บล.พาย:

PTTEP: บมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม “รับรู้กำไรระดับสูงใน 2Q22”

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 179 บาท กำไรสุทธิ 2Q22 โตแตะจุดสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 2.06 หมื่นล้านบาท (+189% YoY, +96% QoQ) สูงกว่าคาด 7% ได้แรงหนุนมาจากรายได้ที่สูงขึ้นจากปริมาณขายและราคาขายเฉลี่ยที่ดีขึ้น และผลขาดทุนจากการป้องกันความเสี่ยงราคาน้ำมันที่ลดลง คาดกำไรแข็งแกร่งต่อเนื่องใน 2H22 เพราะผู้บริหารให้แนวทางปริมาณขายที่โตขึ้นอีก 16% YoY และ 9% HoH นอกเหนือจากการมีราคาขายเฉลี่ยที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ ภาพรวมกำไรที่แข็งแกร่งใน 2H22 มูลค่าหุ้นที่ไม่แพงและอัตราผลตอบแทนเงินปันผลที่น่าดึงดูดระดับ 6.3% สำหรับปี 2022 ล้วนเป็นปัจจัยที่เปิดโอกาสที่ดีสำหรับการเข้าสะสมหุ้น

กำไรสุทธิ 2Q22 ทำจุดสูงใหม่

  • กำไรสุทธิ 2Q22 โตแตะจุดสูงใหม่ที่ 2.06 หมื่นล้านบาท (+189% YoY, +96% QoQ) สูงกว่าคาด 7% หากไม่รวมรายการพิเศษอย่างขาดทุนการป้องกันความเสี่ยง US$47 ล้านหรือ 1.7 พันล้านบาท กำไรปกติจะ อยู่ที่ 2.28 หมื่นล้านบาท (+104% YoY, +21% QoQ) การเติบโต YoY และ QoQ เป็นผลจากปริมาณขายและราคาขายเฉลี่ยที่ปรับสูงขึ้น
  • ปริมาณขายปรับเพิ่มเป็น 465kBOED (+5% YoY, +9% QoQ) หนุนจากการเริ่มเดินเครื่องการผลิตโครงการ G1/61 (เอราวัณ) ใน 2Q22 กอปรกับปริมาณการรับซื้อจากโครงการอาทิตย์และ Oman block 61 ที่สูงขึ้น
  • ราคาขายเฉลี่ยเพิ่มเป็น US$55.6/BOE (+32% YoY, +8% QoQ) หลังจากราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มสู่ค่าเฉลี่ยที่ US$105/bbl. (+65% YoY, +16% QoQ) ขณะที่ราคาก๊าซก็เพิ่มขึ้น 9% YoY เป็น 6.1 บาท/MMBTU

ประเมินยอดขาย 2H22 โต 9%

  • คาดกำไรโตแข็งแกร่งต่อเนื่องใน 2H22 เพราะผู้บริหารให้แนวทางปริมาณขายที่โตอีก 16% YoY และ 9% HoH เป็น 487kBOED หนุนจากการเร่งผลิตจากโครงการ G1/61 (เอราวัณ) และแอลจีเรียที่เริ่มเดินเครื่องใน 2Q22 นอกจากนี้บริษัทจะรับรู้ปริมาณขายเต็มปีจากโครงการ Malaysia Block H และ Oman block 61 ในปี 2022
  • คาดราคาขายเฉลี่ยเพิ่มเป็น US$57.5/BOE (+40% YoY, +3%HoH) หลังจากราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้น YoY และราคาก๊าซที่ปรับดีขึ้น HoH

คงคำแนะนำ “ซื้อ” และเลือกเป็นหุ้นเด่นในกลุ่มพลังงาน

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 179.0 บาท คำนวณด้วยวิธีคิดลดเงินสด (DCF) (WACC 8.9%, TG 1%) อิง 9xPE’22E บริษัทประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับ 1H22 ที่ 4.25 บาท/หุ้น คิดเป็นอัตราผลตอบแทน เงินปันผลที่ 2.7% ขึ้น XD วันที่ 15 ส.ค.

สรุปผลประกอบการ

  • กำไรสุทธิ 2Q22 โตแตะจุดสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 206 หมื่นล้านบาท (+189% YoY, +96% QoQ) สูงกว่าคาด 7% ได้แรงหนุนมาจากรายได้การขายที่สูงขึ้น และผลขาดทุนจากการป้องกันความเสี่ยงราคาน้ำมันที่ลดลง
  • หากไม่รวมรายการพิเศษอย่างขาดทุนการป้องกันความเสี่ยง US$47 ล้านหรือ 1.7 พันล้านบาท กำไรปกติจะอยู่ที่ 2.28 หมื่นล้านบาท (+104% YoY, +21% QoQ) โดยกำไรปกติ 1H22 คิดเป็น 54% ของประมาณการทั้งปี
  • การเติบโต YoY และ QoQ เป็นผลจากปริมาณขายและราคาขายเฉลี่ยที่ปรับสูงขึ้น 5% และ 32% YoY ตามลำดับ
  • ปริมาณขายปรับเพิ่มเป็น 465kBOED (+5% YoY, +9% QoQ) หนุนจากการเริ่มเดินเครื่องการผลิตโครงการ G1/61 (เอราวัณ) ใน 2Q22 กอปรกับปริมาณการรับซื้อจากโครงการอาทิตย์และ Oman block 61 ที่สูงขึ้น
  • ราคาขายเฉลี่ยเพิ่มเป็น US$55.6/BOE (+32% YoY, +8% QoQ) หลังจากราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มสู่ค่าเฉลี่ยที่ US$105/bbl. (+65% YoY, +16% QoQ) ขณะที่ราคาก๊าซก็เพิ่มขึ้น 9% YoY เป็น 6.1 บาท/MMBTU
  • อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ปรับเพิ่มขึ้น YoY เป็น 57% ใน 2Q22 จาก 45% ใน 2Q21 หนุนจากราคาขายเฉลี่ยที่สูงขึ้น

