บล.พาย:

AWC: บมจ. แอสเสท เวิรด์ คอร์ป “กำลังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป”

คงคำแนะนำ “ถือ” ปรับเพิ่มมูลค่าพื้นฐานจาก 4.50 บาท เป็น 5.40 บาท คาดกำไร 2H22 โตแข็งแกร่งจาก 1H22 และฐานต่ำในปีก่อน ด้วยแรงหนุนจากพอร์ตที่มีแต่ธุรกิจโรงแรมในไทย โดยเฉพาะกลุ่ม MICE และโรงแรมในกรุงเทพฯ (60% ของรายได้ช่วงก่อนเกิดโควิด-19) ส่วนอัตราการเข้าพักใน 2Q22 ก้าวกระโดดเป็น 42% และ 48% จาก 32% และ 35% ใน 1Q22 ตามลำดับ แต่อัตรารายได้เฉลี่ยต่อห้องพักต่อคืน (RevPar) คิดเป็นสัดส่วนเพียง 50% ของช่วงก่อนโควิด-19 ถือว่ายังฟื้นตัวช้ากว่าหุ้นโรงแรมอื่นในไทย ส่วนทางด้านธุรกิจค้าปลีกและพาณิชย์ยังมีบทบาทในการขับเคลื่อน EBITDA ของกลุ่มบริษัท ขณะที่คาดว่าอัตราค่าเช่าจะกลับสู่ระดับก่อนโควิด 19 ได้ภายใน 2H23 ทั้งนี้ AWC เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีศักยภาพการเติบโต ด้านกำไรที่สูงที่สุดในกลุ่ม (คาดโตเฉลี่ยต่อปีที่ +41% ในช่วงปี 2023-26) เพราะจะเพิ่มโรงแรมที่ตัวเองเป็นเจ้าของอีกราว 12 แห่งเข้าพอร์ต แต่ทั้งนี้ ต้องแลกกับราคาหุ้นที่ค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรม

กำไรปกติ 2Q22 สะท้อนสัญญาณการฟื้นตัวที่ดี

  • กำไรสุทธิ 2Q22 อยู่ที่ 776 ล้านบาท หากไม่รวมกำไรพิเศษจากการปรับมูลค่าสินทรัพย์ บริษัทจะมีผลขาดทุนสุทธิที่ 382 ล้านบาท นับเป็นขาดทุนที่น้อยที่สุดในช่วง 9 ไตรมาส โดยการฟื้นตัวครั้งนี้ได้แรงหนุนจากรายได้ธุรกิจโรงแรม (+ 284%YoY +37%QoQ) ที่โตแตะ 1.3 พันล้านบาท หลังจากมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยที่เพิ่มเป็น 43% จาก 35% ใน 1Q22 และ 16% ใน 2Q21 ขณะที่รายได้จากธุรกิจค้าปลีกและอาคารสำนักงานก็โตขึ้นเป็น 753 ล้านบาท (+9%YoY, +2%QoQ)
  • อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) แตะจุดสูงรอบ 9 ไตรมาสที่ 40.2% หนุนจากรายได้ที่โตแตะจุดสูงรอบ 9 ไตรมาสที่ 2.0 พันล้านบาท ขณะที่อัตราส่วนค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A) ต่อยอดขายลดลงสู่จุดต่ำรอบ 6 ไตรมาส

ประโยชน์จากอุปสงค์กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติและในประเทศ

ธุรกิจโรงแรมมี EBITDA ในแดนบวกเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกันนับตั้งแต่ต้นปี 2022 โดยคาดว่าผลประกอบการธุรกิจโรงแรมจะพลิกเป็นกำไรสุทธิได้ภายใน 4Q22 เมื่อ RevPar แตะ 65%-70% ของช่วงก่อนเกิดโควิด-19 (50% ใน 2Q22) ซึ่งคาดว่าจะได้รับแรงหนุนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติชาเข้าในระดับอย่างน้อย 1.5 ล้าน คน/เดือน (1.1 ล้านคน/เดือนในเดือน ก.ค. 2022) และอุปสงค์สะสมจากกลุ่มนักท่องเที่ยวในประเทศ ทั้งนี้ คาดว่าจะทางการจะออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มเติมหลังจากดำเนินโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5″ ไปเมื่อเดือน ก.ค. 2022

