บล.บัวหลวง:

9 ประเด็นร้อนในโลกการลงทุนปัจจุบันกับ ดร.กอบศักดิ์

เราจัดงานประชุมกับ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) และกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ เมื่อวานนี้ ซึ่งมีการแบ่งปันความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นคำถาม 9 ข้อ เกี่ยวกับภาพเศรษฐกิจและภูมิศาสตร์การเมือง ประเด็นสําคัญจากการประชุมสรุปได้ดังนี้

1# การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ของเฟดจะสิ้นสุดเมื่อไร?

ดร.กอบศักดิ์เชื่อว่าการต่อสู้ของธนาคารกลางสหรัฐกับราคาที่สูงขึ้นอาจจะขยายระยะเวลาไปถึงครึ่งหลังของปี 2566 หรือหลังจากนั้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ (Fed funds rate:FFR) อาจขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่ 4.5-5% (ปัจจุบันอยู่ที่ 2.25-2.5%) และอาจคงอยู่ในระดับสูงเป็นเวลา 6-12 เดือนหลังจากแตะจุดสูงสุด จนกว่าเฟดจะมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานได้ปรับตัวลงสู่เป้าหมายระดับ 2%. เขาเชื่อว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ (50-75bps) จะดำเนินต่อไปจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะ ลดลงเหลือ 5-6%

การตัดสินใจนโยบายการเงินจะขึ้นอยู่กับ: 1) แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ (ความเป็นไปได้ที่อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นจากปัจจัยต่างๆ ความรวดเร็วในการลดลงของเงินเฟ้อ ช่องว่างระหว่างอัตราเงินเฟ้อจริงกับเป้าหมายเงินเฟ้อ การคาดการณ์เงินเฟ้อ) 2) ความแตกต่างระหว่าง FFR และจุด Neutral zone ของเฟด (ประมาณ 2%) และ 3) แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจ

2# เศรษฐกิจสหรัฐจะทนต่ออัตราดอกเบี้ยที่สูงได้แค่ไหน?

อัตราเงินเฟ้อจะเป็นตัวกำหนดว่าเฟดจะรับมืออย่างไรกับนโยบายการเงิน ยิ่งอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงนานเท่าใด ความเสี่ยงของภาวะถดถอยในสหรัฐอเมริกาก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

3# หาก GDP ของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สาม แปลว่าเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือไม่? 

เศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิค หรือ Technical Recession คือ การปรับตัวลดลงของ GDP สองไตรมาสติดต่อกัน แต่สำหรับเศรษฐกิจถดถอย สำนักวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติของสหรัฐฯ กำหนดว่าเมื่อใดที่สหรัฐฯ จะเข้าภาวะถดถอย จะพิจารณาจากหลากหลายปัจจัย เช่น ระดับการจ้างงาน ไม่ใช่แค่การเปรียบเทียบ GDP โดยดร.กอบศักดิ์คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจจะชะลอตัวลงต่อเนื่อง เนื่องจากตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่อ่อนแอ (ส่วนใหญ่การก่อสร้างบ้านลดลง) ราคาบ้านที่สูงขึ้น กอปรกับกับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว หาก สหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอย ข้อมูลในอดีตบ่งชี้ว่าอาจใช้เวลา 3-4 ไตรมาส

4# เศรษฐกิจสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร เสี่ยงเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือไม่? 

เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักรถูกรุมเร้าด้วยผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ปัญหาที่เด่นชัดที่สุดสำหรับยุโรป คือ รัสเซีย หยุดส่งก๊าซ ส่งผลให้เกิดการซื้อ LNG ที่มากขึ้น ซึ่งทำให้ราคาพลังงานสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วยุโรป วิกฤตด้านพลังงานอาจทำให้เศรษฐกิจถดถอยอย่างรวดเร็วในยุโรป ในขณะที่ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ทวีความรุนแรงขึ้น อาจเพิ่มแรงกดดันด้านซัพพลายเชนทั่วโลก และผลักดันราคาอาหารให้ปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง และเป็นความเสี่ยงมากขึ้นต่อเศรษฐกิจยุโรป ดร.กอบศักดิ์เชื่อว่าสหภาพยุโรปมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะถดถอยรุนแรงกว่าสหรัฐ

5# อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ECB จะเพิ่มสูงแค่ไหน? 

อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ECB คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 3% และอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจเพิ่มถึง 4-5% หากอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน

6# ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของจีนยังสามารถควบคุมได้หรือไม่? ดร.กอบศักดิ์ เชื่อว่าความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของในกลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของจีน หลังจากการเร่งก่อหนี้อย่างมากก่อนหน้านี้ จะเป็นตัวแปรสำคัญที่อาจจะทำให้เศรษฐกิจจีนเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างรุนแรง ซึ่งอาจต้องใช้เวลา 5-10 ปีในการฟื้นตัว

7# แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในประเทศไทย

ในทางตรงกันข้ามกับประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพียง 25bps เป็น 1.25-1.5% ดังนั้นคาดผลกระทบต่อเศรษฐกิจจึงมีจำกัด ประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียนอาจมีบทบาทสําคัญในฐานะประเทศที่ปลอดภัยกว่า ถึงแม้ว่าการส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และจีนจะอ่อนแอลง แต่การบริโภคภายในประเทศไทยที่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง การกลับมาของการท่องเที่ยวขาเข้าจํานวนมาก และการเติบโตของการส่งออกไปยังประเทศอาเซียนอื่นๆ จะหนุนการเติบโตของ GDP ของไทยในครึ่งหลังของปี 2565 ไปจนถึงปี 2566

8# วงจรขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารจะเริ่มเมื่อใด?

ธนาคารไทยควรขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำ (MLR) เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ของ ธปท.

9# มาตรการรัฐบาลสนับสนุนก่อนการเลือกตั้งครั้งต่อไป

ดร.กอบศักดิ์ กล่าวถึงนโยบายต่างๆ ที่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ เช่น แผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) โครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง แผนพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน และการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

- Advertisement -