บล.กรุงศรีฯ:
ENERGY SECTOR – วิกฤตพลังงานใน EU (POSITIVE)
EU มีแผนแทรกแซงตลาดพลังงานเพื่อคุมค่าไฟฟ้าที่พุ่งสูงขึ้น โดยจะชักส่วนแบ่งกำไรส่วนเกิน และกำหนดเพดานราคาก๊าซ อาจทำให้แยกการกำหนดราคาไฟฟ้าออกจากราคาก๊าซ และใช้แหล่งพลังงานอื่นที่มีราคาถูกกว่าแทน เราคาดว่าวิกฤติพลังงานใน EU จะช่วยหนุนถ่านหิน และน้ำมันดีเซลในฐานะเชื้อเพลิงที่ใช้แทนน้ำมันดีเซลในการผลิตไฟฟ้า
รัฐบาลจะเข้าแทรกแซงก่อนวิกฤติพลังงานในฤดูหนาว
EU มีแผนจะแทรกแซงตลาดพลังงานเพื่อคุมราคาที่พุ่งสูงขึ้น โดยจะมีการชักส่วนแบ่งกำไรส่วนเกิน และกำหนดเพดานราคาก๊าซ ซึ่งในระบบพลังงานของ EU ราคาขายส่งไฟฟ้าจกำหนดจากโรงไฟฟ้าแห่งสุดท้ายมีความต้องมีเพื่อตอบสนองอุปสงค์โดยรวม โดยโรงไฟฟ้าพลังงานลม นิวเคลียร์ ถ่านหิน และก๊าซ ต่างยื่นประมูลเข้ามาในตลาดพลังงาน โดยโรงไฟฟ้าที่ยื่นราคาต่ำสุดจะได้รับจัดสรรก่อน จากนั้นจึงจะเป็นแหล่งพลังงานที่แพงขึ้น อย่างเช่น ก๊าซ ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงมักจะเป็นโรงที่กำหนดราคาไฟฟ้าในระบบนี้ ซึ่งตามแนวคิดนี้ ผู้ผลิตไฟฟ้าทุกรายจะขายไฟที่ราคาเดียวกัน ดังนั้น ผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่มีต้นทุนต่ำกว่าจะมีอัตรากำไรสูงกว่า โครงสร้างดังกล่าวกำหนดขึ้นเพื่อสร้างแรงจูงใจให้มีการลงทุนในโครงการโรงฟ้าพลังงานหมุนเวียนในยุโรปเพิ่มขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดภาวะโลกร้อน ทั้งนี้ สัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้าอยู่ในช่วง 15%-25% ขึ้นกับต้นทุนของเทคโนโลยี
EU กำลังเปลี่ยนแนวทางการกำหนดราคาพลังงาน
EU กำลังพิจารณามาตรการแยกราคาค่าไฟฟ้าออกจากราคาก๊าซ เพื่อนำแหล่งพลังงานอื่นที่มีราคาถูกกว่ามาใช้แทน ซึ่งตามแนวทางที่ร่างขึ้นมาแนะนำให้ประเทศสมาชิกของ EU ชักส่วนแบ่งกำไรที่พุ่งสูงขึ้นของบริษัทไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้ก๊าซ เพื่อช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าของผู้บริโภค โดยจะมีการกำหนดเพดานราคาสูงสุดของผู้ผลิตไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง และโยกกำไรส่วนเกินที่เหนือกว่าระดับนั้น ซึ่งเป็นระบบที่คล้ายๆ กับการเก็บภาษี windfall tax ทั้งนี้ ผู้นำ EU ให้สัญญาว่าการแทรกแซงจะเป็นการดำเนินการในระยะสั้นเท่านั้น และประกาศว่าจะทำการปฏิรูปเชิงโครงสร้างในระยะยาวประมาณช่วงปีใหม่ ทั้งนี้ รัฐมนตรีพลังงานของประเทศในกลุ่ม EU จะหารือข้อเสนอดังกล่าวในการประชุมวันที่ 9 กันยายน
สเปน และโปรตุเกสกำหนดเพดานราคามาตั้งแต่เดือนมิถุนายนแล้ว
ทั้งสองประเทศเห็นด้วยกับคณะกรรมการเมื่อเดือนเม.ย.ให้กำหนดเพดานราคาก๊าซธรรมชาติที่ใช้ผลิตไฟฟ้า เป็นการแยกราคาไฟฟ้าออกจากราคาก๊าซ เริ่มใช้มาตั้งแต่เดือนมิถุนายน และจะมีผลไปจนถึงเดือนพฤษภาคม 2023 โดยเพดานราคาเฉลี่ยอยู่ที่ €48.80/MWh ซึ่งคาดว่าสเปนจะต้องใช้เงินอุดหนุนประมาณ €6.3 พันล้าน และโปรตุเกสจะต้องใช้เงินอุดหนุนประมาณ €2.1b ซึ่งรัฐจะได้คืนมาจากเงินที่เก็บจากผู้จำหน่ายไฟฟ้าที่ได้อานิสงส์จากการกำหนดเพดานราคา
วิกฤติพลังงานของ EU น่าจะลากยาว ช่วยหนุนถ่านหิน และน้ำมันดีเซลซึ่งเป็นเชื้อเพลิงทดแทนในการผลิตไฟฟ้า
ในยุโรปตะวันตก ก๊าซธรรมชาติคิดเป็น 17% ของเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าในปี 2021 เรายังคงสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบปี 2022-2023F เอาไว้เท่าเดิมที่ US$100/90 และคาดว่าอุปสงค์ถ่านหิน และน้ำมันดีเซลจะยังคงแข็งแกร่งต่อเนื่องไปตลอดหน้าหนาวที่กำลังจะมาถึง