บล.พาย:

SYNEX: บมจ. ซินเน็ค (ประเทศไทย) “เงินเฟ้อกระทบกำไร 2Q22 ไม่มาก”

คงคำแนะนำ “ซื้อ” แต่ปรับมูลค่าพื้นฐานลง -18% เป็น 24.25 บาท อิง 21.1xPE’23E หรือ +1.0S.D ต่อค่าเฉลี่ย 10 ปี ด้วยการที่กำไร 2Q22 แสดงให้เห็นถึงผลกระทบในวงแคบจากเงินเฟ้อ จึงเชื่อว่าราคาหุ้นที่ลดลง 41% YTD คือโอกาสเข้าซื้อหุ้นในราคาที่น่าดึงดูด ภาพรวมใน 2H22 และปี 2023 มีทิศทางเชิงบวก หนุนจากกระแส การกลับเข้าทำงานที่ออฟฟิศและ 5G บวกกับสภาพเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น และปัญหาด้านอุปทานที่ผ่อนคลายลง ที่คาดว่าจะช่วยหนุนการเติบโตของรายได้ให้สูงขึ้นได้

กำไร 2Q22 ได้รับผลกระทบในวงแคบ

  • กำไรสุทธิ 2Q22 อยู่ที่ 192 ล้านบาท (-9% YoY, -12% QoQ) การปรับลดลง YoY และ QoQ เป็นผลจากส่วนแบ่งกำไรที่ลดลงจากบริษัทร่วม โดยในเชิง QoQ ได้รับผลกระทบจากยอดขายที่ลดลงเพราะปัจจัยฤดูกาล ขณะที่เชื่อว่ากำไร 2Q22 จะเป็นจุดต่ำสุดของปีนี้
  • ยอดขาย 2Q22 อยู่ที่ 9.6 พันล้านบาท (+14% YoY, -4% QoQ) การเติบโตในเชิง YoY ได้แรงหนุนจากกลุ่มพาณิชย์หลังมีการคลายล็อกดาวน์ แต่ลดลง QoQ จากปัจจัยตามฤดูกาล คาดในช่วง 2H22 และปี 2023 จะมีแรงหนุนจากกลุ่มพาณิชย์ เพราะกระแสการกลับเข้าทำงานที่ออฟฟิศ บวกกับการเติบโตของมือถือระบบ 5G และสภาวะการขาดแคลนอุปทานที่ผ่อนคลายลง
  • อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) 2Q22 อยู่ที่ 4.3% (-0.5ppts YoY, -0.3ppts QoQ) ต่ำสุดในรอบ 5 ไตรมาส  คาดว่าเป็นผลมาจากการมอบส่วนลด สินค้าเพื่อบรรเทาผลกระทบจากเงินเฟ้อ ทั้งนี้ เชื่อว่า GPM จะฟื้นตัวตั้งแต่ 3Q22 เป็นต้นไป ประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลที่ 0.18 บาท ขึ้น XD วันที่ 22 ส.ค.

ปรับลดประมาณการกำไรปี 2022-23

ปรับลดประมาณการกำไรปี 2022-23 ลง 6% และ 5% ตามลำดับ โดยปรับลดกำไรปี 2022 ลงเป็น 889 ล้านบาท เพื่อสะท้อนผลประกอบการ 2Q22 ขณะที่ปรับลดตัวเลขปี 2023 เป็น 974 ล้านบาท เพราะก่อนหน้านี้มี สมมติฐาน GPM เชิงรุกเกินไปเมื่อพิจารณาจาก GPM เฉลี่ย 2 ปีของบริษัทที่ 4.60%

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 24.25 บาท

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 24.25 บาท อิง 21.1xPE’23E หรือ +1.0S.D. ต่อค่าเฉลี่ย 10 ปี เชื่อว่าเป้าหมายตัวคูณเดิมที่ 27.0xPE’22E เป็นระดับที่สูงเกินไปหากพิจารณาจากทิศทางการเติบโตของกำไรที่ชะลอลงในปี 2022-23

