Daily Focus: Domestic and Reopening Play // Bet on Rebound at 1500-1520+
2022SET Target: 1670
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index ปรับตัวในแดนลบเกือบตลาดทั้งวัน ก่อนที่ช่วงท้ายตลาด จะมีแรงซื้อหุ้นขนาดใหญ่นำโดยกลุ่มธนาคารและโรงไฟฟ้า หนุนให้ดัชนีฟื้นขึ้นมาปิดลบเพียงเล็กน้อย 0.47 จุด ณ สิ้นวัน สถาบันในประเทศยังขายสุทธิในตลาดหุ้น 1.2 พันลบ. ขณะที่นักลงทุนต่างชาติซื้อต่อเนื่องอีก 1.8 พันลบ. (แต่ Short Index Futures สูงถึง 1.6 หมื่นสัญญา)
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index ยังคงแกว่ง Sideways ในกรอบ 1,548 1,570 จุด ตลาดยังขาดปัจจัยใหม่เข้ามากระตุ้น โดยต่างรอดูตัวเลขเงินเฟ้อเดือน มิ.ย. ของสหรัฐฯที่จะประกาศคืนวันพุธ ซึ่งจะมีผลต่อการเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยของ FED ในการประชุมปลายเดือน ก.ค. ล่าสุด Dollar Index ปรับตัวขึ้นแตะ 108 จุดสูงสุดในรอบ 20 ปี กดดันบาทอ่อนค่าเหนือ 36 บาท/ดอลลาร์อีกครั้ง และการปรับขึ้นของตลาดหุ้นทั่วโลกยังจํากัด จากภาพ Inverted Yield Curve ที่ยังคงค้างอยู่ต่อเนื่อง สะท้อนความกังวลโอกาสเกิด Recession ปีหน้า อย่างไรก็ตาม ยังคงมอง SET Index จะปรับตัวได้แข็งแรง กว่าจากเศรษฐกิจที่อยู่ในทิศทางขาขึ้นสวนทางคนอื่น โฟกัสสัปดาห์นี้อยู่ที่การเริ่มประกาศผลประกอบการ 2Q22 ของกลุ่มธนาคาร ยังมองแนวรับหลัก 1,500-1,520+- จุด จะทํางานได้ดีและเป็นโอกาสสะสมหุ้นหากปรับฐานลง ส่วนหุ่นยังเน้นกลุ่ม Value Play ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าบริการจำเป็น รวมถึงกลุ่ม Reopening
กลยุทธ์ : เน้นลงทุนหุ้น Domestic and Reopening Play//รอซื้อบริเวณ 1500 – 1,520+-จุด
หุ้นเด่นเดือน ก.ค. : CK, CPN, GFPT, KTB, MAKRO
หุ้นเด่นวันนี้ : CKP
- แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายจาก FSSIA 6.60 บาท
- คาดกําไรอยู่ในช่วงฟื้นตัวใน 2Q22 และลุ้นทำ New High ใน 3Q22 ตามปริมาณน้ำในเขื่อนที่เพิ่มขึ้นหลังเข้าฤดูฝน ซึ่งเป็น High Season
- Consensus คาดกําไรปี 2022-2023 เติบโตเฉลี่ย +5% CAGR แม้จะไม่ร้อนแรง แต่คาดยังทำ New High ได้ต่อเนื่อง และกลุ่มโรงไฟฟ้าคาดยังมีแนวโน้ม Outperform ตลาดที่ผันผวนในระยะนี้
- แนวรับ 5.40//5.20 บาท แนวต้าน 5.80//6.20 บาท
Fund Flow : วานนี้กระแสเงินทุนพลิกมาไหลออกจากภูมิภาค US$187 ล้าน นำโดยไต้หวันและเกาหลีใต้ประเทศละ US$103-119 ล้าน ส่วนอาเซียนเม็ดเงินยังผสมผสาน แด่ค่อนไปในทิศทางไหลเข้านำโดยไทย แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดยังเบาบางและค่อนไปในทิศทางไหลออก รอดูตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯกลางสัปดาห์นี้
ประเด็นสำคัญวันนี้
