Daily Focus: Domestic and Value Play
2022SET Target: 1670
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index แกว่งตัวผันผวนระหว่างวันสลับในแดนบวกและลบกรอบ 1,630-1,645 จุด ก่อนที่จะปิดทรงตัว มูลค่าการซื้อขายหนาแน่นถึงเกือบ 1 แสนลบ.โดยมีแรงหนุนช่วงปิดตลาดจาก MSCI Rebalance ซึ่งไทยถูกเพิ่มน้ำหนัก ส่งผลให้สถานะของนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหนาแน่น 3.2 พันลบ. ขณะที่สถาบันในประเทศยังขายสุทธิ 2.2 พันลบ. (ต่างชาติยัง Long Index Futures อีก 7.5 พันสัญญา)
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index ยังอยู่ในช่วงแกว่งพักตัวโดยมีแนวรับที่ 1,625 1,630 จุด บรรยากาศการลงทุนทั่วโลกยังกดดันจากความกังวล Recession ในฝั่งตะวันตกและการขึ้นดอกเบี้ยของ FED ทำให้เม็ดเงินยังไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยง ราคาน้ำมันดิบยังปรับตัวลงต่ออีก 2% กดดันกลุ่มพลังงานระยะสั้นอย่างต่อเนื่อง ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนเดือน ส.ค. ของสหรัฐฯ ชะลอเหลือ 1.3 แสนตำแหน่งจากเดือนก่อนที่ 2.7 แสนตำแหน่ง และต้องติดตามตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรคืนวันศุกร์ ซึ่งตลาดคาดชะลอเช่นกัน ตัวเลขเงินเฟ้อยูโรโซนเดือน ส.ค. +9.1% Y-Y ยังคงทำ New High ส่วนสหรัฐฯ จะประกาศเงินเฟ้อ CPI วันที่ 13 ก.ย. หากสูงกว่าคาดจะกดดันสินทรัพย์เสี่ยงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เรายังคาดว่า SET Index จะพักไม่รุนแรงเท่า โดยยังมีปัจจัยผลักดันจากเศรษฐกิจขาขึ้นและกระแสเงินทุนไหลเข้า เราคาดหุ้น Domestic และ Value Play ที่ PER ไม่สูงเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีตจะยัง Outperform ส่วนจังหวะพักตัวของดัชนีลงหา 1,580-1,600+- จุด เรามองเป็นจังหวะสะสม
กลยุทธ์ : ลงทุนใน Domestic และ Value Play // รอสะสมหุ้นช่วงปรับฐาน 1,580-1,600+- จุด
หุ้นเด่นเดือน ก.ย. : CPN, KTB, M, PRM, TU
หุ้นเด่นวันนี้ : CENTEL
- แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายจาก FSSIA 49 บาท
- แนวโน้มผลการดำเนินคาดมีกำไรต่อเนื่องและเร่งขึ้นใน 3Q22 จากทั้ง Occ Rate และ ADR ของธุรกิจโรงแรมที่ปรับขึ้นนำโดยไทย หลังเปิดประเทศเต็มรูปแบบ ขณะที่ธุรกิจอาหารมี SSSG เป็นบวกต่อเนื่องจากการ Dine-In และวันหยุดที่มาก
- การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำคาดกระทบจำกัด และเชื่อว่าชดเชยได้จากการปรับราคาขาย เรายังคาดปี 2022 จะพลิกมีกำไรในรอบ 3 ปี และเร่งตัวแรง +249% Y-Y ในปี 2023 กลับไปสูงกว่าปี 2019
- แนวรับ 42//40 บาท แนวต้าน 44-45 บาท
Fund Flow : วานนี้กระแสเงินทุนพลิกมาไหลเข้าภูมิภาค US$705 ล้าน แต่กระจุกตัวที่เกาหลีใต้ US$602 ล้าน ไต้หวันพลิกมาไหลเข้าบางๆ ขณะที่อาเซียนเม็ดเงินไหลเข้าไทยเพียงประเทศเดียว US$87 ล้านจาก MSCI Rebalance อย่างไรก็ตาม แนวโน้มของกระแสเงินทุนมีโอกาสพลิกมาไหลออกอีกครั้ง จากความกังวล Recession ในฝั่งสหรัฐฯ เม็ดเงินไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยงต่อเนื่อง
