สรุปภาวะตลาด
วันจันทร์ที่ผ่านมา ดัชนีถูกกดดันต่อเนื่อง หลังธนาคารกลางสหรัฐประชุมฉุกเฉิน เนื่องจากตลาดกังวลเฟดจะใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดมากขึ้น ความกังวลดังกล่าวทำให้สถาบันเทขายหุ้นราว 13,412 ล้านบาท โดยมีแรงขายจากกลุ่มธนาคาร ท่องเที่ยวและค้าปลีก ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,558.05 จุด -31.46 จุด -1.98% มูลค่าการซื้อขาย 82,448 ลบ. ต่างชาติ +2,594.90 ลบ. TFEX -38,458 สัญญา ตราสารหนี้ +1,889.17 ลบ.
ปัจจัยบวก+
+ ดัชนีดาวโจนส์ปิดพุ่งขึ้น 765.38 จุด หรือ +2.66% เนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ซึ่งรวมถึงดัชนีภาคการผลิตที่ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากการชะลอตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ
– สัญญาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 4.14 ดอลลาร์ หรือ 5.2% ปิด ที่ 83.63 ดอลลาร์/บาร์เรล ขานรับการคาดการณ์ที่ว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและพันธมิตร หรือโอเปกพลัส จะปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันครั้งใหญ่ในการประชุมวันพุธนี้
+ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ว่า ญี่ปุ่นพร้อมดำเนินการ “อย่างเด็ดขาด” ในตลาดปริวรรตเงินตรา หากค่าเงินเยนยังคงผันผวนรุนแรงต่อเนื่อง นับเป็นการส่งสัญญาณเตือนนักลงทุนที่เทขายเงินเยน
+ สหรัฐรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของสหรัฐ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 52.0 ในเดือนก.ย. จากระดับ 51.5 ในเดือนส.ค. และสูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 51.8
+ ISM เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐร่วงลงสู่ระดับ 50.9 ในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี หรือนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2563 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 52.3 จากระดับ 52.8 ในเดือนส.ค. โดยดัชนีภาคการผลิตได้รับผลกระทบจากคำสั่งซื้อใหม่ที่หดตัวลงอย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยลบ –
– ยูเครนประกาศว่าสามารถยึดคืนพื้นที่ศูนย์ส่งกำลังบำรุงทางตะวันออกของเมืองลือมันได้โดยสมบูรณ์แล้ว พร้อมชูธงชาติเหนือสถานที่ราชการ โดยนับเป็นชัยชนะครั้งสำคัญเหนือรัสเซียในรอบหลายสัปดาห์
– บริษัทเสียวหมี่ คอร์ป ผู้ผลิตสมาร์ตโฟนรายใหญ่ของจีน เปิดเผยว่าบริษัทรู้สึกผิดหวังต่อกรณีที่อินเดียสั่งอายัดทรัพย์สิน มูลค่า 682 ล้านดอลลาร์ และจะเดินหน้าปกป้องผลประโยชน์ขององค์กรต่อไป
– กฟผ. เปิดเผยว่า ค่าไฟฟ้าปี 66 จะทรงตัวระดับสูงต่อไป เนื่องจากราคาเชื้อเพลิงหลัก โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติผันแปรตามราคาน้ำมัน ขณะที่ไทยต้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) นำเข้าถึง 20% ที่มีราคาสูงมาก หากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ยังยืดเยื้อ
– อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยว่า ภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 8 เดือนแรกปี 2565 (มกราคม-สิงหาคม 2565) อยู่ที่ 150.92 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้น 15.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีในวันนี้มีโอกาส Rebound ตามทิศทางตลาดต่างประเทศ หลังหลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ อ่อนแอ ส่งผลให้นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับตัวขึ้นแรง หนุนหุ้นกลุ่มพลังงาน คาดกรอบดัชนีในวันน้ีที่ 1,550-1580 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- หุ้นซ่อมแซมหลังน้ำท่วม : GLOBAL DOHOME HMPRO TOA COTTO DCC TASCO
- ศบค. มีมติยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน : ERW CENTEL VRANDA ASAP SPA
- ตัวเลขส่งออกเดือน ส.ค. เติบโต : BRR KSL TFG GFPT ASIAN JUBILE
- หุ้นเด่น IAA : ADVANC AOT BBL KABANK
หุ้นรายงานพิเศษ
PSTC ซื้อ หลังประกาศงบ 3Q65 ราคาเหมาะสม 2.52 บาท
- รายงานขาดทุน 2Q65 ที่ 72 ลบ. หดตัวอย่างมีนัยสำคัญทั้ง YoY และ QoQ เนื่องจากรายได้จากการก่อสร้างลดลง 76%YoY สู่ 120 ลบ. ใน 2Q65 เพราะงานก่อสร้างคลังน้ำมันแล้วเสร็จ อย่างไรก็ตาม รายได้จากการขาย LNG เพิ่มขึ้น 35%YoY สู่ 219 ลบ. ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นอ่อนตัวลงจาก 10.9% ใน 2Q64 สู่ 8.7% ใน 2Q65 เนื่องจากรายได้จากการขายอัตรากำไรขั้นต้นต่ำกว่ารายได้จากงานก่อสร้าง นอกจากนี้มีบันทึกส่วนแบ่งขาดทุนจากกิจการร่วมค้า 56 ลบ. เนื่องจากโครงการท่อส่งน้ำมันไปยังภาคอีสานเริ่มทดสอบระบบ
