Trading Range: ไม่ไปไหนไกล 1625-1650
PICKS OF THE DAY
SCB BUY
- ได้ประโยชน์จากทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น
- ปัจจัยพื้นฐานดีขึ้นต่อเนื่อง
TNP BUY
- รับโครงการคนละครึ่ง
- กำไร 2H65 คาดดีขึ้น h-h
ตลาดหุ้นวันนี้
- ไม่ไปไหนไกล: แนวโน้มตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดแกว่งตัวออกข้างในกรอบ 1625-1650 จุด โดยมองการย่อตัวลงก่อนตามแรงกดดันจากราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ร่วงลงวานนี้มากกว่า 5% รวมถึงประเด็นข่าวการที่จีนสั่งปิดเมืองเซินเจิ้น ซึ่งเป็นเมืองผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกจนถึงวันที่ 3 ก.ย. น่าจะยังคงกดดัน Sentiment ลงทุนในภูมิภาค หากแต่จะมีปัจจัยบวกช่วยประคับประคองการย่อตัวได้จากการกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติวานนี้กว่า 2 พันล้านบาท หลังการขายสุทธิต่อเนื่องในช่วง 2 วันทำการก่อนหน้า อย่างไรก็ดี ในช่วงท้ายตลาดอาจต้องระวังความผันผวนที่จะเข้ามาจากการปรับน้ำหนัก MSCI ที่จะมีผลคำานวณจากราคาปิดในวันนี้
- กลยุทธ์การลงทุน: เน้นหุ้นในกลุ่ม 1) Anti-commodity เช่น BGRIM, SCC 2) หุ้นธนาคาร หลังสมาคมธนาคารส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย เช่น KBANK, SCB, BBL, KKP 3) หุ้นเปิดเมืองท่องเที่ยว/ค้าปลีก รับคนละครึ่งในวันพรุ่งนี้ เช่น TNP, CPALL, KK, MINT
- น้ำมันโลกพลิกกลับมาดิ่งหนัก: ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดดิ่งลง 5.54% มาที่ 91.65 ดอลลาร์/บาร์เรล ท่ามกลางความกังวลว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลกจะนำไปสู่ความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลง อีกทั้งข่าวการที่อิรัก พร้อมเพิ่มการส่งออกน้ำมันในยังสหภาพยุโรป และแหล่งข่าวเผยอิหร่านอาจกลับมาส่งออกพลังงานเพิ่ม หลังสามารถบรรลุข้อตกลงนิวเคลียกับทางสหรัฐฯ ได้ร่วมซ้ำเดิมภาพรวมราคาน้ำมัน และน่าจะกดดันหุ้นกลุ่มพลังงานในวันนี้
- ธนาคารอาจขึ้นดอกเบี้ย กลุ่ม Bank น่าสนใจ: วานนี้ประธานสมาคมธนาคารเผยอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหากการ ประชุม กนง.ในวันที่ 28 กันยายน นี้ มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% ทางฝ่ายมองว่าข่าวดังกล่าวทำให้กลุ่มธนาคารกลับมาน่าสนใจอีกครั้งตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น พร้อมๆ กับภาพการฟื้นตัวของภาคการบริโภคและท่องเที่ยวจะเป็นอีกปัจจัยหนุนการเติบโต
- FED ขึ้นดอกเบี้ยแน่ หลังตัวเลขเศรษฐกิจดี: วานนี้ตัวเลข JOLTs Job Opening (Jul) และ CB Consumer Confidence (Aug) สหรัฐออกมาในทิศทางที่ดีกว่าคาดทั้งคู่ ทำให้ตลาดกลับมากังวลในท่าทีของเฟดที่อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากตลาดเริ่มบ่งชี้ถึงความสามารถในการแบกรับภาระทางการเงิน ทางฝ่ายมองการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดรอบนี้อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ หลังการส่งสัญญาณในเชิง Hawkish มากขึ้นของประธานเฟดในช่วงที่ผ่านมา
- ประเด็นน่าจับตา: 1) 31 ส.ค. ตัวเลข PMI ภาคการผลิตและบริการเดือนส.ค. ของจีน และ 2) 5 ก.ย. การประชุม OPEC+