตัมผลการดำเนินงาน 2Q22 คาดยังโตแกร่ง Y-Y จากทั้งผู้ป่วยที่ไม่ใช่ COVID-19 และต่างชาติที่เริ่มฟื้น
  • แนวโน้ม 2H22 คาดยังโดดเด่นต่อเนื่อง ทั้งปัจจัยฤดูกาลและนักท่องเที่ยวที่กลับเข้ามาชัดเจน และจะเต็มที่มากขึ้นในปี 2023 FSSIA คาดกำไรปี 2022-2023 +31% Y-Y และ +24% Y-Y ตามลำดับ
  • แนวรับ 25 บาท แนวต้าน 27-27.50 บาท

Fund Flow : วานนี้กระแสเงินทุนพลิกมาไหลเข้าภูมิภาคบางๆ US$190 ล้าน แต่กระจุกตัวที่เกาหลีใต้ US$312 ล้าน ส่วนอาเซียนไหลออกทุกประเทศ นำโดยไทย US$84 ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนคาดว่าพลิกมาไหลออกจากความกังวล Recession ในปีหน้าที่มีโอกาสมากขึ้น เม็ดเงินพลิกมาไหลเข้าพันธบัตรและถือดอลลาร์

ประเด็นสําคัญวันนี้

(-) เงินเฟ้อไทยเดือน มิ.ย. สูงกว่าคาด โดยเงินเฟ้อทั่วไป +7.66% Y-Y (ตลาดคาด +7.5% Y-Y) ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐาน +2.51% Y-Y (ตลาดคาด +2.37% Y-Y) เพิ่มโอกาสให้ธปท.ปรับขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 1 ครั้งในปีนี้  โดยเราเชื่อว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยแน่นอนในเดือน ส.ค. 0.25% และมีโอกาสปรับขึ้นใน 4Q22 อีกครั้ง ซึ่ง Survey จากสมาคมนักวิเคราะห์ที่เสียงส่วนใหญ่มองธปท.ปรับขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งปีนี้เป็น 1% ปัจจัยดังกล่าวกดดันหุ้น Tech และหุ้น PER สูง ขณะที่กลุ่มธนาคารคาดยังปรับตัวได้แข็งแรงกว่าตลาด จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น เราชอบ KTB BBL KBANK ซึ่งได้ประโยชน์สูงสุด

(0) AEONTS กำไร 1Q22 +22% Q-Q, -3% Y-Y ออกมาตามคาด ฟื้นตัวตาม เศรษฐกิจในประเทศที่ดีขึ้นหนุนยอดสินเชื่อเติบโต NIM ปรับขึ้น อย่างตามประเด็นที่เป็น ลบคือ NPL ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าคาด เป็น 5.3% ส่งผลให้ Coverage Ratio ลดลงเหลือ 219% ซึ่งคาดเป็นผลจากเงินเฟ้อที่ท่าให้ความสามารถในการชาระหนี้ของผู้บริโภค ลดลง แนวโน้ม 2Q22 คาดชะลอ Q-Q จากยอดขาย NPL ที่หายไป แต่ยังโตแรง Y-Y แต่กังวลคุณภาพสินทรัพย์มากขึ้น คงราคาเป้าหมาย 188 บาท แนะน่าเพียง “อือ” (ประธานกรรมการ/กรรมการ (มีอำนาจลงนาม) ของ FINANSIA SYRUS เป็น กรรมการ ของ AEONTS)

(-) SCCC ภาพรวม 2Q22 ถูกกดดันจากฤดูฝน ต้นทุนวัตถุดิบและเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น รวมถึงปัจจัยลบในศรีลังกาและบังกลาเทศ อย่างไรก็ดี บรรเทาด้วยการปรับขึ้นราคาขายที่ชดเชยผลกระทบต้นทุนได้บางส่วน หนุนยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นขยับขึ้นได้ Y-Y เราประเมินกำไรปกติ 2Q22 -32% Y-Y แต่ +43% Y-Y แต่พิจารณากำไรสุทธิคาดลดลง Q-Q, Y-Y เนื่องจากมี FX loss และ Surcharge Tax จากศรีลังกา คงประมาณการกำไรปกติ +3% Y-Y แต่ปรับลด Target PE สะท้อนความเสี่ยงที่สูงขึ้นจากวิกฤติศรีลังกา ทำให้ราคาเป้าหมายลดลงเป็น 160 บาท ราคาหุ้นมี Upside จํากัด บวกกับแนวโน้มงบ 3Q22 หดตัวต่อ จึงปรับลดคำแนะนำเป็น “ถือ”

(-) ตลาดดาวโจนส์ ลดลง 129.44 จุด หรือ 0.42% ปิดที่ 30,967.82 จุด จากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐ อย่างไรก็ดี ดัชนี S&P500 และดัชนี Nasdaq ปิดบวกจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี

(-) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดลบ กดดันจากการประท้วงของคนงานน้ำมันและก๊าซของนอร์เวย์ ทำให้เกิดความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับภาวะวิกฤตด้านพลังงานในยุโรปและเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น

(-) ตลาดหุ้นเอเชีย ปรับลง ตามทิศทางตลาดหุ้นดาวโจนส์

(-) ค่าเงินบาท อ่อนค่าลง อยู่ที่บริเวณ 35.95 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ลดลง 8.93 ดอลลาร์ หรือ 8.2% ปิดที่ 99.50 ดอลลาร์/บาร์เรล จากความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย และการแพร่ระบาด COVID-19 ในจีน กระทบความต้องการใช้น้ำมันในตลาดโลก

(-) ราคาทองคำ COMEX ลดลง 37.6 ดอลลาร์ หรือ 2.09% ปิดที่ 1,763.9 ดอลลาร์/ออนซ์ จากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์

SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 1,032.04 / -9.86

- Advertisement -