(0) จับตาเงินเฟ้อสหรัฐฯ คืนพรุ่งนี้ ตลาดคาดเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มิ.ย. +1% M-M, +8.8% Y-Y (เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ +8.6% Y-Y) ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานคาด +0.6% M M, +5.8% Y-Y ชะลอเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ +6% Y-Y โดยจะเป็นตัวเลขเงินเฟ้อชุดสุดท้าย ก่อนที่ FED จะปรับชุมในช่วงวันที่ 26-27 ก.ค. หากตัวเลขเงินเฟ้ออกมาสูงกว่าคาดว่าจะตอกย้ำให้ FED ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.75% อย่างแน่นอน (ตลาดคาดความน่าจะเป็น 92%) กดดันหุ้น Growth และ PER สูงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่กลุ่ม Value Play จะยัง Outperform โดยเฉพาะกลุ่มธนาคาร ส่วนกนง.เราคาดปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในเดือน ส.ค. ค่อนข้างแน่นอนหลังเสียงแตกรอบก่อน
(0) KBANK ประกาศ Strategic Transformation Strategy มูลค่า 1 แสนลบ. ทั้งการ ลงทุนด้าน IT การ M&A ที่มากขึ้น รวมถึงการขยายธุรกิจไปยังบริการที่ยังไม่เคยเข้าถึง ทั้ง Unbanked และ Underbanked เรามองเป็นกลางโดยระยะสั้น-กลางอาจมีต้นทุน ส่วนเพิ่มเข้ามาทั้ง CAPEX และ OPEX แต่หลังจากได้ฐานลูกค้าเพิ่มจะช่วยหนุนให้ ROE เพิ่มขึ้นในระยะยาว ยังคงราคาเป้าหมายปี 2023 ที่ 192 บาท แนะนำ “ซื้อ” (Source: FSSIA)
(+) BEM คาดกำไร 2Q22 ฟื้นตัว +113% Q-Q, +257% Y-Y ตามการ Reopening หนุนปริมาณรถบนทางด่วน +7% Q-Q, +33% Y-Y รวมถึงจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้า +23% Q-Q, +33% Y-Y ทำให้รายได้ฟื้นดี ขณะที่ฝั่งต้นทุนคาดยังอยู่ในคาดการณ์ โดยส่วนที่ปรับขึ้นมากสุด คือ ค่าไฟและค่าบำรุงรักษา ตั้งแต่เดือน ก.ค. 22 เป็นต้นไป BEM ต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้จากรถไฟฟ้าสีน้ำเงินมากขึ้นจาก 5% เป็น 15% ตามสัญญา สําหรับช่วงหัวล่าโพง-บางซื่อ เราประเมินค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นราว 200 ลบ.ต่อปี เราปรับลดประมาณการก่าไรปี 2022-2023 ลงเป็น +152% Y-Y และ +64% Y-Y ตามลำดับ แต่ปรับใช้ราคาเป้าหมายปี 2023 ที่ 9.90 บาทเท่าเดิม โดยยังมี Catalyst บวกจากการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มภายในปีนี้ คงคำแนะนำ “ซื้อ” (Source: FSSIA)
(-) ตลาดดาวโจนส์ ปิดที่ 31,173.84 จุด ลดลง 164.31 จุด หรือ -0.52% จากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มผลประกอบการของธนาคารรายใหญ่
(-) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดลบ โดยถูกกดดันจากความวิตกเกี่ยวกับปริมาณพลังงานที่ดึงตัวในยุโรป และการแพร่ระบาดครั้งใหม่ของโรคโควิด-19 ในจีน
(-) ตลาดหุ้นเอเชีย ปรับตัวลง ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นสหรัฐฯ
(-) ค่าเงินบาท อ่อนค่า อยู่ที่บริเวณ 36.23 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ปรับลดลง 2.40 ดอลลาร์ หรือ 2.29% ปิดที่ 102.39 ดอลลาร์/บาร์เรล ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย
(-) ราคาทองคำ COMEX ลดลง 10.6 ดอลลาร์ หรือ -0.61% ปิดที่ 1,731.7 ดอลลาร์/ออนซ์ จากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์เป็นปัจจัยกดดันตลาด
SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 1,023.27 /-