สรุปภาวะตลาด
วันอังคารที่ผ่านมา ดัชนีรีบาวด์กลับหลังตลาดรับข่าวร้ายการเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว จึงทำให้ตลาดมีความผ่อนคลายมากขึ้น สอดคล้องกับตลาดในภูมิภาคที่ปรับตัวขึ้น 0.5-0.75% ขณะที่แรงซื้อมาจากกลุ่มธนาคารและพลังงานส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,639.45 จุด +12.93 จุด +0.79% มูลค่าการซื้อขาย 68,513 ลบ. ต่างชาติ +2,056 ลบ. TFEX +27,993 สัญญา ตราสารหนี้ +52,187 ลบ.
ปัจจัยบวก+
+ ผลสำรวจของ Conference Board ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 103.2 ในเดือนส.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 97.7 จากระดับ 95.3 ในเดือนก.ค.
+ รองนายกรัฐมนตรีรัสเซียคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจรัสเซียจะหดตัวลงไม่ถึง 3% ในปีนี้ ซึ่งดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ขณะเดียวกันคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้เช่นกัน
+ กระทรวงการคลังจีนเปิดเผยว่า จีนจะใช้มาตรการกระตุ้นอุปสงค์ รวมทั้งสร้างเสถียรภาพด้านเงินเฟ้อและการจ้างงานในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ
+/- ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ ป่วยรายใหม่รักษาในรพ. 765 ราย มีผู้เสียชีวิต 28 ราย รักษาหาย 1,917 ราย
ปัจจัยลบ –
– ดัชนีดาวโจนส์ปิดร่วงลง 308.12 จุด หรือ -0.96% หลังสหรัฐเผยตัวเลขการเปิดรับสมัครงานสูงกว่าคาดการณ์ โดยตัวเลขการเปิดรับสมัครงานเพิ่มขึ้น 200,000 ตำแหน่ง สู่ระดับ 11.24 ล้านตำแหน่งในเดือนก.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 10.3 ล้านตำแหน่ง ส่วนอัตราการเปิดรับสมัครงานดีดตัวสู่ระดับ 6.9% ซึ่งทำให้นักลงทุนวิตกกังวลว่าเฟด อาจจะใช้ข้อมูลดังกล่าวเป็นอีกหนึ่งในเหตุผลของการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ดิ่งลง 5.78 ดอลลาร์ หรือ 5.5% ปิดที่ 99.31 ดอลลาร์/บาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลกอาจส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันชะลอตัวลง นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดัน จากข่าวที่ว่าอิรักพร้อมที่จะเพิ่มการส่งออกน้ำมันดิบไปยังยุโรป
– EU เตรียมจัดการประชุมฉุกเฉินในวันที่ 9 ก.ย.เพื่อหารือเกี่ยวกับวิกฤตพลังงานในยุโรป ทั้งนี้ ก๊าซพรอมซึ่งเป็นบริษัทพลังงานรายใหญ่ของรัสเซีย ประกาศลดการจัดส่งก๊าซให้แก่ฝรั่งเศส
– ธ.ก.ส.กางตัวเลขเกษตรกรไทยขึ้นบัญชีหนี้เสียพุ่ง 10% ผลจากสารพัดปัญหา ทั้งต้นทุนสูง เงินเฟ้อ ค่าใช้จ่ายเพิ่มสวนทางรายได้ลด คาดศักยภาพชำระหนี้ลดลงกว่าปกติต่ออีก 2 ปี เคาะมาตรการยืดอายุหนี้-ลดดอกเบี้ย 30-50%
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีในวันนี้มีโอกาสอ่อนตัวลงตามทิศทางตลาดต่างประเทศ โดยถูกกดดันจากความวิตกกังวลว่าเฟด อาจจะ เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ประกอบกับราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับตัวลงแรงกดดันหุ้นกลุ่มพลังงาน มองกรอบดัชนีในวันน้ีที่ 1,620-1,645 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- ผู้ป่วยต่างชาติเพิ่มขึ้น: BH BDMS D
- โครงการคนละครึ่งเฟส 5: TNP KK BJC MAKRO CBG OSP TKN ICHI SAPPE
- MSCI Global Standard เพิ่มหุ้นเข้าคำนวณ มีผล 31 ส.ค.: KBANK
- ผลประกอบการหุ้นกลุ่มโรงแรมเร่ิมฟื้นตัว+ขยายวีซ่านักท่องเที่ยว: MINT ERW CENTEL AWC SHR
- วิกฤตพลังงานยุโรป: PRM VL BANPU LANNA PTTEP
- แอปเปิล ประกาศจัดอีเวนต์ 7 ก.ย.เปิดตัว iPhone 14: CPW SPVI COM7 SYNEX JMART
หุ้นรายงานพิเศษ
WHA บริษัทปรับเพิ่มเป้ายอดขาย
(ราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus 4.20 บาท)
- 2Q65 บริษัทมีกำไรสุทธิที่ระดับ 289.6 ล้านบาท ลดลง 56%QoQ มีสาเหตุหลักมาจากรายได้อื่นที่ลดลง 394 ล้านบาท เนื่องจาก 1Q65 มีกำไรจากการจำหน่ายทรัพย์สินของธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ (Data Center) 2 แต่กำไรสุทธิยังเพิ่มขึ้น +11%YoY โดยเกิดจากรับรู้รายได้จากการขายที่ดินที่เพิ่มขึ้น จากยอดขายในประเทศ ประกอบกับรายได้ธุรกิจสาธารณูปโภคที่ปรับตัวดีขึ้นเป็นหลัก
