บล.พาย:
BGRIM: บมจ. บี.กริม เพาเวอร์ “กำไรปกติ 2Q22 กลับมาโต QoQ”
คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 42.0 บาท เชื่อว่าราคาหุ้นปัจจุบันสะท้อนภาพรวมกำไรที่อ่อนแอใน 2Q22 ที่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนก๊าซที่สูงไปแล้ว (+80% YoY) แม้ขาดทุนสุทธิ 193 ล้านบาท ใน 2Q22 แต่กำไรปกติฟื้นตัวจากฐานต่ำใน 1Q22 มาอยู่ที่ 147 ล้านบาท ทั้งนี้ แม้ว่ากำไรปกติ 1H22 คิดเป็นเพียง 17% ของประมาณการทั้งปี แต่ยังคงประมาณการเดิมเพราะคาดว่าภาพรวมใน 2H22 จะออกมาแข็งแกร่ง ด้วยแรงหนุนจากการเริ่มดำเนินงานเชิงพาณิชย์ (COD) โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) 5 โครงการ (โครงการทดแทน) และจากการปรับเพิ่มค่า Ft ที่จะช่วยยกระดับอัตรากำไรโครงการ SPP และช่วยหนุนกำไรใน 2H22 อีกแรง ทั้งยังเล็งเห็น upside เพิ่มเติมจากคาดการณ์ว่าจะมีการประกาศโครงการใหม่ใน 2H22-23
กำไรปกติฟื้นตัวตามคาด
- กำไรปกติ 2Q22 อยู่ที่ 147 ล้านบาท (-86% YoY, 332% QoQ) การเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ QoQ ได้แรงหนุนจากอัตรากำไรโครงการ SPP ที่ปรับดีขึ้นหลังจากต้นทุนก๊าซอ่อนตัวลง บวกกับการปรับเพิ่มค่า Ft ส่วนที่ลดลง YoY เป็นผลจากต้นทุนก๊าซที่สูงขึ้น
- แต่มีผลขาดทุนสุทธิรายไตรมาสครั้งแรกที่ 193 ล้านบาทใน 2Q22 สืบเนื่องจากขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน 541 ล้านบาท อันเป็นผลจากเงินบาท/USD ที่อ่อนค่าลง
- อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ใน 2Q22 ปรับเพิ่มขึ้น 2.7 ppts QoQ จากราคาก๊าซเฉลี่ยของโครงการ SPP ที่ลดลง 5% QoQ เป็น 422 บาท/ MMBtu (+77% YoY) ส่วนรายได้ใน 2Q22 ยังทรงตัว QoQ ที่ 1.46 พันล้านบาท (+28% YoY)
ภาพรวมที่สดใสในช่วง 2H22-23
- คาดผลประกอบการใน 2H22 จะได้ประโยชน์จากค่า Ft ที่เพิ่มขึ้น คาดว่า กกพ. จะปรับเพิ่มค่า Ft ขึ้นอีก 0.6866 บาท/kWh เป็น 0.9343 บาท/kWh สำหรับช่วงเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2022 เพื่อชดเชยราคาก๊าซที่พุ่ง สูงขึ้น
- คาดว่าการเริ่มเดินเครื่อง (COD) โครงการ BPLC1R ขนาด 140MW ใน 3Q22 (ภายใต้โครงการทดแทน) จะสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่ม 300 ล้านบาท (+50% QoQ) ตั้งแต่ 3Q22 เป็นต้นไป
- นอกจากนี้ ความสำเร็จของการเข้าซื้อโครงการโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ขนาด 88MW ในมาเลเซียช่วงเดือน มิ.ย. 2022 โดย BGRIM มาเลเซียจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนทิศทางกำไรในช่วง 2H22 ได้อีกแรง
คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 42.0 บาท
มูลค่าพื้นฐาน 42.0 บาท คำนวณด้วยวิธีคิดลดเงินสด (DCF) (6.1% WACC, 1.0% TG) อิง 60.0X PE’23E คาดว่าการปรับเพิ่มค่า Ft เป็น 0.9343 บาท/kWh สำหรับช่วงเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2022 จะช่วยชดเชยผลกระทบจากต้นทุนก๊าซที่สูงขึ้น (แนวทางสำหรับทั้งปี 2022 ที่ 400-450 บาท/MMBtu) และยกระดับอัตรากำไรโครงการ SPP ใน 2H22 ให้สูงขึ้นได้ จึงแนะนำกลยุทธ์การเทรดและค่อยๆ สะสมในระดับราคาปัจจุบัน
กำไรปกติฟื้นตัวใน 2Q22
- ข้อมูลจากคำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (MD&A) รายงานกำไรปกติ 2Q22 ที่ 147 ล้านบาท (-86% YoY, 332% QoQ) การเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ QoQ ได้แรงหนุนจากอัตรากำไรโครงการ SPP ที่ปรับดีขึ้นหลังจากต้นทุนก๊าซอ่อนตัวลง (ราคาก๊าซเฉลี่ยสำหรับโครงการ SPP ลดลงเหลือ 422 บาท/MMBtu ใน 2Q22 จาก 442 บาท/MMBtu ใน 1Q22) บวกกับการปรับเพิ่มค่า Ft ขึ้นเป็น 0.2477 บาท/kWh ตั้งแต่เดือน พ.ค. 2022
- แต่มีผลขาดทุนสุทธิรายไตรมาสครั้งแรกที่ -193 ล้านบาทใน 2Q22 สืบเนื่องจากขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน 541 ล้านบาท อันเป็นผลจากเงินบาท/ USD ที่อ่อนค่าลง
- GPM ใน 2Q22 ปรับเพิ่มขึ้น 2.7 ppts QoQ จากราคาก๊าซเฉลี่ยของโครงการ SPP ที่ลดลง 5% QoQ เป็น 422 บาท/MMBtu (+77% YoY) ส่วนรายได้ใน 2Q22 ยังทรงตัว QoQ ที่ 1.46 พันล้านบาท (+28% YoY)
- รายได้ 2Q22 ยังทรงตัว QoQ ที่ 1.46 พันล้านบาท ขณะที่โตขึ้น 28% YoY จาก 1) การปรับเพิ่มค่า Ft ขึ้นเป็น 0.2477 บาท/kWh ในเดือน พ.ค. ส.ค. 2022 2) การเติบโตในด้านปริมาณการใช้ไฟฟ้าของกลุ่มอุตสาหกรรมที่ 3.2% YoY พร้อมกับการเติบโตของธุรกิจโรงฟ้าพลังน้ำในลาวตามปัจจัยฤดูกาล
Revenue breakdown
BGRIM ลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าหลากหลายประเภท ได้แก่ พลังงานร่วม (co-generation) พลังงานน้ำ พลังแสงอาทิตย์ พลังลม ดีเซล และพลังงานขยะ โดยทำการจําหน่ายไฟฟ้าให้กับกลุ่มลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ รายได้ส่วนใหญ่ของ BGRIM มาจากการจำหน่ายไฟฟ้าซึ่งคิดเป็น 98% ของรายได้ทั้งหมด
ทั้งยังจำหน่ายไอน้ำให้กับกลุ่มผู้ใช้ภาคอุตสาหกรรม (IU) ผ่านท่อส่งไอน้ำของบริษัทเอง ซึ่งเชื่อมต่อไปยังโรงงานของลูกค้าโดยตรง โดยหน่วยธุรกิจนี้คิดเป็น 1% ของรายได้ทั้งหมด รายได้เกือบ 94% มาจากในประเทศ ประกอบด้วย 66% จาก กฟผ. 24% จากกลุ่ม IU ไทย และ 3% จาก กฟภ. กฟน. ฯลฯ ขณะที่อีก 5% ของรายได้รวมมาจากเวียดนามและ 1% จากลาว