สรุปภาวะตลาด

วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนลบราว -10 จุด มีแรงขายในหุ้นหลายกลุ่มหลักทรัพย์ เช่นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ธนาคาร และอาหาร หลักทรัพย์ที่ปรับตัวลงมีถึง 1,318 หลักทรัพย์ ปรับตัวขึ้น 412 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 462 หลักทรัพย์ เงินบาทที่อ่อนค่าต่อเนื่องแตะ 36.75 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้มีแรงขายหุ้นจากนักลงทุนต่างชาติ ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,642.33 จุด -14.25 จุด -0.86% มูลค่าการซื้อขาย 72,795 ลบ. ต่างชาติ -4,459.13 ลบ. TFEX -30,786 สัญญา ตราสารหนี้ -2,046.88 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ ธนาคารกลางจีนประกาศอัดฉีดเงินกว่า 2 แสนล้านหยวน (2.87 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในโครงการปล่อยเงินกู้ใหม่ เพื่อกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยเงินกู้ให้กับบริษัทต่าง ๆ ซึ่งนับเป็นมาตรการล่าสุดที่ทางการจีนนำมาใช้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ

+ สหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ลดลง 5,000 ราย สู่ระดับ 213,000 ราย ในสัปดาห์ที่ แล้ว โดยปรับตัวลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 5 แตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน และสวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 226,000 ราย

+ สหรัฐเปิดเผยว่า สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สอดคล้องกับ ตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากดีดตัวขึ้น 1.4% ในเดือนมิ.ย.

+ สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือน ส.ค. เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากลดลง 0.4% ในเดือน ก.ค.

+/- ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ ป่วยรายใหม่รักษาในรพ. 837 ราย มีผู้เสียชีวิต 12 ราย รักษาหาย 1,087 ราย

ปัจจัยลบ –

– ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 173.27 จุด หรือ -0.56% เนื่องจากนักลงทุนยังคงกังวลว่าเฟดจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ นอกจากนี้ ตลาดถูกกดดันจากการที่ธนาคารโลก และ IMF ออกรายงานเตือนว่าเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงที่จะเผชิญภาวะถดถอย

– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลง 3.38 ดอลลาร์ -3.8% ปิดที่ 85.10 ดอลลาร์/บาร์เรล ตลาดถูกกดดันจากการ แข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ รวมทั้งความกังวลที่ว่าการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด และธนาคารกลางทั่วโลกจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมัน

– คณะกรรมการประจำวุฒิสภาสหรัฐได้อนุมัติร่างกฎหมาย เพื่อส่งเสริมการสนับสนุนของสหรัฐต่อไต้หวัน ท่ามกลางแรงกดดันของจีนที่เพิ่มขึ้นต่อไต้หวัน

– องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่าโรคโควิด-19 จะระบาดอีกหลายระลอกในอนาคต ซึ่งรัฐบาลทั่วโลกจำเป็นต้องเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมือภัยคุกคามใดๆ ที่อาจเกิดขึ้น

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีในวันนี้มีโอกาสปรับตัวลงต่อ โดยมีแรงกดดันจากธนาคารโลก และ IMF ออกรายงานเตือนว่าเศรษฐกิจ โลกมีความเสี่ยงที่จะเผชิญภาวะถดถอย ประกอบกับมีการปรับน้ำหนัก FTSE All World Index คาดตลาดหุ้นไทย ถูกลดนํ้าหนักราว -73 ล้านเหรียญสหรัฐ กรอบดัชนีในวันนี้ 1,630-1,650 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • ผู้ป่วยต่างชาติเพิ่มขึ้น : BH BDMS D
  • วิกฤตพลังงานยุโรป จีนเริ่มใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น : PRM VL BANPU LANNA AGE
  • นายกฯ ออกเกณฑ์ให้ต่างชาติได้ BOI ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ : WHA AMATA ROJNA
  • หุ้นซ่อมแซมหลังน้ำท่วม : GLOBAL DOHOME HMPRO TOA COTTO DCC TASCO
  • ปรับน้ำหนัก FTSE ALL World Index
    • เพิ่มน้ำหนัก : BH ลดน้ำหนัก SCC ADVANC, AOT, BDMS, CPALL, CPN, GULF, KBANK, PTT, PTTEP และ SCB
  • iPhone 14 วางจำหน่ายวันแรก : COM7, SPVI, CPW, JMART

หุ้นรายงานพิเศษ

PRM มุมมองบวกต่อแนวโน้มผลประกอบการช่วง 2H65

(ราคาเหมาะสม Bloomberg consensus 8.20 บาท)

