บล.เอเซีย พลัส:

ชื้อ NEXIF ต่อยอดพลังงานทดแทน เพิ่มมูลค่า 4 บาท

จากการประชุมนักวิเคราะห์ ให้ความสำคัญไปที่การเข้าซื้อหุ้น NEJV ล่าสุด ซึ่งทำให้ได้กำลังการผลิตมาเพิ่มอีก 1.5 พันเมกะวัตต์ จากกำลังการผลิตของ RATCH ในปัจจุบันที่ 9.9 พันเมกะวัตต์ โดยหลักเป็นการเพิ่มพอร์ตพลังงานทดแทน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายบริษัท แต่เนื่องจากกำลังการผลิตส่วนใหญ่อยู่ในขั้นตอนการพัฒนา มีเพียง 450.5 เมกะวัตต์ ที่ COD แล้ว ดังนั้นคาดกำไรจากการลงทุนดังกล่าว จะอยู่ในลักษณะทยอยเพิ่มขึ้นจน COD ครบทุกโครงการภายใน 4 ปี ข้างหน้า

ฝ่ายวิจัยมีการปรับประมาณการกำไรตั้งแต่ปี 2566 ขึ้น แต่เนื่องจากข้อมูลที่บริษัทให้ค่อนข้างจำกัด ดังนั้นจึงต้องอิงกับสมมติฐานที่ฝ่ายวิจัยกำหนดขึ้น โดยให้ IRR ของทุกโครงการเฉลี่ยอยู่ราว 10-11% ส่งผลให้มูลค่าพื้นฐานสิ้นปี 2565 ใหม่อยู่ที่ 54 บาท/หุ้น (เดิม 50 บาท) แนะนำซื้อลงทุนจากการเติบโตของกำไรในระยะยาว แบบค่อยเป็นค่อยไป และปันผลสม่ำเสมอ ล่าสุดประกาศจ่ายปันผล 1H65 หุ้นละ 0.8 บาทต่อหุ้น คิดเป็น Dividend Yield ครึ่งปีที่ราว 1.8% (XD 9 ก.ย.65)

ชื้อ NEXIF คาดจะเพิ่มมูลค่าพื้นฐานเบื้องต้นราว 4 บาท/หุ้น ภายใต้สมมติฐานที่กําหนด

จากการประชุมนักวิเคราะห์ประเด็นสำคัญให้น้ำหนักไปที่การเข้าซื้อหุ้น Nexif Energy Holdings B.V. และ NXF Holdings 2 Limited (Nexif Energy Joint Venture – NEJV) ซึ่งเป็นผู้ถือสินทรัพย์ประเภทโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน โรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม และระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอรี่ใน 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย ออสเตรเลีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ในสัดส่วน 100% คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนจำนวน 605 ล้านเหรียญฯ หรือราว 2.15 หมื่นล้านบาท กำลังการผลิตรวมที่ 1.5 พันเมกะวัตต์ (1,515.8 MW – ออสเตรเลีย 818 เมกะวัตต์, เวียดนาม 353.6 เมกะวัตต์, ฟิลิปปินส์ 289.2 เมกะวัตต์ และไทย 55 เมกะวัตต์) ซึ่งแบ่งเป็น

1) โครงการที่ดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์แล้วในปัจจุบันจำนวน 450.5 เมกะวัตต์ (ออสเตรเลีย 366.0 เมกะวัตต์, เวียดนาม 34.5 เมกะวัตต์ และไทย 50.0 เมกะ วัตต์)

2) โครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างรวม 56.9 เมกะวัตต์ (ออสเตรเลีย 10.0 เมกะ วัตต์, เวียดนาม 25.1 เมกะวัตต์ และฟิลิปปินส์ 21.8 เมกะวัตต์) 3) โครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา 1.0 พันเมกะวัตต์ (ออสเตรเลีย 442.0 เมกะวัตต์ เวียดนาม 294.0 เมกะวัตต์, ฟิลิปปินส์ 267.4 เมกะวัตต์ และไทย 5.0 เมกะวัตต์)

สำหรับในส่วนของเงินลงทุนในการเข้าซื้อหุ้นครั้งนี้ที่ราว 2.15 หมื่นล้านบาท เบื้องต้นคาดจะมาจากการกู้ยืม และกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน รวมถึงเงินบางส่วนที่ได้จากการระดมทุน PPO (Preferential Public Offering) ที่แล้วเสร็จเรียบร้อย (อัตราส่วน 2 หุ้น เดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ที่ราคา 34.48 บาทต่อหุ้น) ได้เงินมาตามแผนราว 2.5 หมื่นล้านบาท (แบ่งการใช้เงินเป็นการคืนเงินกู้ 4.6 พันล้านบาท เป็นเงินทุนหมุนเวียน 1.9 พันล้านบาท และที่เหลืออีกราวหมื่นล้านบาท สำหรับการเข้าลงทุนในโครงการทั้งในและ 1.8 ต่างประเทศ) จึงคาดจะไม่กระทบฐานะการเงินของ RATCH แต่อย่างใด เพราะหากพิจารณาสัดส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุนของ RATCH ในปัจจุบันอยู่เพียง 0.24 เท่า

