ตลาดหุ้นวานนี้
SET ปิดบวก 4 จุด DELTA ยังเป็นพระเอกโดยวันนี้ปิดบวก 3.8% มีผลต่อ SET Index 2 จุด นอกจากนี้ยังมีแรงเก็งกำไรหุ้นที่ได้ผลบวกจากราคาน้ำมันดิบทั้งทางตรงและทางอ้อม อาทิ SCGP EPG TASCO และหุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ อย่างไรก็ตามดัชนีปรับขึ้นในกรอบจำกัดเนื่องจากมีแรงขายหุ้นกลุ่มน้ำมันและโรงกลั่นหลังจากที่ราคาน้ำมันดิบลดลงใกล้หลุดระดับ 90$/bbl
แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้
ประเมิน SET แกว่งตัว 1,590 – 1,610 จุด โดยภาวะตลาดถูกกดดันจากความกังวลเศรษฐกิจโลกหดตัวหลัง BOE ขึ้นดอกเบี้ย 0.50% สู่ 1.75% พร้อมเตือนเศรษฐกิจอังกฤษถดถอยตั้งแต่ Q4/65 ถึงปี 2566 แต่อัตราเงินเฟ้อยังคงสูง ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบทรุดตัวลงแรงซึ่งเป็นลบต่อกลุ่มพลังงาน อย่างไรก็ตามแรงซื้อหุ้นรายตัวและหุ้นงบ Q2/65 เติบโตจะช่วยหนุนให้ดัชนีสลับรีบาวด์ขึ้นได้
กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy
- GPSC BGRIM GULF RATCH SCGP SCC EPG อานิสงส์ราคาน้ำมันดิบอ่อนตัวลง
- KCE HANA DELTA อานิสงส์หุ้นกลุ่ม Tech ฟื้นตัวขึ้น
- กลุ่มหุ้นที่คาดว่างบ 2Q22 เติบโต CKP GFPT TFG TOP SPRC BANPU IVL SNNP CPN CENTEL
หุ้นแนะนำวันนี้
- GPSC (ปิด 70.50 ซื้อ/เป้า IAA Consensus 78 บาท) แรงกดดันต่อต้นทุนพลังงานเริ่มลดลงหลังจากแนวโน้มของราคาน้ำมันดิบเริ่มชะลอตัวเป็น Sentiment บวกกับโรงไฟฟ้าประกอบกับมีประเด็นเรื่องการปรับขึ้นค่า Ft ให้เก็งกำไรเป็นบวกกับผู้ประกอบการที่มีสัดส่วนของโรงไฟฟ้า SPP และมีกลุ่มลูกค้าที่เป็นภาคอุตสาหกรรมสูง
- CBG (ปิด 113.5 ซื้อ/เป้า 130 บาท) ราคาลดลงสะท้อนข่าวพม่าสั่งระงับการจ่ายชำระหนี้ต่างประเทศไปแล้ว แนวโน้มงบ 2Q22 ทยอยฟื้นตัว แตะครึ่งปีหลังจะโดดเด่นจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นและได้ผลบวกจากต้นทุน โดยเฉพาะอะลูมิเนียมซึ่งเป็นต้นทุนกระป๋องของ CBG ปรับตัวลงต่อเนื่อง
บทวิเคราะห์วันนี้
BBL, LPN, REIT
ประเด็นสำคัญวันนี้
- (-) กลุ่มน้ำมัน – ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลงแตะระดับ 88$/bbl ต่ำสุดในรอบ 5 เดือน: ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 2.12 ดอลลาร์ หรือ 2.3% ปิดที่ 88.54 ดอลลาร์/บาร์เรล นักลงทุนยังวิตกกังวลกับภาวะ ศก. ถดถอยซึ่งจะส่งผลกระทบต่อดีมานด์ที่ชะลอตัว โดยการถดถอยของ ศก. เริ่มเห็นสัญญาณที่ชัดขึ้นโดยเฉพาะในสหรัฐ ที่ GDP ติดลบติดต่อกัน 2 ไตรมาส ขณะที่จีน GDD อาจจะต่ำกว่าระดับ 5.5 จากนโยบาย Zero Covid ที่เข้มงวด
- (+/-) Nonfarm payrolls วัดความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานสหรัฐ: สหรัฐจะรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) และอัตราการว่างงานในวันนี้ ตัวเลขดังกล่าวจะชี้วัดความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานในสหรัฐหากตัวเลขออกมาดีจะช่วยทำให้ตลาดคลายกังวลกับภาวะ ศก. ถดถอย แม้จะเป็นแรงกดดันต่อการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดแต่คาดว่าแรงกดดันดังกล่าวจะไม่สูงเหมือนช่วงที่ผ่านมา
- (+/-) ติดตามเงินเฟ้อไทยเดือน ก.ค. ก่อน BoT meeting สัปดาห์หน้า: ยังมีความไม่แน่นอนสำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของบ้านเราระหว่าง 0.25% หรือ 0.5% ซึ่งปัจจัยที่จะเป็นตัวบ่งชี้คืออัตราเงินเฟ้อโดยจะมีการประกาศตัวเลขดังกล่าวในวันนี้ เบื้องต้น Consensus คาดอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ก.ค.จะเพิ่มเป็น 8.3% จาก 7.66% ในเดือน มิ.ย.หากตัวเลขสูงกว่าที่ Consensus คาดอาจจะกดดันให้แบงก์ชาติขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0.5%