ตลาดหุ้นวานนี้

SET ร่วง 12 จุด ปรับลงในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นต่างประเทศหลัง World Bank และ IMF เตือนศก. โลกเสี่ยงถดถอยจากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อของธนาคารกลางทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีปัจจัยกดดันเฉพาะจาก FTSE Rebalance ซึ่งปรับลดน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นบ้านเรา ประกอบกับนักลงทุนส่วนหนึ่งชะลอการลงทุนก่อน FED Meeting ในสัปดาห์นี้

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้      

ประเมิน SET อ่อนตัวแนวรับ 1,620 – 1,625 จุด ภาวะตลาดยังคงถูกกดดันจากความกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัวหลัง FED และ ธ.กลางหลายประเทศเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ส่งผลให้ Bond yield สหรัฐปรับตัวขึ้นและ Fund flow ต่างชาติไหลออกในช่วงนี้ อย่างไรก็ตามคาดว่าแรงซื้อหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัวจะช่วยหนุนให้ดัชนีสลับรีบาวด์ขึ้นได้

21 ก.ย. ติดตามการประชุม FED คาดปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75 – 1% และการประชุม BOJ คาดคงดอกเบี้ย -0.1%

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

  • KBANK BBL SCB KTB TTB BLA TLI อานิสงส์ดอกเบี้ยขาขึ้น
  • BEM BTS INTUCH ADVANC DTAC BDMS BH หุ้น Defensive ในช่วงตลาดผันผวน
  • CPF TU GFPT TFG เข้าสู่ High season การส่งออกและอานิสงส์เงินบาทอ่อนค่าลง

หุ้นแนะนำวันนี้

  • EPG (ปิด 10.30 ซื้อ/เป้า 14.5 บาท) คาดผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว ทุกกลุ่มธุรกิจกลับสู่โหมดฟื้นตัว ระยะสั้นมี Sentiment บวกจากราคาน้ำมันลดลงและค่าเงินบาทอ่อนค่าเป็นบวกกับ EPG โดยตรงเนื่องจาก 60% ของรายได้มาจากต่างประเทศ
  • TLI (ปิด 16.8 ซื้อ/เป้า IAA Consensus 19.30) มี Sentiment บวกจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ปลายปีมีลุ้นได้เข้าคำนวณในดัชนี MSCI และ SET 50 รอบใหม่

บทวิเคราะห์วันนี้: ANAN (1.31 ถือ/เป้า 1.40), CKP (5.15 ซื้อ/เป้า 6.50)

ประเด็นสำคัญวันนี้

  • (-) ติดตาม FED Meeting คาดขึ้นดอกเบี้ย 0.75%: FED Meeting 20-21 ก.ย. นี้ เราคงมุมมองเดิมโดยคาดว่า FED จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.75% ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อให้ลดลงสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% และติดตามถ้อยแถลงของประธานเฟด และ FED dot plot เพื่อจับสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยและจำนวนครั้งของการขึ้นดอกเบี้ยในปีถัดไป
  • (+/-) คาด BoJ คงดอกเบี้ย แต่ BoE เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยเพื่อคุมเงินเฟ้อ: แม้สัปดาห์นี้คณะกรรมการนโยบายการเงินของญี่ปุ่น (BoJ) และอังกฤษ (BoE) จะมีการประชุมในวันเดียวกัน คือ 22 ก.ย. นี้ แต่แนวทางการดำเนินนโยบายยังต่างกันโดย BoJ คาดคงดอกเบี้ย -0.10% ตามเดิมเพื่อเอื้อให้ ศก. ฟื้นตัวหลังวิกฤติโควิด แต่ BoE คาดขึ้นดอกเบี้ย 0.5% เป็น 2.25% เพื่อควบคุมเงินเฟ้อที่พุ่งสูง
  • (+/-) ปลายสัปดาห์ติดตามดัชนี PMI ภาคการผลิตของประเทศ ศก.หลัก: หากตัวเลขยังลดลงจะยังเป็นสัญญาณลบกดดันบรรยากาศการลงทุนในตลาดสินทรัพย์เสี่ยง  โดยเฉพาะสหรัฐ หากตัวเลขต่ำกว่าระดับ 50 จะสร้างความกังวลให้กับตลาดโดยเฉพาะกระแส ศก. ถดถอย หรือ Recession
- Advertisement -