บล.กรุงศรีฯ:
กลุ่มอุตสาหกรรม | ธนาคาร |
หุ้น | SCB |
มูลค่าพื้นฐาน | 133.00 |
คำแนะนำ | BUY |
SCB รายงานกำไรใน 2Q22 เป็นไปตามประมาณการของเรา และ consensus โดยสินเชื่อขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง และ NIM ฟื้นตัวขึ้น เรายังคงคำแนะนำซื้อ SCB โดยประเมินราคาเป้าหมายที่ 133 บาท เนื่องจากราคาหุ้นมี upside อีกมาก แม้มีการลงทุนในด้านดิจิทัลยังคงเป็นประเด็นค้างคาที่กดดันราคาหุ้นอยู่ แต่งบที่ออกมาไม่ได้มีการตั้งสำรองในระดับที่สูงจนน่ากลัว มองระยะสั้นราคาน่าจะมีการฟื้นตัวได้
ผลประกอบการเป็นไปตามคาด
กำไรสุทธิของ SCB ใน 2Q อยู่ที่ 1 หมื่นล้านบาท (ทรงตัว qoq แต่เพิ่มขึ้น 14% yoy) เป็นไปตามประมาณการของเรา และ consensus โดยกำไรสุทธิใน 1H22 เพิ่มขึ้น 6% และคิดเป็น 50% ของประมาณการกำไรปี FY22 ของเรา ทั้งนี้ กำไรที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง yoy เป็นเพราะผลจากฐานที่ต่ำเนื่องจากมีการตั้งสำรองไว้สูงในช่วงกลางปี 2021 ที่รัฐบาลกลับมาใช้มาตรการ lockdown เพื่อคุม COVID-19 ในขณะเดียวกัน กำไรสุทธิทรงตัว qoq เพราะรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของสินเชื่อ และ NIM ที่เพิ่มขึ้นถูกหักล้างไปกับ ECL ที่เพิ่มขึ้นใน 2Q
สินเชื่อขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง พร้อมกับ NIM ที่ฟื้นตัวขึ้น
เมื่อพิจารณากำไรจากการดำเนินงานของธุรกิจหลักพบว่าเพิ่มขึ้นทั้ง qoq และ yoy เนื่องจากสินเชื่อของ SCB ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งควบคู่ไปกับการฟื้นตัวของ NIM อีกทั้งมีการคุม OPEX ได้ดี ทั้งนี้ พอร์ตสินเชื่อขยายตัว 1.4% qoq ใน 2Q22 และ 2.5% ytd ซึ่งน่าจะทำให้สินเชื่อปี FY22 โตได้ตามเป้าที่ 4% โดยพอร์ตสินเชื่อที่ขยายตัวมาจากสินเชื่อธุรกิจ ทั้งในส่วนของสินเชื่อบริษัทขนาดใหญ่ (+5% ytd) และ SMEs (+2.8% ytd) ในขณะเดียวกัน สินเชื่อรายย่อยก็เพิ่มขึ้น 0.5% ytd โดยมาจากสินเชื่อที่อยู่อาศัย (+1.6% ytd) และสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน (+1.2% ytd) ในขณะที่สินเชื่อ HP ลดลงมาก (-7.8% ytd) นอกจากนี้ NIM ยังฟื้นตัวได้ชัด จาก 3.04% เป็น 3.17% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากมาตรการปรับโครงสร้างที่น้อยลง
ผู้บริหารส่งสัญญาณว่าจะกันสำรองลดลงใน 2H22
ผู้บริหารปรับประมาณการ GDP ปี FY22 และเป้าหมายทางการเงินของธนาคารเล็กน้อย โดยได้ปรับประมาณการ GDP ปีนี้เพิ่มขึ้นจาก 2.7% เป็น 2.9% จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคในประเทศที่ดีขึ้น นอกจากนี้ แนวโน้ม NIM และคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีกว่าคาดทำให้ผู้บริหารปรับเพิ่มเป้า NIM ปีนี้จากเดิม 2.9-3.0% เป็น 3.1-3.2% และปรับลดเป้าสัดส่วน NPL ในปี 2022 ลงจาก <4.0% เหลือ <3.6% อย่างไรก็ดี ผู้บริหารได้ปรับเพิ่มเป้า credit cost จาก <140bps เป็น <145bps แม้ว่าจะมีการปรับเพิ่มเป้า credit cost ปี FY22 แต่สำรองใน 2H22 ยังน่าจะลดลงอยู่ดี หลังจากที่ credit cost ใน 1H22 อยู่ที่ 163bps