บล.พาย: 

SCC: บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย “กําไรปกติ 2Q22 ฟื้นตัวตามคาด”

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 445 บาท อิง 13.7xPE’22E ใกล้เคียงค่าเฉลี่ย 10 ปี แนะนำเข้าสะสมหุ้นเพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากภาพรวมที่ดีขึ้นใน 2H22 และช่วงถัดไปที่ได้แรงหนุนจากการที่ทุกหน่วยธุรกิจแข็งแกร่งขึ้น  โดยเฉพาะธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง (CBM) และธุรกิจบรรจุภัณฑ์ บวกกับอัตราผลตอบแทนเงินปันผลที่น่าดึงดูดระดับ 4% ทั้งนี้ กำไรปกติ 2Q22 ออกมาอยู่ที่ 1.0 หมื่นล้านบาท (-42%YoY, +29%QoQ) สอดคล้องกับคาดการณ์ โดยการเติบโต QoQ เป็นผลจากช่วง high season ของรายได้เงินปันผล

กำไรปกติ 2Q22 แข็งแกร่งตามคาด

กำไรปกติ 2Q22 ออกมาอยู่ที่ 1.0 หมื่นล้านบาท (-42%YoY, +29%QoQ) สอดคล้องกับคาดการณ์ ปัจจัยหนุนการเติบโตเชิง QoQ มาจากช่วง high season ของรายได้เงินปันผลที่มาจากธุรกิจยานยนต์ (+61%YoY, +141%QoQ) แม้ทิศทางรายได้ไม่น่าตื่นเต้นก็ตาม (ทรงตัว QoQ) แต่ที่ลดลง YoY เป็นผลจากอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ที่ลดลงเป็น 15% (-9.1ppts YoY) จากแรงกดดันด้านต้นทุนที่สูงขึ้นในทุกหน่วยธุรกิจ

  • กำไรหน่วยธุรกิจปิโตรเคมีอยู่ที่ 3.7 พันล้านบาท (-64%YoY, +3%QoQ) โตขึ้นเล็กน้อย QoQ จากช่วง high season สำหรับรายได้เงินปันผล
  • กำไรธุรกิจ CBM อยู่ที่ 1.7 พันล้านบาท (-32%YoY, -28%QoQ) เผชิญกับแรงกดดันจากอัตรากำไรที่หดตัวลง เพราะต้นทุนพลังงานและวัตถุดิบที่สูงขึ้น ซ้ำเติมอุปสงค์ที่อ่อนแอลงจากปัจจัยตามฤดูกาล (หน้าฝน)
  • ธุรกิจบรรจุภัณฑ์มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 1.9 พันล้านบาท (-9%YoY, +11%QoQ) การเติบโต QoQ ได้แรงหนุนจาก GPM (+0.4ppts QoQ) ที่โตขึ้นเป็น 17.6%

ให้น้ำหนักเป็นกลางต่อการประชุมนักวิเคราะห์

เล็งเห็นกำไรปกติที่โตขึ้น YoY ใน 2H22 สืบเนื่องจากฐานใน 2H21 ที่เป็นผลจากการล็อกดาวน์ แต่ยังคงมุมมองระมัดระวังต่อภาพรวมธุรกิจเคมีภัณฑ์ใน 2H22 สืบเนื่องจากกำลังการผลิตเอทิลีนส่วนเพิ่มในตลาดโลก ที่จะฉุดราคาเคมีภัณฑ์ลง กอปรกับแรงกดดันด้านต้นทุนต่อโอเลฟินส์ที่สูงขึ้น สืบเนื่องจากต้นทุนแนฟทาที่ผันผวนอย่างมากด้วยราคาน้ำมันดิบที่เคลื่อนตัวเหนือ US$100/bbl แต่คาดว่าส่วนต่างราคาเคมีภัณฑ์จะทรงตัว หนุนจากอุปสงค์ตามปัจจัยฤดูกาลของ PE และ PP ใน 3Q22 upside จากการคลายล็อกดาวน์ในจีน ขณะที่ราคาขายเฉลี่ยในธุรกิจ CBM และบรรจุภัณฑ์จะปรับเพิ่มต่อเนื่องจากเงินเฟ้อ และคาดว่าอุปสงค์ต่อปริมาณบรรจุภัณฑ์จะได้แรงหนุนจากการกลับมาเปิดเศรษฐกิจ

จับตาดูศักยภาพด้านกำไรในระยะยาว

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 445 บาท อิง 13.7xPE’22E ใกล้เคียงค่าเฉลี่ย 10 ปี แม้ธุรกิจเคมีภัณฑ์จะมีปัจจัยท้าทายจากแรงกดดันของราคาพลังงานที่สูงขึ้น แต่แนะนำนักลงทุนสะสมเพื่อรับผลตอบแทน 4% และผลประโยชน์จากภาพรวมที่เป็นบวกมากขึ้นใน 2H22 และหลังจากนั้น

