บล.บัวหลวง: 

Bank – แนวโน้มการเติบโตของสินเชื่อและฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง (OVERWEIGHT)

สินเชื่อในเดือน ก.ค. และ ส.ค. เติบโตอย่างแข็งแกร่ง และแนวโน้มการตั้งสํารองที่น้อยลง ทำให้เราคาดว่าจะเห็นกำไรที่โตแกร่ง YOY ในไตรมาส 3/65 และปี 2565 ทั้งนี้จากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องจะหนุน NIM และกําไรของกลุ่มธนาคารในปี 2566 โดยเรายังคงชอบ KBANK และ BBL มากที่สุด

คาดกำไรไตรมาส 3/65 จะเติบโต 21% YoY แต่หดตัว 3% QoQ

เราคาดการณ์ 8 ธนาคารที่เราให้คำแนะนำจะรายงานกำไรรวมในไตรมาส 3/65 ที่ 4.98 หมื่นล้านบาท เติบโต 21% YoY หนุนมาจากการตั้งสํารองที่ลดลง (ค่าเฉลี่ยอัตราการตั้งสำรองต่อสินเชื่อรวมคาดจะลดลงจาก 161bps ในไตรมาส 3/64 มาเหลือ 130bps ในไตรมาส 3/65) สินเชื่อที่เติบโตและ NIM ที่ขยายตัว (เราคาดค่าเฉลี่ย NIM จะขยายตัว 7bps YoY จากการเติบโตของธุรกิจสินเชื่อที่ให้ผลตอบแทนสูง) เรายังคงคาดที่จะเห็นการเติบโต แม้ว่าเราคาดจะเห็นค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่เยอะ (ค่าใช้จ่ายด้าน IT และอุปกรณ์สําหรับการซ่อมบำรุงระบบหลักของธนาคาร) และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่ลดลง (รายได้นายหน้าที่ลดลง) ทั้งนี้ KTB TTB และ KKP จะรายงานการเติบโตของกําไรที่แข็งแกร่ง YoY ในไตรมาส 3/65 ที่ 45% 35% และ 18% ตามลำดับ หนุนมาจากการตั้งสำรองที่ลดลงและสินเชื่อที่เติบโต

ในด้านของ QoQ เราคาดกําไรรวมจะหดตัวลง 3% QoQ จากค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่หนักขึ้น และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่ลดลง QoQ ในทางตรงกันข้าม BBL จะรายงานทําไรที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง QoQ ถึง 16% หนุนมาจากการตั้งสํารองที่ลดลง ในขณะที่ KKP น่าจะรายงานกำไรที่หดตัว 14% QoQ จากการตั้งสํารองที่หนักขึ้น ดังนั้นเราคาดกําไรรวมในปี 2565 ที่ 2.044 แสนล้านบาท เติบโต 14% YoY หนุนมาจากการเติบโตของสินเชื่อ การตั้งสํารองที่ลดลง และ NIM เฉลี่ยที่ขยายตัวเล็กน้อย สังเกตว่าเราคาดหลายธนาคารจะเร่งเคลียร์หนี้เสียเพื่อเปิดโอกาสสําหรับการปล่อยสินเชื่อใหม่ๆ ด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากที่สูงขึ้น ซึ่งธนาคารดังกล่าวมีแนวโน้มที่อาจจะตั้ง สํารองสูงขึ้น QoQ ในไตรมาส 3/65 (แต่ไม่ใช่สำหรับ BBL และ SCB เนื่องจากทั้งคู่ตั้งสํารองอย่างหนักมากในไตรมาส 2/65)

ปรับประมาณการกำไรปี 2566 ขึ้น จากอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่ดีขึ้น

หลายธนาคารใหญ่ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากตามนโยบายของทาง ธปท. ที่ปรับขึ้นเมื่อวันที่ 28 ก.ย. (ขึ้น 25bps ไปเป็น 1%) โดยเราคาดธนาคารอื่นๆ ก็จะปรับขึ้นตามเช่นกันในอีกไม่กี่สัปดาห์หน้า ดังนั้นเราคาด NIM เฉลี่ยปี 2566 จะขยายตัวขึ้น 9bps ไปเป็น 2.89% หนุนให้เราปรับประมาณการกำาไรรวมปี 2566 ขึ้นจาก 2.12 แสนล้านบาทไปเป็น 2.263 แสนล้านบาท (เติบโต 11% YoY)

อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่สูงของกลุ่มธนาคารที่เราให้คำแนะนำ

ตลาดทั่วโลกกำลังกังวลฐานะการเงินของธนาคารระดับประเทศขนาดใหญ่ (โดยหลักเป็นด้านเงินดำรงกองทุนและสภาพคล่อง) ซึ่งกดดันต่อกลุ่มธนาคารไทย ส่งผลให้ราคาหุ้นในสัปดาห์ที่ผ่นมาปรับตัวลง แต่เรามั่นใจมากว่า ฐานะการเงินของธนาคารไทยยังคงแข็งแกร่ง โดยอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธนาคารที่เราให้คําแนะนําเฉลี่ยอยู่ที่ 19% ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2565 (สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของ ธปท. ที่ 12% อย่างมาก) ธปท.ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นหน่วยงานกำกับดูแลธนาคารที่มีความสามารถและมีส่วนร่วมในธุรกิจธนาคารอย่างดี

- Advertisement -