บล.พาย:
บมจ. ซีเค พาวเวอร์ – CKP “โครงการ XPCL ช่วยหนุนกำไร 2Q22”
คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 6.40 บาท คำนวณด้วยวิธีคิดลดเงินสด (DCF) อิง 24.6x PE’23E กำไรสุทธิ 2Q22 อยู่ที่ 864 ล้านบาท (+22% YoY, +>100% QoQ) สอดคล้องคาดการณ์ โดยการเติบโตทั้ง YoY และ QoQ เป็นผลจากส่วนแบ่งกำไรจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (XPCL) ที่สูงขึ้น เพราะปัจจัยตามฤดูกาล ขณะที่คาดกำไรที่แข็งแกร่งขึ้นใน 3Q22 และเป็นจุดสูงรายไตรมาสด้วยแรงหนุนจากปัจจัยตามฤดูกาลสำหรับโรงไฟฟ้าพลังน้ำในลาว
ผลการดำเนินงานที่ยอดเยี่ยมใน 2Q22
- กำไรสุทธิ 2Q22 อยู่ที่ 864 ล้านบาท (+22% YoY, +>100% QoQ) การเติบโต QoQ ได้แรงหนุนจากส่วนแบ่งกำไรที่โตขึ้นเป็น 772 ล้านบาท (45% YoY, >100% QoQ) จากช่วง high season สำหรับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (XPCL) และปริมาณขายไฟฟ้าที่สูงขึ้น (+18%QoQ) จากโครงการ NN2 อันเป็นผลจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่สูงขึ้น ส่วนการเติบโต YoY เป็นผลจากส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนใน XPCL ที่สูงขึ้น 45% YoY เพราะเป็นช่วง high season นับว่าช่วยชดเชยอัตรากำไรที่ลดลงในโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) อย่าง BIC ที่มีสาเหตุมาจากต้นทุนก๊าซที่สูงขึ้น
- รายได้โตเป็น 2.5 พันล้านบาท (+16% YoY, +4.7% QoQ) หนุนจากรายได้การขายไฟฟ้าของ BIC ที่สูงขึ้น ได้อานิสงส์จากการปรับเพิ่มค่า Ft ที่ช่วยชดเชยต้นทุนก๊าซที่สูงขึ้นได้
- อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ปรับดีขึ้น QoQ เป็น 18.1% จาก 14% ใน 1Q22 จากต้นทุนก๊าซที่ลดลง 5% มาอยู่ที่ 423 บาท/ MMBtu แต่ลดลง YoY จาก 29.2% ใน 2Q21 เพราะราคาก๊าซธรรมชาติที่พุ่งขึ้นเท่าตัว
คาดผลประกอบการแตะยอดสูงใน 3Q22
- คาดกำไร 3Q22 โต QoQ และแตะยอดสูงรายไตรมาสของปี หนุนจากช่วง high season สำหรับโรงไฟฟ้าพลังน้ำทั้งในส่วนของ XPCL และ NN2 คาดว่าการปรับเพิ่มค่า Ft จะบรรเทาผลกระทบจากต้นทุนก๊าซที่สูงขึ้นของ BIC ได้ และอาจช่วยกระตุ้นให้มีกำไรที่สูงขึ้น
คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 6.40 บาท
- คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 6.40 บาท คำนวณด้วยวิธี DCF (7.6% WACC, 1% TG) อิง 24.6 PE23E คาดว่าช่วง high season สำหรับโรงไฟฟ้าพลังน้ำใน 3Q22 จะกลายเป็นปัจจัยบวกสำคัญต่อทิศทางราคาหุ้น
- กำไรสุทธิ 2Q22 อยู่ที่ 864 ล้านบาท (+22% YoY, +>100% QoQ) สอดคล้องกับคาดการณ์ โดยการเติบโต QoQ ได้แรงหนุนจาก 1) ส่วนแบ่งกำไรที่โตขึ้นจาก -3 ล้านใน 1Q22 เป็น 772 ล้านบาทใน 2Q22 จากช่วง high season สำหรับโรงไฟฟ้า XPCL ขนาด 1.28GW และ 2) ปริมาณขายไฟฟ้าที่สูงขึ้น 18%QoQ จากโครงการ NN2 อันเป็นผลจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่สูงขึ้น ส่วนการเติบโต YoY เป็นผลจากส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนใน XPCL ที่สูงขึ้น 45% YoY เพราะเป็นช่วง high season นับว่าช่วยชดเชยอัตรากำไรที่ลดลงในโรงไฟฟ้า SPP อย่าง BIC ที่มีสาเหตุมาจากต้นทุนก๊าซที่สูงขึ้น
- รายได้โตเป็น 2.5 พันล้านบาท (+16% YoY, +4.7% QoQ) การเติบโต YoY และ QoQ ได้แรงหนุนจากรายได้การขายไฟฟ้าของ BIC ที่สูงขึ้นได้ อานิสงส์จากการปรับเพิ่มค่า Ft ที่ช่วยชดเชยต้นทุนก๊าซที่สูงขึ้นได้
- GPM ใน 2Q22 ปรับดีขึ้น QoQ เป็น 18.1% จาก 14% ใน 1Q22 จากต้นทุนก๊าซที่ลดลงมาอยู่ที่ 423 บาท/MMBtu ใน 2Q22 จาก 442 บาท/MMBtu ใน 1Q22 แต่ GPM ลดลง YoY จาก 29.2% ใน 2Q21 เพราะราคาก๊าซธรรมชาติที่พุ่งขึ้นเท่าตัว
- ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมปรับดีขึ้นทั้ง YoY และ QoQ เป็น 772 ล้านบาท (45% YoY, +>100% QoQ) หนุนจากช่วง high season สำหรับกิจการโรงไฟฟ้าพลังน้ำของ XPCL
- กำไรสุทธิ 1H22 คิดเป็น 44% ของประมาณการทั้งปี โดยยังคงประมาณการเดิม เพราะคาดว่าบริษัทจะบรรลุเป้าหมายที่เหลืออีก 56% ได้ใน 2H22 หนุนจากการผลิตไฟฟ้าของ XPCL ที่สูงกว่าคาด เพราะปัจจัยตามฤดูกาลและปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำของ NN2 ที่สูงขึ้น
Revenue breakdown
บริษัทมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจำนวน 1.0GWe ในพอร์ตโฟลิโอ ทั้งที่ดำเนินงานในทางตรงและทางอ้อม ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ก๊าซธรรมชาติ และพลังแสงอาทิตย์
ในปี 2021 รายได้จากการขายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าก๊าซคิดเป็น 58% ของรายได้รวม จากโรงไฟฟ้าพลังน้ำคิดเป็น 40% ของรายได้รวม พลังงานแสงอาทิตย์คิดเป็น 2% ของรายได้รวม
นอกจากนี้บริษัทยังได้ลงทุนถือหุ้นอยู่ในบริษัทร่วมอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศรวม 550MWe (คิดเป็น 54% จากทั้งหมด 1.0GWe) โดยในปี 2021 รายได้ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมและกิจการร่วมค้าที่บริษัทรับรู้กำไรเข้ามานั้นมีถึง 1.5 พันล้านบาท