สรุปผลประกอบการ 2Q22

  • กำไรสุทธิ 2Q22 อยู่ที่ 192 ล้านบาท (-9% YoY, -12% QoQ) การปรับลดลง YoY และ QoQ เป็นผลจากส่วนแบ่งกำไรที่ลดลงจากบริษัทร่วม โดยในเชิง QoQ ได้รับผลกระทบจากยอดขายที่ลดลงเพราะปัจจัยฤดูกาล ขณะที่เชื่อว่ากำไร 2Q22 จะเป็นจุดต่ำสุดของปีนี้
  • รายได้ อยู่ที่ 9.6 พันล้านบาท (+14% YoY, -4% QoQ) การเติบโตในเชิง YoY ได้แรงหนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในกลุ่มสินค้าเชิงพาณิชย์ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ คาดว่าเป็นผลจากกระแสการกลับเข้าทำงานที่ออฟฟิศใน 2Q22 ทำให้จำนวนผู้คนที่กลับเข้าออฟฟิศพื้นตัวสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 แล้ว แต่ในเชิง QoQ ลดลงจากปัจจัยตามฤดูกาล
  • GPM 2Q22 อยู่ที่ 4.3% (-0.5ppts YoY, -0.3ppts QoQ) ที่ลดลง YoY และ QoQ คาดว่าเป็นผลมาจากการที่บริษัทไม่ส่งต่อต้นทุนอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงขึ้นไปยังลูกค้า ทั้งนี้ ด้วยปริมาณสินค้าคงคลังที่ลดลง คลังที่ลดลง 9% QoQ จึงคาดว่าบริษัทจะให้ความสำคัญกับการจำหน่ายสินค้าราคาถูกลง เพราะกำลังซื้อของลูกค้าได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อ แต่คิดว่าเงินเฟ้อในไทยได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้นจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวจะเอื้อให้บริษัทมี GPM ที่ฟื้นคืนสู่ระดับค่าเฉลี่ย 4 ไตรมาสที่ 4.81% ได้

ปรับลดประมาณการกำไรปี 2022 เพื่อสะท้อนผลประกอบการ 2Q22

  • ปรับลดประมาณการกำไรปี 2022 ลง 6.3% หลังจากปรับลดสมมติฐาน GPM ลง 0.2ppts เป็นผลสืบเนื่องจาก GPM ที่ต่ำ 4.3% ใน 2Q22 คาดว่าเป็นผลจากการมอบส่วนลด ขณะที่เชื่อว่า GPM จะค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และการแข็งค่าของเงินบาทตั้งแต่ 2H22 เป็นต้นไป แต่ถ้าอิงสมมติฐานว่า GPM ใน 3Q22 จะกลับสู่ระดับ 1Q22 ที่ 4.6% และ GPM ใน 4Q22 ที่ 4.8% จะทำให้ GPM เฉลี่ยทั้งปี 2022 อยู่ที่ 4.6%
  • นอกจากนี้ยังปรับลดประมาณการกำไรปี 2023 ลง 5% ด้วยเหตุผลเดียวกัน (GPM เดิมที่เป็นบวกมากเกินไป) ที่ผ่านมาบริษัทยังไม่เคยรักษา GPM ที่สูงกว่า 4.9% ได้อย่างมั่นคง สะท้อนถึงลักษณะธุรกิจที่อาจเป็นปัจจัยขัดขวางการพัฒนาด้านอัตรากำไร

Revenue breakdown

รายได้ของบริษัทแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักดังนี้

กลุ่มพาณิชย์ (17% ของรายได้ปี 2021) ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์จำพวกเครือข่าย หน่วยความจำเซิร์ฟเวอร์ กล้องวงจรปิด และซอฟต์แวร์ มีลูกค้าเป็นกลุ่มองค์กรและภาครัฐที่ต้องการให้พนักงานมีอุปกรณ์รองรับการทำงานอย่างเหมาะสม

กลุ่มการสื่อสาร (43% ของรายได้ปี 2021) ประกอบด้วยแท็ปเล็ต มือถือ และอุปกรณ์และแกดเจ็ตอัจฉริยะอื่นๆ เช่น มือถือ iPhone และ Samsung

กลุ่มอุปโภคบริโภค (43% ของรายได้ปี 2021) ประกอบด้วย PC ชิ้นส่วน PC และอุปกรณ์เสริมที่เกี่ยวข้อง โดยส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับการใช้งานส่วนตัว ผลิตภัณฑ์ที่เป็นแรงขับเคลื่อนหลักในกลุ่มนี้คืออุปกรณ์จำพวกเกม PC และแล็ปท็อป ซึ่งมีการเติบโตเป็นอย่างดี ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพราะกระตุ้นให้ผู้คนหันมาอัปเกรดอุปกรณ์ใช้งานในบ้านของตนมากขึ้น

- Advertisement -