สรุปผลประกอบการ

  • กำไรปกติ 2Q22 ออกมาอยู่ที่ 1.0 หมื่นล้านบาท (-42%YoY, +29%QoQ) ที่ลดลง YoY เป็นผลจาก GPM ที่ลดลงเป็น 15% (-9.1ppts YoY) จากแรงกดดันด้านต้นทุนที่สูงขึ้นในทุกหน่วยธุรกิจ ส่วนปัจจัยหนุนการเติบโตเชิง QoQ มาจากช่วง high season ของรายได้เงินปันผล 4.3 พันล้านบาทที่มาจากธุรกิจยานยนต์ (+61%YoY, +141%QoQ) แม้ทิศทางรายได้ไม่น่าตื่นเต้นก็ตาม (ทรงตัว QoQ)
  • กำไรหน่วยธุรกิจปิโตรเคมีอยู่ที่ 3.7 พันล้านบาท (-64%YoY, +3%QoQ) ที่ลดลง YoY เป็นผลจาก GPM ที่ลดลงเป็น 7.2% (-16%ppts YoY) เพราะปริมาณและส่วนต่างราคาที่ลดลงจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น ปริมาณโดยรวมของ HDPE และ PP ลดลงเหลือ 426kt (-13%YoY, – 14%QoQ) และ PVC ลดเหลือ 196kt (-3%YoY, -12%QoQ) สืบเนื่องจากการปิดซ่อมบำรุงตามกำหนดการ ในด้านส่วนต่างราคา HDPE และ PP-แนฟทาลดลง 20%YoY และ 36%YoY คล้ายกันกับส่วนต่างราคา PVC ที่ลดลง 24%YoY ส่วนกำไรที่โตขึ้นเล็กน้อย QoQ เป็นผลจากช่วง high season สำหรับรายได้เงินปันผล
  • กำไรธุรกิจ CBM อยู่ที่ 1.7 พันล้านบาท (-32%YoY, -28%QoQ) เผชิญกับแรงกดดันจากอัตรากำไรที่หดตัวลง เพราะต้นทุนพลังงานและวัตถุดิบที่สูงขึ้น ซ้ำเติมอุปสงค์ที่อ่อนแอลงจากปัจจัยตามฤดูกาล (หน้าฝน)
  • ธุรกิจบรรจุภัณฑ์มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 1.9 พันล้านบาท (-9%YoY, +11%QoQ) การเติบโต QoQ ได้แรงหนุนจาก GPM ที่โตขึ้นเป็น 17.6% (+0.4ppts QoQ) หนุนจากอัตรากำไรธุรกิจเยื่อกระดาษที่แข็งแกร่งขึ้นจากราคาเยื่อกระดาษในตลาดที่สูงขึ้น ส่วนที่ลดลง YoY เป็นผลจาก GPM ในธุรกิจบรรจุภัณฑ์ที่ลดลง YoY จากต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งที่สูงขึ้น
  • โครงการ LSP คืบหน้าไปล้ว 96% คาดทุกหน่วยเริ่มเดินเครื่องได้ภายใน 2Q23 ตัวโครงการมีกำลังการผลิตโพลีโอเลฟินส์ปลายน้ำที่ 1.4mtpa ประกอบด้วย HDPE ที่ 500ktpa, LLDPE ที่ 500ktpa, และ PP ที่ 400ktpa โดยคาดว่ากำลังการผลิตใหม่นี้จะเข้ามาในช่วงที่ส่วนต่างราคาปิโตรเคมีภาพรวมที่ดีขึ้นแล้ว

Revenue breakdown

  • ในกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมี การผลิตผลิตภัณฑ์ของบริษัทครอบคลุมตั้งแต่การผลิตโอเลฟินส์ต้นน้ำไปจนถึงการผลิตเม็ดพลาสติกหลักสามชนิดในขั้นปลายน้ำ ได้แก่ โพลิเอทิลีน โพลิโพรพิลีน และโพลีไวนิลคลอไรด์ บริษัทจัดจำหน่ายสินค้าให้กับลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ ในปี 2021 ยอดขายของธุรกิจเคมีภัณฑ์คิดเป็น 45% ของยอดขายรวมของบริษัท
  • ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างคิดเป็น 32% ของยอดขายรวม ดำเนินการผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์ คอนกรีตผสมเสร็จ ปูนขาว ปูนแห้ง กระเบื้องหลังคา แผ่นปูคอนกรีต กระเบื้องเซรามิก เครื่องสุขภัณฑ์และอุปกรณ์สุขภัณฑ์ ซึ่งส่วนใหญ่บริษัทจำหน่ายสินค้าให้กับลูกค้าในประเทศ
  • ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ (คิดเป็น 23% ของยอดขายรวม) โดยบริษัทผลิตและจำหน่ายกระดาษและบรรจุภัณฑ์พลาสติก เยื่อกระดาษ เยื่อละลาย กระดาษพิมพ์และกระดาษเขียน

 

- Advertisement -