บล.บัวหลวง:

Thai Market Strategy – คู่มือเทรดธีมดอกเบี้ยขาขึ้น: เตรียมตัวสำหรับขาขึ้นรอบใหม่

กนง.น่าจะชัดเจนแล้วสำหรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25bps ไปเป็น 0.75% ภายในการประชุมวันนี้ อ้างอิงจากอัตราเงินเฟ้อที่สูง ดัชนีราคาผู้บริโภคที่ไม่รวมอาหารและพลังงาน (ปรับตัวขึ้นจาก 2.28% ในเดือน มิ.ย. ไปเป็น 2.99% ในเดือน ก.ค.) อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะหมายถึง ต้นทุนการกู้ที่สูงขึ้น ซึ่งจะกดดันในส่วนของหนี้ของบางบริษัท และอาจจะกดดันกำไรในอนาคต โดยในขณะที่ก่าไรของกลุ่มก่อสร้างและกลุ่มท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบมากที่สุด กลุ่มธนาคารจะได้รับประโยชน์มากที่สุด (ทั้งยังมีอัพไซด์จากอัตราการดอกเบี้ยเงินกู้และโครงสร้างสินเชื่อ/เงินฝากของแต่ละธนาคาร) เราได้แสดงรายชื่อของผู้ได้/เสียผลประโยชน์ในช่วงที่ดอกเบี้ยก๋าลังจะปรับขึ้นนี้

อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้น เนื่องจากดัชนีราคาผู้บริโภคที่เร่งตัวขึ้น

ถึงแม้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศไทยในเดือน ก.ค. (CPI) อยู่ที่ 7.61% ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ 7.8% (และค่ากว่าเดือน มิ.ย. ที่ 7.66% เล็กน้อย) แต่ดัชนีราคาผู้บริโภคที่ไม่รวมอาหารและพลังงานอยู่ที่ 2.99% ปรับตัวขึ้นจาก 2.28% ในเดือน มิ.ย. และสูงกว่าเป้าของทางธปท.ที่ 2% อย่างชัดเจน ดังนั้น วันนี้เราคาดกนง.จึงน่าจะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 25bps ไปเป็น 0.75% และเชื่อว่ามีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นไปอยู่ที่ 1-1.25% ภายในสิ้นปี 2565 (น่าจะปรับขึ้นอีก 25bps อย่างน้อย 2-3 ครั้งในไตรมาส 3/65-4/65) และบนสมมุติฐานที่ดัชนีราคาผู้บริโภคยังคงสูงอย่างยืดเยื้อ เราคาดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจจะขึ้นไปถึง 2% ภายในสิ้นปี 2566 (ปรับขึ้น 25bps ในทุกการประชุมในปีหน้า)

ต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นอาจกดดันภาพกำไรธุรกิจและการใช้จ่ายผู้บริโภค

การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายโดยปกติจะตามมาด้วยการขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ภาคธุรกิจ (MLR) และอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรายย่อย ซึ่งหมายถึงต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น สําหรับบริษัทและภาระที่เพิ่มขึ้นจากการกู้ยืมของผู้บริโภค การลงทุนของธุรกิจ และการใช้จ่ายของผู้บริโภคจะถูกกดดันจากอัตราดอกเบี้ยที่สูง ซึ่งอาจจะกระทบการเติบโตของ GDP โดยเราคาดว่าหาก MLR ปรับตัวขึ้น 25bps จะกดดัน GDP น้อยกว่า 0.1% และเป็นความเสี่ยงต่อประมาณการกำไรของ SET ในปี 2566 ของเราราว 0.3% แต่จะไม่ใช่สําหรับทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยกลุ่มที่จะได้รับความเสี่ยงที่สุดได้แก่ กลุ่มท่องเที่ยว (เสี่ยงต่อประมาณการกำไรของเรา 1.4%) และกลุ่มก่อสร้าง (0.6%)

ในทางตรงกันข้าม กลุ่มธนาคารจะได้รับประโยชน์ โดยเป็นอัพไซด์จากอัตราการปล่อยกู้ที่คาดจะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี  ธนาคารอาจไม่จําเป็นต้องปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อให้สอดคล้องกับการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในทันที

เปิดโอกาสการลงทุนสําหรับกลุ่มธนาคาร

เราได้ศึกษาผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลังของ SET หลังการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และ MLR ไม่รวมช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540-2541 สรุปได้ว่า 1 เดือน หลังการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 60% ของช่วงเวลาทั้งหมด (ปี 2538 2544 2546 2553 2561) SET ปรับตัวขึ้น (เฉลี่ยที่ 2.7%) หลัง MLR ปรับขึ้น 1 เดือน (ในปี 2531 2537 2548 2553) 50% ของช่วงเวลาดังกล่าว SET จะปรับด้วลง (เฉลี่ย 0.2%) หลังจากที่ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 2 เดือน 80% ของช่วงเวลาดังกล่าว SET จะปรับตัวขึ้น (เฉลี่ย 4.2%) หลังจากปรับขึ้น MLR 2 เดือน 75% ของช่วงเวลาทั้งหมด SET ปรับตัวขึ้น (เฉลี่ย 5.1%) โดยเราชอบกลุ่มธนาคารที่สุด และคาดจะเป็นตัวแทนของการลงทุนธีมดอกเบี้ย และ MLR ขาขึ้น เนื่องจากดัชนีกลุ่มธนาคารปรับตัวขึ้นโดดเด่นในอดีตในช่วงเวลาดอกเบี้ยขาขึ้น

 

- Advertisement -