คงแผนการขยายกิจการตามเดิม

บริษัทเปิดให้บริการโรงแรมหรู “มี เลีย เชียงใหม่” ขนาด 270 ห้องในช่วงต้น 2Q22 และคาดว่าจะเปิดโรงแรมใหม่อีก 2 แห่งขนาดรวม 328 ห้องในช่วง 2H22 ซึ่งจะทำให้จำนวนห้องในพอร์ตภายในสิ้นปี 2022 เพิ่มเป็น 5,539 ห้อง (+12%YoY) ส่วนแผนการระยะยาว บริษัทจะเพิ่มโรงแรมเข้าพอร์ตอีกอย่างน้อย 12 แห่งในช่วง 4 ปี ข้างหน้า ซึ่งจะทำให้บริษัทกลายเป็นหนึ่งในเครือข่ายธุรกิจโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดในไทย (ไม่รวมโรงแรมราคาประหยัด)

คงคำแนะนำ “ถือ” มูลค่าพื้นฐานที่ 5.40 บาท คำนวณด้วยวิธีคิดลดเงินสด (DCF) หรืออิง 77XPE’24E ค่าพรีเมี่ยมนี้สะท้อนภาพรวมการเติบโตของกำไรที่โดดเด่นเหนือคู่แข่ง ด้วยคาดการณ์การเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 41% ในช่วงปี 2023-26

สรุปผลประกอบการ

  • กำไรสุทธิ 2Q22 อยู่ที่ 776 ล้านบาท หากไม่รวมกำไรพิเศษจากการปรับมูลค่าสินทรัพย์ บริษัทจะมีผลขาดทุนสุทธิที่ 382 ล้านบาท นับเป็นขาดทุนที่น้อยที่สุดในช่วง 9 ไตรมาส
  • โดยการฟื้นตัวครั้งนี้ได้แรงหนุนจากรายได้ธุรกิจโรงแรม (+284%YoY +37%QoQ) ที่โตแตะ 1.3 พันล้านบาท หลังจากมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยที่เพิ่มเป็น 43% จาก 35% ใน 1Q22 และ 16% ใน 2Q21 ขณะที่รายได้จากธุรกิจค้าปลีกและอาคารสำนักงานก็โตขึ้นเป็น 753 ล้านบาท (+9%YoY +2%QoQ)
  • GPM แตะจุดสูงรอบ 9 ไตรมาสที่ 40.2% หนุนจากรายได้ที่โตแตะจุดสูงรอบ 9 ไตรมาสที่ 2.0 พันล้านบาท ขณะที่อัตราส่วน SG&A ต่อยอดขายลดลงสู่จุดต่ำรอบ 6 ไตรมาสที่ 37.3% (41.1% ใน 1Q22 และ 65.5% ใน 2Q21)
  • EBITDA อยู่ที่ 477 ล้านบาท (+67%QoQ) ถือว่าอยู่ในแดนบวกติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3

ปรับประมาณการกำไร

ปรับลดประมาณการกำไรปกติปี 2022 เป็นขาดทุนสุทธิ 383 ล้านบาทจากกำไร 69 ล้านบาท สืบเนื่องจากค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่สูงกว่าคาด หลังจากกลับมาเปิดให้บริการโรงแรมอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยเหตุนี้จึงปรับลดสมมติฐาน GPM ปี 2022 ลงเป็น 40.3% จาก 42.6% ขณะที่เพิ่มอัตราส่วน SG&A ต่อยอดขายเป็น 32.5% สำหรับปี 2022 ทั้งยังปรับลดกำไรปี 2023 ลง 41% เป็น 1.0 พันล้านบาทด้วยสาเหตุเดียวกัน

Revenue breakdown

  • กลุ่มธุรกิจโรงแรมมีสัดส่วน 42% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย 4 ประเภทหลัก คือ: MICE (การประชุม การท่องเที่ยว การสัมมนา การจัดนิทรรศการ) โรงแรมในเมืองในกรุงเทพ, โรงแรมที่อยู่นอกกรุงเทพ และรีสอร์ทระดับหรู
  • บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารสำนักงานให้เช่าแก่ผู้เช่ารายย่อย โดยบริษัทเปิดให้บริการอาคารพาณิชย์จำนวน 4 แห่งใน กรุงเทพมหานครประกอบด้วย Empire Tower, Athenee Tower, 208 Wireless Road Building และ Interlink Tower ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 39% ของรายได้ทั้งหมด
  • พื้นที่ให้เช่าเพื่อค้าปลีกคิดเป็นสัดส่วน 19% ของรายได้ทั้งหมด บริษัทพัฒนาและดำเนินงานห้างสรรพสินค้าชุมชน แหล่งท่องเที่ยวเชิงไลฟ์สไตล์ และตลาดชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ
- Advertisement -