- แนวโน้มผลประกอบการ 2H22 ยังเติบโตได้ดี โดยเบื้องต้นคาดว่า ในช่วงที่เหลือของ 3Q65 จะมีการเซ็นสัญญาซื้อขายที่ดินกับลูกค้ารายใหญ่ขนาดหลายร้อยไร่เข้ามาได้เพิ่มเติม ทั้งนี้ บริษัทได้มีการปรับเพิ่มเป้ายอดขายปี 65 ใหม่เป็นมากกว่า 1,650 ไร่ (แบ่งเป็นยอดขายในไทย 1,400 ไร่ และเวียดนาม 250 ไร่) จากเดิมที่วางไว้ 1,250 ไร่ ปัจจัยสนับสนุนหลักๆ เป็นผลมาจากการเปิดประเทศทำให้ลูกค้าสามารถเดินทางเข้าไทยได้สะดวกมาก ยิ่งขึ้น
- ความเห็น : เรามีมุมมองบอกต่อผลประกอบการปี 65 โดย บริษัทมีโอกาสได้รับอานิสงส์จากความขัดแย้งระหว่างประเทศ จีนกับสหรัฐอเมริกา และไต้หวัน อาจทำให้ผู้ประกอบการวางแผนที่จะเคลื่อนย้ายฐานทุนและฐานการผลิตออกไปยังประเทศอื่นๆ ซึ่งคาดว่ากลุ่มประเทศที่จะได้รับอานิสงส์ดังกล่าว คงไม่พ้นประเทศไทย เวียดนาม และอินโดนีเซีย
หุ้นมีข่าว
(+) CHAYO (Bloomberg Consensus 14.30 บาท) เผยธุรกิจซื้อหนี้ยังมี TOR รอประกาศผล 4.9 หมื่นล้านบาทและ TOR ใหม่ที่จะทยอยเปิดอีก 3 หมื่นล้านบาทในช่วงที่เหลือของปีนี้มั่นใจสิ้นปี 2565 ซื้อหนี้ใหม่ เข้าเป้า 1.5 หมื่นล้านบาท จ่อปิดดีลขาย NPA 2 แปลง มูลค่ารวมกว่า 170 ล้านบาท คาดไม่เกินปลายไตรมาส 3/2565 ได้ข้อสรุปอย่างน้อย 1 ราย ด้านปล่อยสินเชื่อขยายตัวดียอดพุ่ง 520 ล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)
(+) APCO (Bloomber Consensus – บาท) รับอานิสงส์เทรนด์รักสุขภาพ ส่งอาหารเสริมชะลอวัย “มายไลฟ์100” ทำตลาดเต็มสูบ ดีเดย์เปิดตัวเดือนตุลาคมนี้ วางเป้าปีแรกยอดผู้ใช้แตะ 2 หมื่นราย หนุนรายได้ปี 2566 โตก้าวกระโดด แถมแตกไลน์ลุยโปรดักต์รักษาสัตว์เลี้ยงรับทรัพย์เพิ่ม ระบุซุ่มดีลพาร์ตเนอร์สิงคโปร์ บุกแพลตฟอร์ม “อเมซอน” ขยายฐานออนไลน์เพิ่ม พร้อมชูครึ่งหลังปี 2565 ฟอร์มแจ่ม ออเดอร์เรียงคิวเพียบ (ที่มา ทันหุ้น)
(+) PRAPAT (Bloomberg consensus – บาท) น้ำยาฆ่าเชื้อฮอต ยอดสั่งซื้อเรียงคิวเข้าเพียบ คาดไตรมาส 4/2565 พีค รับอานิสงส์ท่องเที่ยวคึกคัก “วีระพงค์ ลือสกุล” สั่งลุยเจาะภูเก็ต พัทยา หัวหิน การันตีรายได้ปีน้ีเข้าเป้าโต 15-20% เร่งเครื่องดันมาร์จิ้น คุมต้นทุน สต๊อกวัตถุดิบ (ที่มา ทันหุ้น)
(+) GFPT (Bloomberg consensus 19.00 บาท) มั่นใจผลงานครึ่งปีหลังโตต่อเนื่องตามดีมานด์ลูกค้าหลักในญี่ปุ่นและยุโรป จ่อรับออเดอร์ไก่สดแช่แข็งจากซาอุดีอาระเบีย และจีนเพิ่มขึ้น มองราคาขายเนื้อไก่ทรงตัวสูง ด้านต้นทุนข้าวโพด-ถั่วเหลืองทยอยปรับตัวลดลง หนุนมาร์จิ้นเฉลี่ย 14- 15% ย้ำยอดขายทั้งปีโต 15% ตามเป้า (ที่มา ทันหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- 31 ส.ค. สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีอุตสาหกรรม ธปท. รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
- 6 ก.ย. การประชุมครม. คาดคณะกรรมการไตรภาคี จะเสนอพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2565
- 29 ก.ย. ประชุมกนง.ครั้งต่อไป
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 31 ส.ค. จีน รายงานดัชนี PMI ภาคการผลิต-ภาค บริการเดือนส.ค.
- สหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานภาคเอกชน และ สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์
- 1 ก.ย. จีนรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิต ส.ค.
- อียูรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายส.ค.
- สหรัฐรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ดัชนี PMI ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือน ส.ค. ดัชนีภาคการผลิตเดือนส.ค. และการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือนก.ค.
- 2 ก.ย. อียูรายงานดัชนีราคาผู้ผลิต PPI เดือนก.ค.
- สหรัฐรายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ส.ค. และยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนก.ค.
- 3 ก.ย. จีนรายงานดัชนี PMI ภาคบริการเดือนส.ค.
- อียูรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตขั้นสุดท้าย เดือนส.ค. ดัชนี PMI ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือน ส.ค. และยอดค้าปลีกเดือนก.ค. 20-21 ก.ย. ประชุม FED