ประเมินยอดขาย 2H22 โต 9%

  • คาดกำไรโตแข็งแกร่งต่อเนื่องใน 2H22 เพราะผู้บริหารให้แนวทางปริมาณขายที่โตอีก 16% YoY และ 9% HoH เป็น 487kBOED หนุนจากการเร่งผลิตจากโครงการ G1/61 (เอราวัณ) และแอลจีเรียที่เริ่มเดินเครื่องใน 2Q22 นอกจากนี้บริษัทจะรับรู้ปริมาณขายเต็มปีจากโครงการ Malaysia Block H และ Oman block 61 ในปี 2022
  • คาดราคาขายเฉลี่ยเพิ่มเป็น US$57.5/BOE (+40% YoY) หลังจากราคาน้ำมันดิบดูไบพุ่งสูงขึ้น ที่คาดว่าจะมีค่าเฉลี่ยราว US$100-105/bbl ใน 2H22 (EIA ประเมินค่าเฉลี่ยน้ำมันเบรนท์ที่ US$108/bbl ใน 2H22) ขณะที่เราคาดถึงราคาขายเฉลี่ยที่โตขึ้น 3% HoH จากราคาก๊าซที่ปรับดีขึ้น ซึ่งผู้บริหารให้แนวทางว่าจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ US$6.4/mm BTU in 2H22 (+12% YoY, +3% HoH) แม้ราคาน้ำมันดิบจะมี upside ที่จำกัดก็ตาม
  • แต่ต้นทุนหน่วยผลิตที่เพิ่มเป็น US$29-30/bbl จากการพัฒนาโครงการปิโตรเคมที่มีมากขึ้น และค่าใช้จ่ายการผลิตของโครงการ G1/61 น่าจะเป็นปัจจัยฉุด GPM มาอยู่ที่ 55% (-2 ppts HoH)

คาดราคาก๊าซยืนระดับสูงแต่น้ำมันจะอ่อนตัวลง

  • น้ำมันดิบ: ราคา spot ของน้ำมันดิบเบรนท์ย่อตัวลงเหลือ US$100/bbl ในช่วงต้นเดือน ส.ค. หรือลดลง 6% จาก US$106/bbl ในเดือน ก.ค.
  • คาดตลาดน้ำมันดิบจะมีค่าพรีเมี่ยมจากความเสี่ยงของสงครามรัสเซีย-ยูเครนต่อไป อิงจากราคาซื้อขายน้ำมันดิบเบรนท์ในกรอบ US$90/bbl ณ สิ้นปี 2021 (ช่วงก่อนสงคราม) ขณะที่ความท้าทายด้านอุปทานน้ำมันจากรัสเซียมายังเอเชีย (2-3 bbl/d จากยุโรป) น่าจะทำให้สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานน้ำมันค่อยๆ กลับสู่ระดับปกติได้ใน 2H22 ทั้งนี้ การปล่อยสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ (SPR) จากสหรัฐฯ และประเทศสมาชิก IEA บวกกับการเพิ่มปริมาณการผลิตของ OPEC+ จะเพิ่มอุปทานในตลาดมากขึ้น จึงคาดว่าราคาน้ำมันดิบเบรนท์จะค่อยๆ ปรับลดลงในช่วง 2H22-23
  • EIA ประเมินราคาเบรนท์ว่าจะมีค่าเฉลี่ยที่ US$111/bbl ใน 3Q22 และลดลงเหลือ US$105/bbl ใน 4Q22 และ US$97/bbl ในปี 2023
  • ตลาด LNG: สภาวะสงครามที่เกิดขึ้นทำให้ราคา spot ของ Asian LNG พุ่งแตะกรอบ US$40mm BTU หรือเพิ่มขึ้น 2 เท่าจากค่าเฉลี่ยที่ US$18/mm BTU ในปี 2021 ขณะที่อุปสงค์ก๊าซยังแข็งแกร่งจากการนำเข้าของอินเดีย จีน และยุโรป เพื่อเติมเต็มสต็อกที่ต่ำ ด้วยเหตุนี้จึงคาดว่าสภาวะสงครามที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจะทำให้ราคา spot ของ Asian LNG ช่วง 2H22 ยังอยู่ในระดับสูง และน่าจะค่อยๆ ปรับลดลงหลังจากนั้น สืบเนื่องจากอุปทานส่วนเพิ่มที่ไหลเข้ามาในปี 2023

Revenue breakdown

  • รายได้หลักของ PTTEP มาจากธุรกิจสำรวจและการผลิต (E&P) ซึ่งคิดเป็น 98% ของรายได้ทั้งหมด ที่เหลืออีก 2% มาจากธุรกิจท่อส่งก๊าซ และอื่นๆ โดยในส่วนของก๊าซนั้นคิดเป็น 71% ของปริมาณขายทั้งหมด ส่วนน้ำมันคิดเป็น 29%
  • ขณะที่น้ำมันมีราคาขายที่สูงกว่าก๊าซ ทำให้รายได้จากธุรกิจก๊าซคิดเป็น 55% ของรายได้ทั้งหมด ส่วนน้ำมันคิดเป็น 45%
  • PTTEP ลงทุนทั้งในและต่างประเทศ รายได้ราว 72% มาจากไทย 21% จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอีก 7% จากที่อื่นๆ
- Advertisement -