บล.พาย:

SECTOR UPDATE

BANKING: OVERWEIGHT

คาดผลกระทบเล็กน้อยจากการปรับเพิ่มดอกเบี้ย

TOP PICK BBL, SCB

คาดคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 25bp เป็น 0.75% วันการประชุมวันพุธที่ 10 ส.ค. เนื่องจากการค่อยๆ ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจต่อไปได้ คาดกลุ่มธนาคารได้ประโยชน์จากรอบการปรับเพิ่มดอกเบี้ยดังกล่าวเพราะจะทำให้มีอัตรากำไรดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ที่สัดส่วนสินเชื่อส่วนใหญ่คิดดอกเบี้ยแบบลอยตัว ทั้งนี้ คาด BBL KBANK และ SCB จะได้ประโยชน์มากกว่ารายอื่น โดยรวมยังคงมุมมองเชิง “บวก” ต่อกลุ่มธนาคาร ขณะที่เลือก BBL และ SCB เป็นหุ้นเด่น

กลับสู่อัตราดอกเบี้ยนโยบายปกติ

คาด กนง. จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 25bp เป็น 0.75% วันการประชุมวันพุธที่ 10 ส.ค. เพื่อรับมือกับเงินเฟ้อและพยุงทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยคาดว่าหลังจากนั้นจะมีการทยอยปรับเพิ่มดอกเบี้ยขึ้นต่อเนื่องอีกครั้งละ 25bps ในการประชุม 2 ครั้งถัดไปช่วงเดือน ส.ค. และ พ.ย. จนแตะ 1.25% ภายในสิ้นปี 2022

คาดกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่จะได้ประโยชน์จากการปรับเพิ่มดอกเบี้ย

  • เมื่อดูจากพอร์ตสินเชื่อและโครงสร้างเงินฝากของธนาคารขนาดใหญ่ จึงคาดว่ากลุ่มนี้จะได้ประโยชน์จากแนวโน้มการปรับเพิ่มดอกเบี้ย เนื่องจากธนาคารขนาดใหญ่ปล่อยสินเชื่อ (ทั้งภาคธุรกิจและผู้บริโภค) ที่คิดเป็นดอกเบี้ยลอยตัว จึงมีโอกาสได้รับรายได้ดอกเบี้ยมากขึ้นเมื่อปรับเพิ่มดอกเบี้ยเงินกู้ขึ้น แม้ต้นทุนดอกเบี้ยอาจปรับสูงขึ้นเช่นกัน แต่จะมีอัตราการปรับเพิ่มที่ช้ากว่าเพราะช่วงครบกำหนดของเงินฝาก
  • จากการศึกษาถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นพบว่าการปรับเพิ่มดอกเบี้ยขึ้นจะส่งผลต่อประมาณการกำไรสุทธิโดยรวมราว -0.8% ถึง +3.2% ต่อประมาณการกำไรสุทธิโดยรวมสำหรับปี 2022 ที่ 1,665 แสนล้านบาท คาด BBL KBANK และ SCB จะได้ประโยชน์มากกว่าคู่แข่งรายอื่น

เลือก BBL และ SCB เป็นหุ้นเด่น

  • คงมุมมองเชิง “บวก” สำหรับกลุ่มธนาคารเพราะ 1) การเติบโตของกำไรสุทธิที่มั่นคง 2) งบดุลยืดหยุ่น (อัตราการตั้งสำรองหนี้ฯ สูง และฐานเงินทุนแข็งแกร่ง) พร้อมรับมือกับความไม่แน่นอน 3) โอกาสที่จะได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น และ 4) มูลค่าหุ้นไม่แพง ปัจจุบันซื้อขายกันที่ 0.7X PBV’22E หรือ -1.0SD ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี
  • ชอบธนาคารขนาดใหญ่เพราะมีพอร์ตสินเชื่อหลากหลายมากกว่า และมีโอกาสได้ประโยชน์จากการปรับเพิ่มดอกเบี้ย เพราะจะช่วยให้อัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) ปรับสูงขึ้น เลือก BBL (“ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 159.0 บาท) เป็นหุ้นเด่นเพราะมีงบดุลแข็งแกร่ง กำไรสุทธิเติบโตมั่นคง และมูลค่าหุ้นที่น่าดึงดูด ส่วนที่เลือก SCB (“ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 139.0 บาท) เพราะงบดุลที่ดีขึ้น มี upside ด้านกำไรที่สูง ขณะที่ความกังวลเรื่องการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลก็ผ่อนคลายลงแล้ว

