สรุปภาวะตลาด

วันพุธที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหวไซด์เวย์ในแดนบวกราว 5-10 จุด ดัชนีปรับตัวขึ้นตามตลาดต่างประเทศ โดยหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และกลุ่มสื่อสารปรับตัวขึ้นนำตลาด เช่น DELTA, KCE, TRUE, DTAC ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,539.32 จุด +5.89 จุด +0.38% มูลค่าการซื้อขาย 57,493 ลบ. ต่างชาติ -605.82 ลบ. TFEX +1,479 สัญญา ตราสารหนี้ -71.94 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ ดัชนีดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 47.79 จุด +0.15% ขณะที่ดัชนี Nasdaq พุ่งขึ้นเกือบ 1.6% ได้ปัจจัยหนุนจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน

+ ธนาคารกลางจีนประกาศคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปีที่ระดับ 3.7% และคงอัตรา ดอกเบี้ย LPR ประเภท 5 ปีไว้ที่ระดับ 4.45% สอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด

+ สศก. เปิดเผยว่าการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรหรือจีดีพีเกษตร 2Q65 พบว่ามีแนวโน้มขยายตัวมากกว่า 4% และมากกว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกที่ขยายตัว 4.4%

+ ส.อ.ท. เปิดเผยว่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน มิ.ย.65 อยู่ที่ระดับ 86.3 เพิ่มขึ้นจากระดับ 84.3 ในเดือนพ.ค.65 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน โดยมีปัจจัยบวกจากภาครัฐผ่อนคลายมาตรการ ควบคุมโควิด-19 เพิ่มเติม

+/- ศบค.รายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่เพิ่มอีก 2,607 ราย เสียชีวิต 23 คน หายป่วยกลับบ้านเพิ่ม 2,318 ราย

ปัจจัยลบ –

– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 1.96 ดอลลาร์ -1.9% ปิดที่ 102.26 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันเบนซินพุ่งขึ้นมากกว่าคาด บ่งชี้ถึงอุปสงค์ที่อ่อนแรงลงในสหรัฐ และนักลงทุนยังกังวลว่าการที่ธนาคารกลางหลายแห่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว และส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน

– สหรัฐรายงานว่าจำนวนผู้ยื่นขอสินเชื่อเพื่อการจำนองลดลง 6.3% แตะระดับต่ำสุดในรอบ 22 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 2543 โดยได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จํานองที่ปรับขึ้น

– ข้อมูลจากหน่วยข่าวกรองของสหรัฐระบุว่ารัสเซียวางแผนผนวกดินแดนยูเครนที่ยึดครองได้เข้ากับดินแดนของรัสเซียแบบเบ็ดเสร็จ ทำให้รัสเซียอาจจะเผชิญกับการคว่ำบาตรรอบใหม่ ทั้งจากสหรัฐและบรรดาชาติพันธมิตร

– ผู้นำรัสเซียเปิดเผยว่าศักยภาพในการส่งของท่อส่งก๊าซ Nord Stream 1 ซึ่งเป็นท่อส่งขนาดใหญ่ที่สุดที่ลำเลียง ก๊าซจากรัสเซียให้กับยุโรปอาจจะลดลงอีก เนื่องจากกระบวนการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ดำเนินไปอย่างล่าช้า

– ส.อ.ท. เปิดเผยว่าผู้ประกอบการภาคเอกชนเริ่มกังวลปัจจัยการเมืองมากขึ้น เห็นได้จากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน มิ.ย. เทียบจากเดือน พ.ค. เพราะกำลังเข้าสู่โหมดเลือกตั้ง และอยู่ในช่วงของการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีในวันนี้ยังแกว่งตัวผันผวนระหว่างวัน โดยยังขาดปัจจัยใหม่เข้าหนุนตลาดนักลงทุนยังจับตาการเมืองใน ประเทศ ที่อยู่ระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล และติดตามผลประกอบการของหุ้นกลุ่มธนาคารที่ทยอย ประกาศออกมา คาดกรอบดัชนีในวันนี้ที่ 1,530-1,547 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • กนง.มีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยช่วงครึ่งปีหลัง + หุ้นแบงก์ได้ประโยชน์จากธปท. เลิกเพดานจ่ายปันผลและทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น เราขอบแบงก์ใหญ่ KBANK BBL KTB TISCO
  • กังวลโควิด-19 ระลอกใหม่ : BH BDMS CHG BCH PRINC WPH
  • หุ้นเด่น IAA Consensus : BBL BEM CPN KBANK
  • ค่า Ft ขึ้นขณะที่ต้นทุนพลังงานปรับตัวลง : GPSC BGRIM GULF

หุ้นรายงานพิเศษ

NEX – site visiting – ธุรกิจรถ EV หนุนผลการดำเนินงาน 2H65 มีโอกาสพลิกฟื้น

(ราคาเหมาะสม IAA Consensus 22.80 บาท)

• (-) 1Q65 ขาดทุน 63 ล้านบาทมากกว่างวด 1Q64 ที่ขาดทุน 38 ล้านบาท เนื่องจากขาดทุนในธุรกิจขนส่ง โดยมีส่วนแบ่งขาดทุนจากบริษัทร่วมที่เพิ่มขึ้นเป็น 22 ล้านบาท จาก 6 ล้านบาทในงวด 1Q64 ปลายมี.ค. 65 มีขาดทุนสะสม 416 ล้านบาท ขณะที่ส่วนของผู้ถือหุ้นยังเป็นบวก 2,796 ล้านบาท อัตรากําไรขั้นต้นลดเหลือ 17% จาก 26% ใน 1Q64 และอัตรากำไรสุทธิ 37% แย่กว่า -18% ใน 1Q64

