KS Daily View 12.07.2022 > หุ้นโลกยังผันผวน แรงกดดันยังมาจากการคุมเข้ม Covid ในจีน SET วันนี้คาดแกว่งในกรอบ 1550-1560 หุ้นแนะนำ SPALI
ต่างประเทศ : สินทรัพย์เสี่ยงยังผันผวนสูงบวกลบสลับกันรายวัน สะท้อนจากเมื่อคืนตลาดหุ้นสหรัฐปรับลง S&P500-1.1%, Nasdaq -2.26% โดยนักลงทุนลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยง(Risk off) เข้าสินทรัพย์ปลอดภัย อาทิ ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 1% มาอยู่ที่108.2 จุด สูงสุดในรอบ 20 ปี คาดจะหนุนให้เงินบาทอ่อนค่าต่อ แนวต้านสำคัญ 36.5/ 36.8 บาท ขณะที่ US10Y bond yield ปรับตัวลง 8.8bps. เป็น 2.99%
KS เชื่อว่าในช่วงที่เหลือของสัปดาห์นี้ความผันผวนและแรงกดดันยังมาจากเรื่องเดิม คือ
1.) ความกังวลการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย(Recession) หลังจาก US 10-2 Year Treasury Yield Spread ยังคงติดลบที่ 0.08% ซึ่งตลาดให้น้ำหนักและกังวลภาวะ Recession ในระยะถัดไป และที่สำคัญคือ ตลาดเชื่อว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิค (Technical Recession) คือ GDP ต้องติดลบ 2 ไตรมาสติด ปัจจุบันตลาดให้หนักไปที่สหรัฐฯลฯ คาดจะเกิดเพราะ GDP สหรัฐ ไตรมาส 1 ติดลบ และ Model ของ Fed Atlanta คาด GDP สหรัฐไตรมาส 2 จะติดลบต่อ แต่อีกฝั่งคือการเกิดแบบ Real Recession คือ ตัวเลขเศรษฐกิจออกมาไม่ดี ตัวอย่างคือ อัตราการว่างงานพุ่งแรง, ดัชนี PMI ปรับลงต่ำกว่า 50 จุดและต่ำนานๆ โดย ณ.ปัจจุบัน อัตราการว่างงานสหรัฐยังต่ำมาก ล่าสุดอยู่ที่ 3.6% เป็นระดับใกล้เคียงกับก่อนเกิด Covid-19
2.) สถานการณ์ Covid ติดเชื้อโอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.5 ในจีนที่เพิ่มขึ้น โดยเซี่ยงไฮ้ได้ทำการตรวจ Covid ระลอกใหญ่อีกครั้ง หลังพบผู้ติดเชื้อใหม่ 69 คน โดยจากนโยบาย Zero Covid ทำให้รัฐบาลจีนได้มีการ lockdown เมืองใหญ่หลายเมือง และตลาดหุ้นกังวล Lockdown อาจจะขยายเป็นวงกว้างเพิ่มซึ่งเป็นประเด็นเดิมที่เกิดขึ้นหลายครั้งในปีนี้ ทำให้เกิดความกังวลการค้าโลกชะลอช่วงสั้น และกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ น้ำมัน ฯลฯ เนื่องจากจีนเป็นประเทศคู่ค้า,ผู้นำเข้าสินค้า รายใหญ่
3.) ฝั่งยุโรป มีแรงกดดันภาวะวิกฤตพลังงานหากรัสเซียหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติ,ความกังวลเรื่อง Recession
4.) การดำเนินนโยบายการเงินของ Fed สัปดาห์นี้ตลาดหุ้นโลก wait&see รอวันที่ 13 ก.ค. อัตราเงินเฟ้อสหรัฐ เดือน มิ.ย. Consensus คาดอยู่ที่ 8.8%YoY เพิ่มขึ้นจาก 8.6%YoY หากออกมาต่ำคาดจะทำให้ตลาดหุ้นโลกปรับขึ้นแรง KS ประเมินเงินเฟ้อยังทรงตัวสูง และมีโอกาสอ่อนตัวลงจาก แต่หากออกมาสูงกว่าคาดประเมินตลาดอาจจะพักฐานลงช่วงสั้น แต่จะลงไม่มาก
ในประเทศ: วันนี้ประเด็นสำคัญ คือ 1.) การประชุม ครม.มีประเด็นสำคัญพูดคุยคือ อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลที่จะเริ่มขึ้นในสัปดาห์, สถานการณ์โควิด-19 Ba.4 Ba.5 ที่เพิ่มขึ้นในไทย,เห็นชอบมติต่อ พรก.ฉุกเฉินออกไป 2 เดือน 2.) ช่วงนี้เป็นช่วง Earning Preview วันนี้ KS ออกบทวิเคราะห์ 2 บริษัทคือ PTTEP มีมุมมองบวกคาดกำไรสุทธิ 1.97 หมื่นล้านบาท +176% YoY/+87% QoQ คาดกำไรครึ่งหลังของปีนี้ยังแข็งแกร่งต่อ แต่มีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกคือ ความกังวล Recession ราคาเป้าหมายทางพื้นฐานอยู่ที่ 175 บาท, เช่นเดียวกับ STEC มุมมองบวกคาดกำไรสุทธิ 350 ล้านบาท +180% yoY/+51% QoQ ปรับเพิ่มราคาเป้าหมายทางพื้นฐานขึ้นมาอยู่ที่ 20.9 บาท ส่วนปลายสัปดาห์ตลาดให้น้ำหนักการรายงานงบการเงินงวด 2Q65 เริ่มจาก TISCO และ DTAC
Theme ลงทุนหลักในสัปดาห์นี้ :
1.) กลุ่ม Anti commodity แนะนำ PTG, CBG
2.) กลุ่มส่งออกอาหาร แนะนำ CPF
3.) กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากจีนฟื้น แนะนำ PSL
4.) กลุ่มที่ได้ประโยชน์จาก Bond yield ลงคือ กลุ่มการเงินแนะนำ MTC
5.) กลุ่มโรงไฟฟ้า แนะนำโรงไฟฟ้า SPP คือ GPSC BGRIM GULF ได้กระแสบวกจากกกพ.เผยว่าค่า Ft งวด ก.ย.-ธ.ค.65 อาจปรับขึ้น 90-100 สตางค์ต่อหน่วย (ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าที่ให้ข่าวช่วงกลางเดือน มิ.ย.65 คาดจะปรับ 40 สต.)