สิ้นสุดยุคดอกเบี้ยต่ำ

  • คาด กนง. ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 25pp เป็น 0.75% เพื่อรับมือกับเงินเฟ้อและพยุงทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจต่อไป ควรบันทึกว่าการปรับเพิ่มดอกเบี้ยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในเดือน ธ.ค. 2018 จาก 1.50% เป็น 1.75% หลังจากนั้นก็เข้าสู่วัฏจักรดอกเบี้ยขาลงด้วยการปรับลดในเดือน ส.ค. 2019 จาก 1.75% เป็น 1.50% ก่อนที่จะลดลงอีกเหลือ 0.50% ในเดือน พ.ค. 2020 และทรงตัวในระดับ 0.50% เป็นมากกว่าเวลา 2 ปี หรือตั้งแต่เดือน พ.ค. 2020 ถึง ก.ค. 2022
  • คาด กนง. จะเดินหน้าปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีกครั้งละ 25bp ในการประชุม 2 ครั้งถัดไปในเดือน ส.ค. และ พ.ย. 2022 ส่วนในปี 2023 แม้ความกังวลด้านเงินเฟ้อจะผ่อนคลายลง แต่คาดว่า กนง. จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมจนแตะ 2.0%-2.5% หรือใกล้เคียง กับคาดการณ์เงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ 2.5% ในปี 2023
  • แม้มีความกังวลเกี่ยวกับสถานะทางการเงินที่อ่อนแอในกลุ่ม SMEs และลูกค้าประเภทผู้บริโภค แต่คาดว่ากลุ่มธนาคารไทยจะปรับเพิ่มดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากขึ้นตามคาดการณ์ว่าจะมีการปรับเพิ่มดอกเบี้ยในวันที่ 10 ส.ค. แต่กลุ่มธนาคารอาจปรับเพิ่มดอกเบี้ยขึ้นน้อยกว่า 25bps หรือเลือกปรับเพิ่มเป็นบางผลิตภัณฑ์ เพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับลูกค้า ทั้งนี้ ประเมินว่าการปรับเพิ่มดอกเบี้ยจะขึ้นอยู่กับสัดส่วนสินเชื่อ และโครงสร้างเงินฝากของแต่ละธนาคาร

คาดกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่จะได้ประโยชน์จากการปรับเพิ่มดอกเบี้ย

  • การวิเคราะห์ผลกระทบจากการปรับเพิ่มดอกเบี้ยอิงงบการเงินใน 2Q22 และสมมติฐาน 2 กรณีดังนี้:

(i) กรณีที่ 1 : มีการปรับเพิ่มดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร เงินกู้ และเงินฝากประจำขึ้น 25bps

(ii) กรณีที่ 2: มีการปรับเพิ่มดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร เงินกู้ เงินฝากอออมทรัพย์และประจำขึ้น 25bps

  • ในกรณีแรก NIM เฉลี่ยจะเพิ่มขึ้น 4bps ในปี 2022 ส่วนกำไรสุทธิโดยรวมจะโตขึ้น 3.2% จากประมาณการที่ 1.665 แสนล้านบาทสำหรับปี 2022 ภายใต้กรณีนี้ BBL และ KTB จะได้ประโยชน์มากที่สุด ด้วยโอกาสที่กำไรสุทธิจะเพิ่มขึ้นราว 4% ขณะที่กำไรสุทธิของ TISCO อาจได้รับผลกระทบเชิงลบเล็กน้อยในระดับ 0.5%
  • ในกรณีที่ 2 NIM เฉลี่ยจะลดลง 1bps ส่วนกำไรสุทธิโดยรวมจะลดลง 0.8% โดยคาดว่าทุกธนาคารจะมีกำไรสุทธิลดลง และคาดว่ากำไรสุทธิของ KTB จะได้รับผลกระทบมากที่สุดในระดับ 2.3%
  • โดยสรุปแล้ว การปรับเพิ่มดอกเบี้ยอาจกระทบประมาณการกำไรสุทธิปี 2022 ของเราสำหรับธนาคาร 7 แห่งที่ทำการวิเคราะห์อยู่ในกรอบ -0.8% ถึง +3.2% สินเชื่อธุรกิจ (SMEs และธุรกิจขนาดใหญ่) และสินเชื่อจดจำนองเป็นกลุ่มที่มีความอ่อนไหวต่อการปรับเพิ่มดอกเบี้ยมากกว่า กลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อยานยนต์ บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลเพราะคิดเป็นดอกเบี้ยแบบลอยตัว เมื่ออิงจากสมมติฐานเหล่านี้จึงคาดว่ากลุ่มธนาคารขนาดใหญ่จะได้ประโยชน์มากกว่า เพราะมีสินเชื่อส่วนใหญ่ที่คิดดอกเบี้ยแบบลอยตัว แต่กลุ่มธนาคารขนาดเล็กกว่าก็น่าจะได้ ประโยชน์เช่นกันแต่ด้วยระดับที่น้อยกว่า เพราะส่วนใหญ่มีสินเชื่อประเภทเช่าซื้อยานยนต์ที่คิดดอกเบี้ยคงที่ ทั้งนี้ ผลกระทบที่แท้จริงอาจแตกต่างไปจากผลการวิเคราะห์ตามกลยุทธ์การปรับเพิ่มดอกเบี้ย กรอบเวลาสินเชื่อในพอร์ต และกำหนดเวลาด้านเงินฝากของแต่ละธนาคาร

 

- Advertisement -