ประเด็นสำคัญวันนี้
(+) กลยุทธ์การลงทุนเดือน ก.ย. เราประเมินกรอบการเคลื่อนไหวที่ 1,600-1,670 จุด แม้ตลาดหุ้นทั่วโลกจะถูกกดดันจากถ้อยแถลงของ FED ที่ Hawkish มากขึ้น แต่เรามองกระทบหุ้นไทยน้อยกว่า และยังคงให้น้ำหนักกับเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัว ขณะที่ราคาน้ำมันดิบที่มีแนวโน้มปรับตัวขึ้น คาดว่ายังหนุนกลุ่มพลังงาน ซึ่งเป็น Sector ใหญ่ของตลาด ทำให้การพักตัวคาดไม่รุนแรง กลยุทธ์เรายังเน้นลงทุนในกลุ่ม Domestic และ Reopening Play โดยเฉพาะที่ Valuation ยัง Laggard จาก SET Index ที่ฟื้นเร็วในช่วงกว่า 1 เดือนที่ผ่านมา Top Pick เดือนนี้ คือ CPN KTB M PRM TU
(+) ธปท.รายงานเศรษฐกิจเดือน ก.ค. การฟื้นตัวชะลอลงบ้างหลังจากเร่งแรงในช่วง 2Q22 ในฝั่งการบริโภคและการส่งออก ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐหดตัว อย่างไรก็ตาม ภาคบริการยังฟื้นดีต่อเนื่องตามจำนวนนักท่องเที่ยวหลังยกเลิก Thailand Pass เงินเฟ้อทั่วไปเริ่มทรงตัว M-M แต่เงินเฟ้อพื้นฐานยังเร่งตัว ตลาดแรงงานทยอยดีขึ้น ขณะที่ค่าเงินบาทยังอ่อนตัวจากดอลลาร์ที่แข็งค่าและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากขึ้น ภาพรวมยังคงสอดคล้องกับที่เรา ประเมินและยังชอบกลุ่ม Domestic และ Reopening Play
(+) RBF คาดกำไร 2H22 จะทยอยฟื้นตัวจากคำสั่งซื้อที่ดีขึ้นทั้งกลุ่ม Food Coating และ Flavor & Fragrance ขณะที่ต้นทุนจะเริ่มปรับลงใน 4Q22 ส่วนปี 2023 บริษัทตั้งเป้าธุรกิจเดิมโต 15-20% แต่ยังไม่เปิดเผยเป้าหมายของธุรกิจใหม่ โดยเฉพาะอินเดียที่อยู่ระหว่างขยายตลาด และมีความเป็นไปได้ที่จะพิจารณาตั้งโรงงานในอินเดีย โดยตั้งเป้าสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศเพิ่มเป็น 30% จากสิ้น 2Q22 ที่ 21% ส่วน CBD ลูกค้าเริ่มกล้าออกสินค้ากันมากขึ้น คาดเริ่มเห็นรายได้เข้ามาใน 2H22 แต่ยังไม่มีนัยยะและต้องกระแสของตลาด เรายังคาด กำไรปี 2022-2023 +48% Y-Y และ +25% Y-Y ยังไม่รวมธุรกิจใหม่ ซึ่งจะเป็น Upside ต่อราคาเป้าหมายที่ 14 บาท แนะนำ “เก็งกำไร”
(-) ตลาดดาวโจนส์ 31,510.43 จุด ลดลง 280.44 จุด หรือ -0.88% นักลงทุนยังคงกังวลว่า FED จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
(-) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดลบ จากตัวเลขเงินเฟ้อยูโรโซนที่ระดับ 9.1% สูงสุดเป็นประวัติการณ์
(-) ตลาดหุ้นเอเชีย ปรับลง ตามตลาดหุ้นสหรัฐ
(-) ค่าเงินบาท อ่อนค่า อยู่ที่บริเวณ 36.66 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ลดลง 2.09 ดอลลาร์ หรือ -2.3% ปิดที่ 89.55 ดอลลาร์/บาร์เรล จากความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน จากมาตรการควบคุม Covid-19
(-) ราคาทองคํา COMEX ลดลง 10.1 ดอลลาร์ หรือ -0.58% ปิดที่ 1,726.2 ดอลลาร์/ออนซ์ จากความกังวลการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ FED
SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 973.36 / -2.90