บล.พาย:

SCB บมจ. เอสซีบี เอ็กซ์ ฟื้นตัวท่ามกลางความเสี่ยงที่สูงขึ้นท่ัวโลก

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 139.0 บาท กำไรสุทธิ 2022 สอดคล้อง กับคาดการณ์ที่ 1.0 หมื่นล้านบาท (+14% YoY, -1% QoQ) คุณภาพ สินเชื่อยังยืดหยุ่นดีด้วยอัตราส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL ratio) ที่ลดลงและอัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่สูงขึ้นและเพียงพอต่อความไม่ แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ยังคงประมาณการอัตราการเติบโตของกำไร สุทธิที่ 12% YoY สำหรับปี 2022 และ 11% YoY ในปี 2023

การประชุมนักวิเคราะห์

ให้น้ำหนักเป็นกลางต่อการประชุมนักวิเคราะห์วันที่ 21 ก.ค.

  • บริษัทได้ปรับเป้าหมายปี 2022 บางส่วนเพื่อสะท้อนถึงผลการดำเนินงานใน 1H22 และโอกาสจากบรรยากาศทางเศรษฐกิจ โดยมีการปรับ 1) อัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) ขึ้นเป็น 3.1%-3.2% จาก 2.9%-3.0% 2) NPL ratio ที่ลดลงสู่ระดับที่น้อยกว่า 3.6% จากที่ไม่เกิน 4% 3) ปรับลดอัตราการเติบโตของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเป็นติดลบหลักสิบต้นจากหลักหน่วยต้น และ 4) ปรับเพิ่มค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญเล็กน้อยเป็นไม่เกิน 145bp จาก 140bp
  • แม้ตลาดสกุลเงินดิจิทัลจะผันผวน แต่ทางบริษัทยังเดินหน้าขยายกิจการสู่ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต่อเนื่อง โดยระบุว่าปัจจุบันมีสัดส่วนการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลเพียงเล็กน้อยที่ต่ำกว่า US$1 ล้าน
  • NPL ยังอยู่ในระดับที่คุมอยู่ และไม่มีแผนจัดตั้งบริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์ในอนาคตอันใกล้ ขณะที่มีโอกาสที่ NPL ในเชิงคุณภาพของบริษัทจะยกระดับขึ้นใน 1H22 ซึ่งจะช่วยให้บริษัทสามารถลดค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญใน 1H22 ลงได้

ผลประกอบการ 2Q22

  • กำไรสุทธิ 2Q22 ออกมาอยู่ที่ 1.0 หมื่นล้านบาท (+14% YoY, -1% QoQ) การเติบโต YoY ได้แรงหนุนจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ และรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ส่วนกำไรที่ลดลงเล็กน้อย QoQ เป็นผลจากการตั้งสำรอง หนี้ฯ ที่สูงขึ้น

ทิศทางการเติบโตยังคงเดิม

  • กำไรสุทธิ 1H22 อยู่ที่ 2.0 หมื่นล้านบาท (+7% YoY) คิดเป็น 51% ของประมาณการทั้งปี
  • คงประมาณการอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิที่ 12% YoY สำหรับปี 2022 และ 11% YoY ในปี 2023 หนุนจากการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง และรายได้การดำเนินงานที่สูงขึ้น ขณะที่คาดถึงอัตราผลตอบแทนเงินปันผลที่ 4.9% ในปี 2022

คงคำแนะนำ “ซื้อ” ด้วยภาพรวมการเติบโตที่มั่นคง

  • คงคำแนะนำ “ซื้อ” เพราะมีการเติบโตที่มั่นคง คุณภาพสินเชื่อที่ยืดหยุ่นดี และมูลค่าหุ้นที่น่าดึงดูด
  • มูลค่าพื้นฐานคำนวณด้วยวิธี Gordon Growth Model (ROE 9%, อัตราการเติบโต 2%) อิง 1.0x PBV’22E หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี

สรุปผลประกอบการ 2Q22

  • กำไรสุทธิ 2Q22 ออกมาอยู่ที่ 1.0 หมื่นล้านบาท (+14% YoY, -1% QoQ) การเติบโต YoY ได้แรงหนุนจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ส่วนกำไรที่ลดลงเล็กน้อย QoQ เป็นผลจากการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่สูงขึ้น และเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับงบดุลทางบริษัทจึงตั้งสำรองหนี้ฯ พิเศษ 2.5 พันล้านบาทใน 2Q22
  • NIM โตขึ้น QoQ เป็น 3.2% จากอัตราส่วนผลตอบแทนสินเชื่อที่สูงขึ้น ในด้านอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ลดลงเหลือ 41.2% เพราะรายได้การดำเนินงานที่สูงขึ้น และการบริหารต้นทุนการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • สินเชื่อโตต่อเนื่อง 1.3% QoQ จากอุปสงค์ต่อสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ และ SME ที่สูงขึ้น
  • คุณภาพสินเชื่อปรับดีขึ้น ด้วย NPL ratio ที่ลดลงเหลือ 3.6% ใน 2Q22 ขณะที่อัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ สูงขึ้นเป็น 153% นับว่าเพียงพอต่อการรับมือกับความไม่แน่นอนในอนาคต

Revenue breakdown

รายได้ของบริษัทในปี 2021 มาจาก 3 ด้านหลัก ประกอบด้วย

  • รายได้ดอกเบี้ยสุทธิคิดเป็น 67% ของรายได้ทั้งหมดของบริษัทในปี 2021 โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเป็นรายได้ส่วนที่มากที่สุด และหากสินเชื่อของธนาคารมีการเติบโต และ NIM ที่สูงขึ้น จะส่งผลให้รายได้ส่วนนี้ปรับตัวสูงขึ้น
  • รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการคิดเป็น 27% ของรายได้ทั้งหมดของบริษัทในปี 2021 โดยธุรกิจส่วนนี้ประกอบด้วยรายได้จากค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต ค่าธรรมเนียมประกันธนาคาร และค่าธรรมเนียม Wealth Management
  • รายได้จากการดำเนินงานอื่นๆ คิดเป็น 10% ของรายได้ทั้งหมดของบริษัทในปี 2021 รายได้จากการดำเนินงานอื่นๆ ส่วนใหญ่เกิดจากกำไรการลงทุน การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และเงินปันผล
- Advertisement -