บล.กรุงศรีฯ:

KBANK – หนี้เสียยังเป็นประเด็นต้องติดตาม (TP Bt170, HOLD)
กลุ่มอุตสาหกรรมธนาคาร
หุ้นKBANK
มูลค่าพื้นฐาน170.00
คำแนะนำHOLD

ผลประกอบการของ KBANK ใน 2Q22 ต่ำกว่าประมาณการของเรา และ consensus เล็กน้อย โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผลประกอบการต่ำกว่าที่คาดคือผลขาดทุน MTM และ OPEX ที่สูงกว่าที่ประเมิน โดยเรายังคงคำแนะนำ ถือ สำหรับ KBANK โดยให้ราคาเป้าหมายที่ 170 บาท ทั้งนี้มองว่าราคาหุ้นมี upside ต่ำกว่าหุ้นอื่นในกลุ่ม นอกจากนี้ NPLs ยังขยับเพิ่มขึ้น แม้จะมีการขายหนี้เสียออกไป ซึ่งเป็นสัญญาณว่าคุณภาพสินทรัพย์อาจมีแนวโน้มอ่อนแอลง

ผลประกอบการต่ำว่าที่คาดเล็กน้อยเพราะ MTM และ OPEX

กำไรสุทธิของ KBANK ใน 2Q22 อยู่ที่ 1.08 หมื่นล้านบาท (ลดลง 4% qoq แต่เพิ่มขึ้น 21% yoy) ต่ำกว่าประมาณการของเรา 8% และต่ำกว่า consensus 4% อย่างไรก็ตาม กำไรสุทธิใน 1H22 เพิ่มขึ้น 13% และคิดเป็น 50% ของประมาณการกำไรปี FY22 ของเรา ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผลประกอบการต่ำกว่าที่คาดได้แก่ ผลขาดทุน MTM และ OPEX ที่สูงกว่าที่ประเมินใน 2Q22 โดย non-NII ใน 2Q22 อยู่ที่ 9.5 พันล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการของเราที่ 1.03 หมื่นล้านบาทอยู่เล็กน้อย เพราะ KBANK บันทึกผลขาดทุน MTM ที่ 452 ล้านบาทใน 2Q22 จากที่บันทึกกำไร MTM ที่ 686 ล้านบาทใน 1Q22 นอกจากนี้  OPEX ยังเพิ่มขึ้น 4% qoq และ 6% yoy ซึ่งทำให้สัดส่วน C/I เพิ่มขึ้นเป็น 43.5% จากก่อนหน้านี้ที่ 42.8% เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านการตลาดจากความร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจ

 

NPLs ขยับเพิ่มขึ้นแม้ว่าจะมีการขายหนี้เสียออกไป

ผู้บริหารยังคงเป้าหมายทางการเงินปีนี้เอาไว้เท่าเดิม อย่างไรก็ตาม เรามองมีความเสี่ยงด้าน downside ของรายได้ค่าธรรมเนียมที่ลดลง 6% ใน 1H22 ในขณะที่ธนาคารตั้งเป้ารายได้ค่าธรรมเนียมทรงตัวในปี FY22 ทั้งนี้เรามองว่ากำไรที่ต่ำกว่าที่คาด และความเสี่ยงด้าน downside ของ non-NII อาจจะไม่ใช่ประเด็นความกังวลหลักของ KBANK แต่ที่น่าต้องติดตามคือประเด็นคุณภาพสินทรัพย์ เพราะแม้ KBANK จะมีการขาย NPL ออกมาใน 2Q22 ให้กับ JK (JMT-KBANK joint venture AMC) ถึง 3 หมื่นล้านบาท แต่ gross NPLs ยังเพิ่มขึ้น 3% qoq และ yoy ในขณะที่สัดส่วน NPL ยังเพิ่มขึ้นเป็น 3.80% จาก 3.78% โดยผู้บริหาร KBANK ชี้แจงว่ามีปรับลดชั้นลูกหนี้เชิงคุณภาพ (qualitative downgrade) ดังนั้นจึงทำให้สัดส่วน loss coverage ลดลงเหลือ 144.6% จาก 158% ใน 1Q22

 

การเร่งขาย NPL อาจจะเป็นสัญญาณว่าจะมีหนี้เสียเพิ่มขึ้นมาก

เรายังคงคำแนะนำ ถือ สำหรับ KBANK เนื่องจากมองราคาหุ้นเหลือ upside น้อยกว่าหุ้นอื่นในกลุ่ม นอกจากนี้ เรายังมองเห็นแรงกดดันด้านลบจากประเด็นที่แม้ KBANK จะมีการขาย หรือ write off หนี้เสียออกไป แต่สัดส่วน  NPL ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และผู้บริหารตั้งเป้าจะปรับลดชั้นลูกหนี้เชิงคุณภาพลงต่ออีกใน 2H22 ซึ่งอาจจะทำให้ตีความได้ว่า KBANK เร่งตั้ง JV AMC เพื่อขาย NPLs ออกเพราะมองว่าจะมีหนี้เสียระลอกใหม่จำนวนมากเพิ่มเข้ามาในพอร์ตของธนาคาร ซึ่งตีความต่อได้ว่า ECL ในอนาคตอาจจะลดลงไปจากระดับปัจจุบันได้ไม่มากนัก

- Advertisement -