• (+) กําไรในช่วง 2H65 ดีกว่า 1H65 จากการทยอยส่งมอบรถบัสไฟฟ้ากว่า 800 คันภายในเดือน ต.ค. 65 ที่ส่งมอบล่าช้าในช่วงก่อนหน้า เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้รายได้จากธุรกิจรถมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนได้เสียของบริษัทร่วมมีโอกาสขาดทุนลดลง หรืออาจพลิกมีกำไรจากไลน์การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตจริงเพื่อทยอยส่งมอบ (ถือหุ้น 45% บจ.แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี : AAB ดำเนินการผลิตและประกอบรถ EV เชิงพาณิชย์)

• ความเห็น ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกต่อแนวโน้มผลการดำเนินงานที่มีโอกาสพลิกฟื้นจากขาดทุน ขณะที่รายได้มีโอกาสเติบโตจากศักยภาพของโรงงานผลิตและประกอบรถ EV และการมี synergy จากพันธมิตรในกลุ่ม ได้แก่ EA และ BYD ราคาหุ้นที่ลดลง 19%YTD เป็นโอกาสในการซื้อเก็งกำไร

หุ้นมีข่าว

(+) IVL (Bloomberg consensus 61.50 บาท) ชี้ดีมานด์ยังแข็งแกร่งเหตุ 80% ผลิตสินค้าจำเป็น ได้ดีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า เดินหน้าควบรวมกิจการต่อเนื่อง ชูไตรมาส 2 เด่น Oxiteno สร้างผลงานเกินคาด ยืนยันครึ่งหลังของปียังโตต่อเนื่อง คงเป้ารายได้รวมทั้งปีแตะ 6 แสนล้านบาท โต 20 25% (ที่มา ทันหุ้น)

(+) MTC (Bloomberg consensus 58.00 บาท) มั่นใจยอดปล่อยสินเชื่อครึ่งปีหลัง 2565 ดีกว่าครึ่งปีแรก จากความต้องการใช้เงินเพิ่มขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจเดินหน้า ช่วงใกล้ทำการเกษตร “ชูชาติ เพ็ชรอำไพ” มั่นใจยอดปล่อยสินเชื่อใหม่ปีนี้โต 30% พอร์ตคงค้างแตะ 1.15 แสนล้านบาท ขยายสาขาครบ 600 แห่ง รองรับการเติบโตครึ่งปีหลัง เล็งออกหุ้นกู้ 7 พันล้านบาท รีไฟแนนซ์-ทุนหมุนเวียน (ที่มา ทันหุ้น)

(+) IP (Bloomberg consensus 24.50 บาท) เปิดกระเป๋าบุ๊กเงินลงทุน “LAB PHARMACY” ชี้ยอดขายสาขาพารากอนโต 2 เท่าตัว เล็งขยายสาขาเพิ่มอีก 4 แห่ง จากปัจจุบัน 20 แห่ง ชี้ดีมานด์ยา อาหารเสริมล้น เล็งส่งโปรดักต์พืชสมุนไพรลงตลาดเร็วๆ นี้ ชูธงรายได้โต 100% แตะ 1.8 พันล้านบาท เดินเกมซื้อกิจการโกยรายได้เพิ่มปีละ 1.5 พันล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

(+) QTC (Bloomberg consensus – บาท) ยอดขายโซลาร์เซลล์พุ่ง ธุรกิจแห่ติดตั้งลดต้นทุนระยะยาว เตรียมประเดิมเปิด EV Charging Station 2 แห่งในไตรมาส 3 นี้ จ่อคว้างานใหม่หม้อแปลงไฟฟ้า 300-500 ล้านบาท มั่นใจรายได้ปีนี้ตามคาด 1,200 ล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
  • 19-22 ก.ค. อภิปรายไม่ไว้วางใจ ลงมติ 23 ก.ค.
  • ภายใน 21 ก.ค. หุ้นกลุ่มธนาคารส่งงบฯงวด 2Q65
  • 25 ก.ค. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์
  • 29 ก.ค. ธปท. รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
  • 10 ส.ค. ประชุมกนง. ครั้งที่ 4/65

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 21 ก.ค. ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประชุมนโยบายการเงินและแถลงมติอัตราดอกเบี้ย

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประชุมนโยบายการเงิน และแถลงมติอัตราดอกเบี้ย

สหรัฐ รายงานจํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ดัชนีการผลิตเดือนก.ค.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนมิ.ย.จากคอนเฟอเรนซ์บอร์ด (Conference Board)

  • 22 ก.ค. อียู รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต-ภาคบริการขั้นต้นเดือนก.ค.

สหรัฐ รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต-ภาคบริการขั้นต้นเดือนก.ค.จากเอสแอนด์พี โกลบอล

  • 26–27 ก.ค. การประชุมนาคารกลางสหรัฐ (FED)
  • 3 ส.ค. โอเปกพลัสประชุมกำหนดนโยบายการผลิต

 

- Advertisement -