- ผบห. เผยผลประกอบการ 2H65 จะดีกว่า 1H65 เนื่องจากรับรู้รายได้จากท่อขนส่งน้ำมันไปยังภาคอีสาน พร้อมเปิดให้บริการใน 4Q65 นอกจากนี้ บริษัทได้เตรียมทำโครงการพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชน อาทิ กลุ่มลูกค้าโรงแรม โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้าและโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้ปี 66 พลิกกลับมาสร้างกำไรได้อย่างยั่งยืน
- ความเห็น เราคาดว่าผลประกอบการได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว โดยจะปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ 4Q65 ที่มีการเปิดดำเนินการท่อขนส่งน้ำมันไปยังภาคอีสาน นอกจากนี้บริษัทได้ขายธุรกิจโรงไฟฟ้าชีวภาพและชีวมวล ซึ่งมีผลขาดทุนออกไปแล้ว ตั้งแต่ 4Q64 โดยเราแนะนำหาจังหวะซื้อหลังประกาศผลประกอบการ 3Q65 เนื่องจาก 4Q65 จะกลับมาเติบโตและต่อเนื่องไปถึงปี 66
หุ้นมีข่าว
(+) JMART (Bloomberg Consensus 65.00 บาท) ร่วมทุน “เอวานทิส แลบอราทอรี” ต่อยอดเทคโนโลยีการเงิน-อัพแกร่ง เจเวนเจอร์สคาดชัดเจนไตรมาส 4 แย้มครึ่งหลังปี 2565 ฟอร์มแจ่ม เหตุอีโคซิสเต็มที่ลงทุนไปทำงาน จ่อคลอดหุ้นกู้ระดมทุนเสริมทัพขยายฐานระยะยาว (ที่มา ทันหุ้น)
(+) CKP (Bloomberg Consensus 6.50 บาท) รับอานิสงส์ปริมาณน้ำมากในช่วงฤดูฝน หนุนผลงานงวดไตรมาส 3/2565 แตะระดับสูงสุดของปี ทั้งยังเข้าสู่ฤดูน้ำหลาก และไฮของโรงไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ในไตรมาส 4/2565 ต้ังเป้าเพิ่มสัดส่วนกำลังการผลิตจากพลังงานหมุนเวียนขึ้นเป็น 95% ย้ำแผนบริหารจัดการต้นทุน-กระแสเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพ (ที่มา ทันหุ้น)
(+) BTS (Bloomberg consensus 11.30 บาท) ทุ่ม 2.88 พันล้านบาท ซื้อหุ้น TNL ในสัดส่วน 41% คาดแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม ก่อนทำเทนเดอร์หุ้นที่เหลือ มูลค่ากว่า 1.2 พันล้านบาท ลุยต่อยอดการลงทุนครบวงจรในธุรกิจบริหารสินทรัพย์ที่มีหลักประกัน และอสังหาริมทรัพย์ร่วมกับ NOBLE รวมมูลค่าสินทรัพย์การขยายธุรกิจร่วมกันในช่วงแรกกว่า 6.7 พันล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)
(+) GULF (Bloomberg consensus 56.50 บาท) จ่ายไฟโรงไฟฟ้า IPP โครงการ GSRC หน่วยที่ที่ 4 กำลังการผลิต 662.5 เมกะวัตต์ รวม GSRC จ่ายไฟฟ้าครบ 2,650 เมกะวัตต์ แย้มเฉพาะกำไรโครงการนี้ 5 พันล้านบาท ส่วนโครงการ GPD ขนาด 2,650 เมกะวัตต์เริ่มจ่ายไฟปีหน้า พร้อมประมูลโครงการพลังงานหมุนเวียนรัฐ (ที่มา ทันหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- 4 ต.ค. สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สภาผู้ส่งออก) แถลงสถานการณ์การส่งออก
- 5 ต.ค. กระทรวงพาณิชย์แถลงดัชนีเศรษฐกิจ ชการค้า
- 7 ต.ค. ประชุมคณะกรรมการร่วม 3 สถาบัน ภาคเอกชน (กกร.)
- 12 ต.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ฉบับย่อ
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่รายงานนโยบายการเงิน
- 26-29 ต.ค. ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมประจำปี รัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 30
- 27-29 ต.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดชงาน BOT Digital Finance Conference 2022
- 28 ต.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 4 ต.ค. อียูรายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ส.ค.
- สหรัฐ รายงานตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือน ส.ค. และยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนส.ค.
- 5 ต.ค. ประชุมโอเปกพลัส
- อียู รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนก.ย.
- สหรัฐ รายงานตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือน ก.ย. ยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้าเดือน ส.ค.
- 6 ต.ค. อียู รายงานยอดค้าปลีกเดือนส.ค.
- สหรัฐ รายงานจํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
- 7 ต.ค. ญี่ปุ่นรายงานการใช้จ่ายภาคครัวเรือนเดือน ส.ค. และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนส.ค.
- จีน รายงานทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเดือน ก.ย.
- สหรัฐรายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ก.ย. และสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนส.ค.
- 1-2 พ.ย. กําหนดประชุมธนาคารกลางสหรัฐ