โดยการเข้าลงทุนดังกล่าวถือว่าสอดคล้องกับแผนการลงทุนของ RATCH ที่จะสามารถรับรู้รายได้เข้ามาทันทีหลังการซื้อหุ้นแล้วเสร็จ ส่งผลให้กำลังการผลิตของ RATCH เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 11,455.5 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันที่ 9,939.73 เมกะวัตต์ หรือเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนราว 15.2% ซึ่งคาดดีลนี้จะเสร็จสิ้นภายในงวด 4Q65 โดยสัดส่วนรายได้และกำไรที่สามารถรับรู้ได้ทันทีจะอยู่ที่ 450.5 เมกะวัตต์ ซึ่งโครงการหลักๆจะอยู่ในประเทศออสเตรเลีย ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานลม Lincoln Gap 1 และ Lincoln Gap 2 กำลังการผลิต 126 และ 86 เมกะวัตต์ (EBITDA ของโครงการลม Lincoln Gap 1 และ Lincoln Gap 2 อยู่ราว 500 750 ล้านบาท) รวมถึงมีโรงไฟฟ้า Gas-fired Snapper Point กำลังการผลิต 154 เมกะวัตต์ ช่วยทำให้ระบบมีความมั่นคงมากขึ้น โดยโครงการโรงไฟฟ้าส่วนใหญ่ของ Nexif ในออสเตรเลียยังเป็นลักษณะ merchant ขายเข้า pool ส่วนกลาง แต่ทั้งนี้บริษัทอยู่ระหว่างทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวรูปแบบ PPA ควบคู่ไปด้วย เพื่อเพิ่มเสถียรภาพของรายได้ให้มีความมั่นคงมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก RATCH ไม่ได้เปิดเผยถึงรายละเอียดรายได้และกำไรที่จะเกิดขึ้น สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าทุกแห่งของ NEJV ทำให้ฝ่ายวิจัยต้องประเมินกำไรเบื้องต้นจากการกำหนดสมมติฐาน IRR เฉลี่ยอยู่ราว 10-12% ของทุกโครงการ ทั้งโครงการที่ผลิตเชิงพาณิชย์แล้วจะอยู่ระหว่างการพัฒนา อัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมราว 2-3% และโรงไฟฟ้ามีอายุเฉลี่ย 15 ปี โดยน้ำหนักของกำไรจะอยู่ที่โครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา เพราะคิดเป็นสัดส่วนถึง 66.7% ของกำลังการผลิตที่ 1.5 พันเมกะวัตต์ ของ NRV ซึ่งยังต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนากว่าจะเริ่ม COD ได้ราว 1-4 ปี ข้างหน้า ดังนั้นคาดกำไรที่เพิ่มขึ้นในปี 2566 ที่ราว 400-500 ล้านบาท (หรือเพิ่มขึ้น 5-6% จากประมาณการเดิม) จะขึ้นสู่ระดับ 1.5-1.7 พันล้านบาท ตั้งแต่ปี 2570 เป็นต้นไป (หรือเพิ่มขึ้น 10-15% จากประมาณการเดิม) จากการทยอย COD จนครบทุกโครงการ ซึ่งฝ่ายวิจัยได้มีการปรับปรุงประมาณการดังกล่าว โดย อิงสมมติฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งหากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงมีการเปลี่ยนแปลงไปจากสมมติฐานที่กำหนดไว้ ฝ่ายวิจัยพร้อมที่จะทบทวนประมาณการอีกครั้ง จากข้อจำกัดของข้อมูลที่บริษัทเปิดเผยได้ในปัจจุบัน ซึ่งภายใต้ประมาณการใหม่ส่งผลให้มูลค่าพื้นฐานเบื้องต้นเพิ่มขึ้นอีกราว 4 บาทต่อหุ้น มาอยู่ที่ 54 บาทต่อหุ้น

ทั้งนี้การเข้าลงทุนในครั้งนี้ เป้าหมายของ RATCH นอกจากจะได้สินทรัพย์โรงไฟฟ้าที่มีแผนการผลิตเข้ามาอย่างแน่นอนแล้ว RATCH ยังเล็งเห็นถึงศักยภาพในระยะยาวในการร่วมกับ Nexif ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำผู้พัฒนาโครงการและลงทุนในธุรกิจด้านพลังงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในการแสวงหาโครงการลงทุนใหม่เพื่อขยายกำลังการผลิตในระยะยาว โดยในน้ำหนักที่จะเพิ่มสัดส่วนกำลังการผลิตจากพลังงานทดแทนให้ถึงเป้าหมายที่ 25.0% ภายในปี 2568 จากปัจจุบันที่ 18.8% (หรือราว 1,866.3 เมกะวัตต์ ส่วนที่เหลืออีกราว 81.1% หรือ 8,063.4 เมกะวัตต์ เป็นโรงไฟฟ้าประเภท Conventional)

ESG

Environment: มุ่งเน้นการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดโครงการสำคัญๆ ได้แก่ โครงการคนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน, โครงการพลังงานชุมชนและโครงการสนองพระราชดำริ อพ.สธ.

Social : มุ่งเน้นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้มีส่วนได้เสียและคนในสังคม มีโครงการสำคัญ ได้แก่ โครงการ @Careline เครือข่ายปันสุข โครงการการศึกษาเสริมทักษะสร้างอาชีพ สปป.ลาว กิจกรรมจิตอาสา เป็นต้น

Governance : กำหนดและทบทวน “นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของกลุ่มบริษัท” “จรรยาบรรณบริษัท” และ “นโยบายเกี่ยวกับผู้มีส่วนได้เสีย” ให้มีความสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน

RATCH แนะนํา ซื้อ

ราคาปัจจุบัน (บาท) 44.00

ราคาเป้าหมาย (บาท) 54.00

Upside (%) 22.7

Dividend yield (%) 4.5

- Advertisement -