Theme Event Play :
1.) กระทรวงการคลัง & ธปท.เตรียมขยายเวลามาตรการผ่อนปรนสำหรับที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ทั้งมาตรการ LTV มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองบวกต่อกลุ่ม Property โดยรวม และบวกหลักๆต่อบริษัทที่เน้นกลุ่มลูกค้า Segment ระดับล่าง อาทิ PSH, SENA, LPN
2.) กระแสหน้าฝน บวกต่อหุ้น CKP
3.) กระแสโรคฝีดาษลิง,Covid ผู้ติดเชื้อยังเพิ่มกลุ่มโรงพยาบาล,หุ้น STGT
4.) กระแสสหรัฐ-จีนผ่อนคลายภาษีนำเข้าจะบวก JWD, DELTA
มุมมองตลาดหุ้น SET วันนี้คาดแกว่งในกรอบ 1550-1560 จุด หุ้นแนะนำ SPALI
Top pick :
SPALI (ราคาพื้นฐาน 24.75 บาท) 1.) คาดได้กระแสบวกจากรัฐบาลเตรียมขยายเวลามาตรการผ่อนปรนสำหรับที่อยู่อาศัย 2.) ยอดขายไตรมาส 2/65 ที่ 9.3 พันลบ. เพิ่มขึ้น 62% YoY และ 6% QoQ โครงการแนวราบ-คอนโดมียอดขายแข็งแกร่งในช่วงโลว์ซีซันของไตรมาส 2 3.) กำไรรายไตรมาสมีทิศทางขาขึ้น จากยอดขายโครงการแนวราบที่แข็งแกร่ง และมี upside risk ต่อประมาณการทั้งปี 4.) อัตราตอบแทนเงินปันผล (DY) ที่มากกว่า 6.5%
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ
วันอังคาร ติดตามดัชนี Zew Economic Sentiment Index ของเยอรมัน เดือน ก.ค. คาด -38 จุด (แย่ลงจากเดือนก่อนหน้าที่ -28 จุด) ถ้อยแถลงของ Fed Barkin และรายงานภาวะตลาดน้ำมันประจำเดือนของกลุ่ม OPEC
วันพุธ ติดตามตัวเลขส่งออกและนำเข้าของจีนเดือน มิ.ย. คาด +12% YoY และ +3.9% YoY ตามลำดับ ตัวเลขดุลการค้าของจีนเดือน มิ.ย. คาด +US$75.7bn (-3.9% MoM) ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. คาด +1.1% MoM และ +8.8% YoY (เทียบเดือนก่อนที่ +8.6% YoY) ตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานของสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. คาด +0.6% MoM และ +5.8% YoY (เทียบเดือนก่อนที่ +6.0% YoY) และสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ
วันพฤหัสฯ ติดตามดัชนีราคาผู้ผลิตของสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. คาด +0.8% MoM และ +10.7% YoY ดัชนี Core PPI ของสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. คาด +0.5% MoM และ +8.3% YoY ตัวเลขการขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. คาด +235K ทรงตัว MoM ถ้อยแถลงของ Fed Waller และตัวเลข FDI ของจีนเดือน มิ.ย. คาด +15% YoY (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ +17% YoY)
วันศุกร์ ติดตาม ตัวเลข GDP 2Q22 ของจีนคาด -2.3% QoQ และ +1% YoY ตัวเลข Retail sales ของจีนเดือน มิ.ย. คาด +0.3% YoY (จากเดือนก่อนหน้าที่ -6.7% YoY) ตัวเลข Fixed asset investment ของจีนใน 1H22 คาด +6% YoY ตัวเลข Industrial production ของจีนเดือน มิ.ย. คาด +0.7% YoY ตัวเลข Wholesale Price ของเยอรมันเดือน มิ.ย. คาด +1% MoM และ +22.9% YoY ตัวเลข Retail sales ของสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. คาด +0.8% MoM และ +6.5% YoY ตัวเลข Industrial production ของสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. คาด +0.1% MoM และ +4.8% YoY ตัวเลข Michigan Consumer Sentiment ของสหรัฐฯ เดือน ก.ค. คาด -0.4% MoM เป็น 49.8 จุด