  • งวด 2Q65 กำไร 199 ลบ. -51%YoY -27%QoQ โดยมีรายได้ 1.7 พันลบ. +17%YoY +15%QoQ เติบโตขึ้นจากกลุ่มธุรกิจเรือขนส่งน้ำมันในประเทศ เรือขนส่งน้ำมันระหว่างประเทศ และการสนับสนุนงานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมกลางทะเล โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ อย่างไรก็ดี %GPM ปรับลงสู่ระดับ 27.2% (2Q64 = 29.7%, 1Q65 = 29.6%) จากต้นทุนเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 64 ลบ.
  • แนวโน้มรายได้ปี 65 เติบโตราว 10%YoY โดยช่วงที่เหลือของปี คาดรายได้จะเติบโต QoQ ตั้งแต่งวด 3Q65 เป็นต้นไป โดยมีปัจจัยสนับสนุน 3 ประการ คือ 1) ขยายกองเรือเพิ่มอีก 3 ลำ ในช่วง 2H65 ได้แก่ เรือขนส่งในประเทศ 2 ลำ และเรือขนส่งระหว่างประเทศ 1 ลำ 2) ธุรกิจเรือจัดเก็บปิโตรเลียมลอยน้ำ (FSU) มีแนวโน้มการใช้เพิ่มขึ้น และ 3) แนวโน้มราคาน้ำมันถูกลง ส่งผลให้ %GPM ปรับดีขึ้น
  • ความเห็น เรามีมุมมองบวกต่อแนวโน้มผลประกอบการช่วง 2H65 โดย Bloomberg Consensus คาดกำไรปี 65 ราว 1.17 พันลบ. -17%YoY ลบ. (1H65 กำไร 472.3 ลบ. คิดเป็น 40% ของประมาณการทั้งปี 65) โดยปัจจุบันซื้อ ขายที่ P/E 14.9x ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มที่ 23x

หุ้นมีข่าว

(+) MINT (Bloomberg Consensus 40.00 บาท) เปิดข้อมูลจะจะโรงแรมยุโรปไร้ผลกระทบพลังงาน เหตุมองไกลล็อกค่าไฟแล้ว ชี้ต้นทุนไฟฟ้าแค่ 3-4% ของรายได้ สวนทางดีมานด์กระฉูด อัตราเข้าพักทะลัก 70% แถมปรับขึ้นราคาห้องพักเป็น 140 ยูโรแล้ว สูงกว่าไตรมาส 2 ชี้เป็นโรงแรม ระดับบนไม่โดนหางเลขเศรษฐกิจ แนวโน้มเจรจาธุรกิจ ประชุม สัมมนาอื้อ (ที่มา ทันหุ้น)

(+) BRR (Bloomberg Consensus – บาท) เห็นช่องโตชัด รุกหนักภาชนะจากเยื่อชานอ้อย เล็งผลิตเพิ่มอีกเท่าตัว หลังยุโรป-อเมริกาชอบ ชูต้นทุนถูกกว่าแถมได้พรีเมียม เล็งขายโนว์ฮาวให้บริษัทน้ำตาลไทย-บราซิลเพิ่มมูลค่า  พร้อมลุยธุรกิจเชื้อเพลิงชีวมวล 6 หมื่นไร่ ที่สปป.ลาว ญี่ปุ่นจีบมองคาร์บอนเครดิต ด้านโบรกชื้อนาคตไกล (ที่มา ทันหุ้น)

(+) FN (Bloomberg consensus – บาท) ลุยจัดงาน “FN FAIR” ขนโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขายไตรมาส 3/2565 หวังหนุนผลงานพลิกกำไร มองตัวเลขนักท่องเที่ยวกลับมายังไม่มากนัก แต่ตลาดในประเทศยังเติบโตดี เนื่องจากเป็นไฮซีซันของการท่องเที่ยว และมองหาโอกาสขยายตลาดต่างประเทศ เตรียมวางขายสินค้า CBD ภายในไตรมาส 4/2565 (ที่มา ทันหุ้น)

(+) JP (Bloomberg consensus – บาท) แย้มครึ่งปีหลังเข้าไฮซีซัน ออเดอร์ OEM พุ่งรับอานิสงส์ เจ้าของแบรนด์ทยอยผลิตและนำออกวางตลาดมากขึ้น จ่อผุดโปรดักต์กัญชงปลายปีนี้ ขณะที่อยู่ระหว่างศึกษาลงทุนธุรกิจ Health Care มั่นใจว่าทั้งปี 2565 ผลงานจะปรับตัวดีขึ้นตามเป้าหมายที่วางไว้ (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • สัปดาห์ที่ 4 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้า
  • สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีอุตสาหกรรม
  • 28 ก.ย. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 5/2565
  • 30 ก.ย. ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย บจ.ส่วนใหญ่ปิดงวดงบการเงินไตรมาสที่ 3

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 16 ก.ย. จีนรายงานราคาบ้าน การผลิตภาคอุตสาหกรรม ยอดค้าปลีก การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร และอัตราว่างงานเดือนส.ค.
    • อียู รายงานยอดขายรถยนต์+อัตราเงินเฟ้อ ส.ค.
    • สหรัฐ รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้น
  • 19 ก.ย. สหรัฐ รายงานดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือน ก.ย. จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB)
  • 20 ก.ย. ธนาคารกลางจีนประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR)
    • สหรัฐ รายงานตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนส.ค.
  • 20-21 ก.ย. ประชุม FED
  • 21 ก.ย. สหรัฐ รายงานยอดขายบ้านมือสองเดือน ส.ค.
  • 22 ก.ย. ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) แถลงมติ อัตราดอกเบี้ย
- Advertisement -