บล.เคจีไอ (ประเทศไทย):
Power Sector
ประเด็นสําคัญที่ได้จากงานสัมมนาอุตสาหกรรม EV ไทย
Event
รายงานสัมมนาอุตสาหกรรม EV ไทย (นโยบาย, โอกาส และความเสี่ยง) ให้กับผู้จัดการกองทุน โดยมี คุณ พิสิฐ รังสฤฎ์วุฒิกุล ผู้อำนวยการยานยนต์ (TAI).
Impact
สถานการณ์ปัจจุบันของอุตสาหกรรม EV – ยอดขาย EV และสถานีชาร์จไฟกำลังอยู่ในขาขึ้น เราพบว่ายอดผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (2553-63) นำโดย ประเทศจีน, EU และสหรัฐ โดยยานยนต์ไฟฟ้าที่ขายดีที่สุด รถยนต์นั่งส่วนบุคคล (passenger car) ชนิดที่ใช้ไฟฟ้าแบบมีแบตเตอรี่ (battery electric vehicle หรือ BEV) (Figure 6-7) ทั้งนี้ นอกเหนือจากประสิทธิภาพในด้านพลังงานแล้ว ต้นทุนการซ่อมบำรุง EV ยังต่ำกว่าของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine หรือ ICE) อีกด้วย แม้ว่าราคารถจะสูงกว่าก็ตาม โดยในส่วนของประเทศไทย ยอดขาย BEV ประเภทรถยนต์ และมอเตอร์ไซค์ในปี 2564 เพิ่มขึ้นถึง 61% YoY และ 137% YoY เป็น 2,079 คัน และ 3,778 คัน เพราะผลจากฐานที่ต่ำ แต่ตัวเลขดังกล่าวก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำมาก เพราะคิดเป็นเพียง <1% ของจำนวนรถยนต์ และรถมอเตอร์ไซค์ทั้งหมดที่จดทะเบียนในประเทศไทย นอกจากนี้ จำนวนสถานีชาร์จไฟสำหรับ EV ที่เพิ่มขึ้นยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ EVS มาใช้งาน
กลยุทธ์ของประเทศไทย และมาตรการส่งเสริม EV เป็นอย่างไร …?
ประเทศไทยตั้งเป้าจะเป็นหนึ่งในฐานการผลิต EV และชิ้นส่วนอะไหล่ที่มีความสำคัญที่สุดภายในปี 2578 ในขณะที่คาดว่ายานยนต์ไร้มลพิษ (zero emission vehicle หรือ ZEV) จะมีสัดส่วน 30% ของรถยนต์ผลิตในประเทศทั้งหมดภายในปี 2573 โดยทางภาครัฐ ออกมาตรการส่งเสริมตลอดทั้งสายโซ่อุปทาน ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านอุปสงค์ และอุปทาน รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องด้วย โดยมาตรการที่สําคัญบางด้าน ได้แก่ (i) แนวทางส่งเสริมการลงทุน อย่างเช่น การสนับสนุน 17 ส่วนสําคัญ ของ EV, การให้สิทธิ์ยกเว้นภาษี และโครงการ R&D (ii) จัดตั้งสถาบันทดสอบ และกำหนดมาตรฐาน EV และ charger และ (iii) แพ็คเกจเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับ EV ทั้งนี้ มีผู้ผลิตรถยนต์เจ็ดรายที่ได้รับอนุมัติสิทธิประโยชน์จาก BOI เพื่อผลิต EV ในประเทศไทยแล้ว แต่ยังไม่ได้เริ่มทําการผลิต
มองต่างมุม-เป็นโอกาสหรืออุปสรรค?
กระแส EV ที่กำลังหลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยอาจเป็นได้ทั้งโอกาสและภัยคุกคาม กล่าวคือมันจะเป็นปัจจัยบวกถ้าผู้ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ในประเทศไทยสามารถปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองให้ทันกับสายโซ่อุปทาน พร้อมกับรักษาสถานะทที่แข็งแกร่งใน ตลาดชิ้นส่วนรถ ICE เอาไว้ได้ แต่ในทางกลับกัน ผู้ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่อาจจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน และความสามารถในการอยู่รอดในอนาคตไปได้ ถ้าหากไม่สามารถปรับตัวเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน value chain ของ EV ในกรณีที่ supplier ใน Tier 1 และ OEMs ซึ่งส่วนใหญ่มีเจ้าของเป็นต่างชาติไม่ถ่ายโอนเทคโนโลยีที่สำคัญมาให้ suppliers ใน Tier2 & 3 ของไทย ทั้งนี้ supplier ที่ต่างชาติเป็นเจ้าของมักจะมีการเติบโตของรายได้เหนือกว่า และมีความได้เปรียบในการแข่งขัน สำหรับในยุค EV นี้ กิจการที่เกี่ยวข้องกับ EV น่าจะเติบโตได้อย่างน่าประทับใจ ในขณะที่กิจการที่เกี่ยวข้องกับรถ ICE น่าจะทรงตัว หรือหดตัวลงในระยะต่อไป
Valuation & Action
เราพบว่าประเทศไทยยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของกระแส EV เมื่อเทียบกับประเทศที่อยู่ระดับแนวหน้าในด้านยานยนต์ โดยในปี 2564 ออกขาย EV ในประเทศไทยคิดเป็นสัดส่วนเพียง <1% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมด ซึ่งยังห่างไกลกับสัดส่วนยอดขาย EV ทั่วโลกที่คิดเป็น 8-10% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมด ซึ่งอาจจะเป็นการบ่งบอกว่า EV ในประเทศไทยยังเติบโตได้อีกมาก ทั้งนี้จากกระแสความนิยม EV ที่เพิ่มขึ้น และแนวโน้มราคาแบตเตอรี่ที่ลดลง ตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น และการปรับปรุงกระบวนการผลิต ทำให้เรามองเห็นศักยภาพการเติบโตของ EV ซึ่งทำให้เราชอบหุ้นที่มีส่วนที่เกาะเกี่ยวคู่กับกระแส EV โดยเฉพาะกลุ่มที่มีธุรกิจเกี่ยวกับสถานีชาร์จไฟน่าจะเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ได้นิสงส์ รองลงมา คือกลุ่มที่ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ EV, สายเคเบิ้ล, การผลิต, อิเล็กทรอนิกส์, บริการรถโดยสาร และแบตเตอรี่
รายชื่อหุ้นที่เกี่ยวข้อง
Risks
ปิดซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้านอกแผน, ปัญหา cost overrun, ความผันผวนของ Fx และอัตราดอกเบี้ย