บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง: 

Digital Telecommunications (DIF TB)

สัญญาเช่าระยะยาว อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูง 8%

เริ่มต้นคำแนะนำ “ซื้อ” DIF หุ้นปันผลที่จ่ายสม่ำเสมอ

DIF เป็นเจ้าของเสาโทรคมนาคมและโครงข่ายไฟเบอร์ที่ใช้ในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่และธุรกิจอินเตอร์เน็ตบ้าน โดยมีอายุสัญญาเช่าแบบถ่วงน้ำหนักตามรายได้เฉลี่ยเหลือ 17 ปี (เทียบกับ JASIF ที่เหลือ 8.2 ปี) จากสัญญาเช่าระยะยาว และผลตอบแทนเงินปันผลที่มั่นคงที่ประมาณ 8% ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป เราเริ่มต้นคำแนะนำ “ซื้อ” DIF ราคาเป้าหมาย (อิงวิธี DCF) ณ สิ้นปี 66 ที่ 14.80 บาท เราชอบ DIF มากกว่า JASIF (ราคาตลาด 8.70 บาท, คำแนะนำ “ถือ” ราคาเป้าหมาย 8.1 บาท) เนื่องจากสัญญาเช่าที่ยาวนานกว่า และ IRR ที่สูงกว่า (DIF 8.7% เทียบกับ JASIF 5.6%)

เจ้าของเสาโทรคมนาคมและโครงข่ายไฟเบอร์

DIF มีกรรมสิทธิ์ในโครงข่ายไฟเบอร์และเสาโทรคมนาคม โดยในปี 2564 รายได้จาก TRUE มีสัดส่วนคิดเป็น 96% ของรายได้ของ DIF ขณะที่จาก DTAC มีสัดส่วน 4% ทั้งนี้ TRUE ถือหุ้น 20.6% ใน DIF โดยมีบริษัท Telecom Asset Management ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ TRUE เป็นผู้บริหารจัดการสินทรัพย์ด้านโทรคมนาคมของ DIF ทั้งนี้ ในปี 2564 สัดส่วนรายได้จากโครงข่ายไฟเบอร์อยู่ที่ 67% ของรายได้รวม ขณะที่อีก 33% มาจากเสาโทรคมนาคม

TRUE ผู้เช่าระยะยาวของ DIF

TRUE มีสัญญาเช่าโครงข่ายไฟเบอร์กับ DIF จะหมดอายุในเดือนกันยายน 2586 ส่วนสัญญาเช่าเสาจะหมดอายุในเดือนกันยายน 2576 โดยอายุสัญญาเช่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักรายได้เหลืออีก 17 ปี (เทียบกับ JASIF ที่เหลือ 8.2 ปี) เราประเมิน IRR ที่ 8.7% สำหรับ DIF (เทียบกับ 5.6% สำหรับ JASIF) บนสมมติฐานว่า 1) TRUE จะขยายเวลาการเช่าโครงข่ายไฟเบอร์ไปอีก 5 ปี หลังจากสัญญาปัจจุบันหมดอายุในปี 2586 และ 2) TRUE จะเช่าเสาจาก DIF ไปตลอดการทำธุรกิจให้บริการมือถือ (0% TG ณ สิ้นปี 2607)

เริ่มต้นคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 14.80 บาท

เราเริ่มต้นบทวิเคราะห์ DIF ด้วยราคาเป้าหมาย (อิง DCF) ที่ 14.80 บาท (7.4% WACC) แนะนำ “ซื้อ” เพื่อรับผลตอบแทน 17% (เงินปันผล 7.7% ในปี 66 และอัพไซด์ 8.8% จากราคาเป้าหมาย) โดยอัพไซด์ที่ยังไม่ได้ใส่ในประมาณการ คือ การเช่าเสาและไฟเบอร์เพิ่มเติมจากบริษัทควบรวม TRUE และ DTAC ในระยะยาว (2-3 ปีนับจากนี้)

ความเสี่ยง คือ หาก TRUE ไม่ต่อสัญญาที่มีอยู่กับ DIF กรณีเลวร้ายที่สุดดังกล่าวจะส่งผลให้ IRR เหลือเพียง 3.9% (เทียบกับ IRR กรณีแย่ที่สุดของ JASIF ที่ 1.1%) และมูลค่ายุติธรรม 11.30 บาท (เทียบกับมูลค่า ยุติธรรม 6.30 บาท ของ JASIF ในกรณีเลวร้ายที่สุด)

- Advertisement -