บล.พาย:
BEM บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ
“คาดกำไร 2Q22 แตะจุดสูงในรอบ 10 ไตรมาส”
คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 9.50 บาท คาดกำไรสุทธิ 2Q22 ที่ 577 ล้านบาท สูงสุดในรอบ 11 ไตรมาสหนุนจากการผ่านปรนมาตรการโควิด-19 ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของกรุงเทพฯ ที่รวมถึงสถาบันการศึกษาด้วย ความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดระลอกใหม่ ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นแต่ไม่มีน้ำหนักมากนัก เพราะผู้คนจำเป็นต้องออกมาทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจนอกบ้านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
คาดกำไรฟื้นตัวแข็งแกร่งใน 2Q22 และ 2H22
- คาดรายได้ 2Q22 ที่ 3.3 พันล้านบาท (+36%YoY +6%QoQ) หนุนจากจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยรายวันในระบบ MRT ที่ฟื้นตัวแข็งแกร่งเป็น 2.31 แสนเที่ยว (+94%YoY +23%QoQ) ขณะที่ปริมาณการจราจรบนทางพิเศษยังอยู่ในระดับที่ดี 1.04 ล้านเที่ยวต่อวัน (+33%YoY +8%QoQ)
- คาดจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยรายวันในระบบ MRT จะฟื้นตัวอย่างมากใน 2H22 จนแตะ 3.10 แสนเที่ยวภายในสิ้นปี หรือระดับที่เห็นครั้งสุดท้ายใน เดือน พ.ย. 2021 แต่คาดว่าจะกลับสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 อีกครั้งใน 2H23 เมื่อมีจำนวนนักท่องเที่ยวกลับมาคิดเป็น 60-70% ของตัวเลขในปี 2019
- ประเมินต้นทุนการดำเนินงานของธุรกิจ MRT ว่าจะเพิ่มขึ้นราว 40 ล้านบาทต่อไตรมาส หรือคิดเป็น 3% ของต้นทุนธุรกิจทางราง (เริ่มเดือน ก.ค. 2022) เนื่องจากส่วนแบ่งค่าตอบแทนสัมปทานจะเพิ่มขึ้นเป็น 15% จาก 5% อิงข้อสัญญาที่ทำกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
การประมูลสายสีส้มอาจถูกเลื่อนอีกครั้ง
กระแสข่าวเกี่ยวกับโอกาสในยกเลิกการประมูลเป็นครั้งที่ 2 อาจสร้างบรรยากาศเชิงลบในระยะสั้นสำหรับ BEM และ BTS (“ซื้อ” เป้าหมาย 11.0 บาท) หลังจากกระทรวงคมนาคมระบุว่าอาจมีการเลื่อนกระบวนการเปิดรับซองประมูลที่เดิมที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 27 ก.ค. 2022 หลังจากมีการยกเลิกกำหนดการประมูลครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2021 ถ้าเกิดขึ้นจริงอาจใช้เวลาอีกหลายเดือนกว่าที่ประเด็นนี้จะมีการชี้แจงรายละเอียดโดยสำนักงานอัยการสูงสุด และคณะกรรมการอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ประเมิน upside ต่อหุ้น BEM หนึ่งตัวที่ 1.50 บาท ภายใต้สมมติฐานที่ว่าโครงการสายสีส้มฝั่งตะวันตกจะเริ่มเดินรถในปี 2027 ตามฝั่งตะวันออกที่จะเริ่มเดินรถในปี 2025
แนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐานที่ 9.50 บาท
คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 9.50 บาท คำนวณด้วยวิธีรวมส่วนธุรกิจ (SOTP) อิง 40.3×PE’23E หรือคิดลด 20% ต่อค่าเฉลี่ยกลุ่มขนส่งไทย คำแนะนำนี้สะท้อนทิศทางการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของกำไรปี 2022-23 พร้อมกับ upside จากโอกาสในการชนะการประมูลสายสีส้ม และการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนที่คิดเป็นสัดส่วนราว 10-15% ของจำนวนผู้โดยสาร MRT ทั้งหมดในช่วงก่อนเกิดโควิด-19
พรีวิวผลประกอบการ
- คาดกำไรสุทธิ 2Q22 ที่ 577 ล้านบาท (+72%QoQ +188%YoY) สูงสุดในรอบ 11 ไตรมาส
- การเติบโต YoY ได้แรงหนุนจากคาดการณ์ว่ารายได้จะโตเป็น 3.3 พันล้านบาท (+36%YoY +6%QoQ) หนุนจากจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยรายวันในระบบ MRT ที่ฟื้นตัวแข็งแกร่งเป็น 2.31 แสนเที่ยว (+94%YoY +23%QoQ) ขณะที่ปริมาณการจราจรบนทางพิเศษยังอยู่ในระดับที่ดี 1.04 ล้านเที่ยวต่อวัน (+33%YoY +8%QoQ)
- การเติบโต QoQ เป็นผลจากการจ่ายเงินปันผลตามฤดูกาลจาก TTW (ถืออยู่ 18.5%) มูลค่า 271 ล้านบาท บวกกับผลประโยชน์ที่ได้รับจากการฟื้นตัวของปริมาณการจราจรบนทางพิเศษ และจำนวนผู้โดยสารในระบบ MRT ที่ฟื้นตัวขึ้น
- คาดอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) จะโตขึ้น YoY และ QoQ เป็น 39.5% จากปริมาณการจราจรบนทางพิเศษ และจำนวนผู้โดยสารในระบบ MRT ที่สูงขึ้น
- คาดอัตราส่วนค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A) ต่อยอดขายเพิ่มขึ้น QoQ เป็น 8.7% จาก 8.5% ใน 1Q22 สืบเนื่องจากค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค
อิงข้อมูลเดือน มิ.ย. 2022 พบว่าปริมาณการจราจรบนทางพิเศษเฉลี่ยรายวันขยายตัว 2%MoM เป็น 1.06 ล้านเที่ยว/วัน ขณะที่จำนวนการโดยสารในระบบ MRT โตขึ้น 23%MoM เป็น 2.83 แสนเที่ยว/วัน หนุนจากการผ่อนปรนมาตรการโควิด-19 แต่ทั้งหมดนี้ยังเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 ในช่วงเดือน ม.ค. 2020 อยู่ (-13% และ -29% ตามลำดับ)
Revenue breakdown
BEM เป็นผู้ให้บริการทางพิเศษครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ เฉลิมมหานครมหานคร ศรีรัชถนนวงแหวนรอบนอกศรีรัช และทางด่วนอุดรรัถยา ซึ่งเส้นทางเหล่านี้คิดเป็น 60% ของรายได้ปกติทั้งหมดของบริษัท
ธุรกิจรถไฟฟ้าใต้ดินคิดเป็นสัดส่วน 32% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งส่วนนี้เป็นการบริการขนส่งโดยรถไฟใต้ดิน โดยปัจจุบันบริษัทให้บริการใน 2 เส้นทางคือรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ซึ่งเป็นเส้นทางหลังดำเนินการภายใต้สัญญาสัมปทานที่เอกชนผู้รับสัมปทานเป็นผู้จัดเก็บรายได้จากการบริการเดินรถทั้งหมด และจ่ายค่าตอบแทนคืนให้รัฐตามที่ตกลง (Net Cost Agreement)
บริษัทและบริษัทย่อย (BMN) ยังปล่อยพื้นที่ให้เช่าแก่เอกชนเพื่อใช้ในการพาณิชย์ รวมถึงการโฆษณาในพื้นที่ โดยการให้เช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ (Commercial Development) นี้ สร้างรายได้คิดเป็นสัดส่วน 8% ของรายได้ของบริษัทในปี 2021