บล.บัวหลวง:
Inter Pharma (IP TB / IPm.BK)
IP – Bottom fishing!
ราคาหุ้นย่อตัวลงมาหลังเราปรับลดคําแนะนําครั้งก่อน กอปรกับสะท้อนปัจจัยกดดันต่างๆ ของปีนี้ไปแล้ว เราจึงปรับเพิ่มคำแนะนำจากถือ ขึ้นเป็น ชื้อ พร้อมทั้งเลื่อนไปใช้ราคาเป้าหมายปี 2023 ที่ 22.8 บาท (อิง PEG 1 เท่า) มองปัจจัยบวกระยะสั้นหนุนราคาหุ้นจะมาจากกำไร 3Q22 กลับมาเติบโตแรงทั้ง YoY, QoQ รวมทั้งแผนธุรกิจที่น่าตื่นเต้นกว่าเดิม ช่วงปลายปี ความร่วมมือกับ ปตท. ที่เป็นรูปธรรมกลับมาหนุนราคาหุ้น และเปิด Upside ต่อประมาณการกำไรของเราและตลาดอีกครั้ง
กําไร 2Q22 ไม่ตื่นเต้น แต่เริ่มเห็นพัฒนาการรายได้เชิงบวก…
IP รายงานกำไรสุทธิ 2Q22 ที่ 30.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31% YoY และทรงตัว QoQ โดยรายได้จากการขายรวมอยู่ที่ 409 ล้านบาท เติบโต 106% YoY และ 51% QoQ จากการรวมรายได้ร้านขายยา (Lab Pharmacy: LP) เข้ามาซึ่งคิดเป็น 31% ของยอดขาย 2Q22 ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้น (GM) อยู่ที่ 37.4% ลง จาก 47.9% ใน 2Q21 (สัดส่วนสินค้าเป็นกลุ่มยามากขึ้น) และ 43.2% ใน 1Q22 (ต้นทุนเพิ่ม เช่น วัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์) ส่วน SG&A/sales ratio อยู่ที่ 29.4% ลดลง 340bps YoY (จากรายได้เพิ่ม) แต่เพิ่มขึ้น 152bps QoQ
…แนวโน้ม 3Q22 กลับมาเติบโตกระโดด YoY, QoQ มีลุ้น New high
แนวโน้มกำไร 3Q22 คาดเติบโตก้าวกระโดด YoY และ QoQ ทำสถิติสูงสุดใหม่ หนุนโดยรายได้ร้านขายยา LP เติบโตหลังคลายเกณฑ์ล็อคดาวน์ ออร์เดอร์ OEM จากเทวาเพิ่มขึ้นจาก 2Q22 ที่เป็น Low season รวมทั้งมีการปรับราคาสินค้าใหม่ให้สอดคล้องกับต้นทุน (มีผล 1 ก.ค.) ซึ่งจะช่วยให้ GM โดยเฉลี่ยกลับมาระดับ 40%+ และผลประกอบการของ Modern Pharma พลิกจากขาดทุน 5 ล้านบาทใน 2Q22 มาเป็นกำไรได้
ไตรมาส 4 คาดประกาศแผนระยะยาวใหม่ ที่รวม Synergy กลุ่ม ปตท.
ปัจจุบันบริษัท อินโนบิก แอลแอล โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ PTT เข้ามาเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง (PP) ถือหุ้นสัดส่วน 20% เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการทําแผนธุรกิจ 5-15 ปีร่วมกัน ภายใต้ Synergy ทั้ง 7 ด้านที่เคยแถลงข่าวไป (ติดตามในรายงานฉบับก่อนหน้า) จุดสำคัญ คือ ช่วงปลายปีนี้จะ ฃมีการเปิดเผยรายละเอียดที่ชัดเจน ซึ่งเราคาดว่าเป็น Upside ระยะยาวอีก 20-40% (ไม่น้อยไปกว่า Dilution Effect) จากแผนการเติบโตปี 2022-26 ของ IP ปัจจุบันที่เทียบเป็นรายได้เติบโตเฉลี่ย 41%/ปี CAGR ในระยะแรกคาดว่ามีโอกาสได้เห็นกลุ่ม ปตท. หรือ Lotus Pharmaceutical (บ. ยาที่ไต้หวัน ในกลุ่ม ปตท.) จ้าง IP ผลิตอาหารเสริมหรือยาบางรายการ การขยายร้านขายยา LP ในปั๊ม ปตท. ส่วนระยะยาวเน้นอัพเกรดเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงระดับโลก เพื่อเพิ่มยอดส่งออกไปในยุโรป สหรัฐฯ และญี่ปุ่นได้ นอกจากนี้ IP เองก็อยู่ระหว่างพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากใบกระท่อม ที่ยังรอความชัดเจนจาก อย.
ปรับคำแนะนำเป็นชื้อ และเลื่อนไปใช้ราคาเป้าหมายปี 2023
เราปรับคําแนะนําจากถือ เป็น ซื้อ โดยเราได้ปรับเลื่อนไปใช้ราคาเป้าหมายปี 2023 ที่ 22.80 บาท อิง PEG 1 เท่า เทียบประมาณการกำไรเติบโตเฉลี่ยที่ 36%/ปี CAGR ปี 2022-25 (อิงสมมติฐานรายได้ที่อนุกรักษ์นิยมกว่าเป้าหมายบริษัท) มอง Catalysts บวกจาก Upside ของ Synergy กลุ่ม ปตท. การออก ผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยเฉพาะสินค้าจากใบกระท่อม รวมทั้งหากภาครัฐปลดล็อคให้ผู้ป่วยโควิด-19 ซื้อยาฟาวิพิราเวียร์ และโมนูลพิราเวียร์ จากร้านขายยาเองได้
ความเสี่ยง
- ความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงกระแสความนิยมของผู้บริโภค และการคาดการณ์อุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ที่คลาดเคลื่อน
- ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวของรายได้จากผลิตภัณฑ์หลัก
- ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงผู้รับจ้างผลิตภายนอก
- ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงผู้กระจายสินค้ารายใหญ่
- ความเสี่ยงจากการบริหารสินค้าคงเหลือ
- ความเสี่ยงจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่ปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
- ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
- ความเสี่ยงจากการแข่งขันในตลาดผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม
.