สรุปภาวะตลาด

วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ดัชนียังปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง สอดคล้องกับตลาดในภูมิภาค หลังกลุ่มโอเปกพลัสมีมติลดกำลังการผลิตในเดือนพฤศจิกายนราว 2 บาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นยืนเหนือระดับ 85 เหรียญต่อบาร์เรล หนุนให้กลุ่มพลังงานมีแรงซื้อต่อเนื่อง ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,589.18 จุด +8.91 จุด +0.56% มูลค่าการซื้อขาย 63,797 ลบ. ต่างชาติ +377.48 ลบ. TFEX +30,911 สัญญา ตราสารหนี้ +573.07 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 69 เซนต์ หรือ 0.8% ปิดที่ 88.45 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย. 2565 ปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 4 เนื่องจากนักลงทุนยังคงขานรับกลุ่มโอเปกพลัส มีมติปรับลดกำลังการผลิตครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 2 ปี

+ กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 29,000 ราย สู่ระดับ 219,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 203,000 ราย

+ รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย กล่าวว่า รัสเซียพร้อมที่จะจัดส่งก๊าซให้แก่ยุโรปผ่านทางท่อส่งก๊าซ Nord Stream 2 หากยุโรปยกเลิกมาตรการปิดกั้นต่อการส่งก๊าซ

+ ตลท. เปิดเผยว่าในปี 66 หากการเมืองไทยมั่นคงและแน่นอน จะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้เร็ว รวมไปถึงการส่งออกและภาคการท่องเที่ยวที่มีการเติบโตดีขึ้นจะเป็นปัจจัยหลักในการสร้างกำลังซื้อ และผลักดันให้เศรษฐกิจและตลาดทุนไทยในกลุ่มหุ้นที่เกี่ยวข้องไปต่อได้

ปัจจัยลบ –

– ดัชนีดาวโจนส์ปิดร่วงลง 346.93 จุด หรือ -1.15% โดยตลาดถูกกดดันจากความกังวลที่ว่า การเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด จะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอย ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันนี้

– ฟิทช์ เรทติ้งส์ ปรับลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือของอังกฤษลงสู่ระดับ “เชิงลบ” จาก “มีเสถียรภาพ” โดยระบุว่า แผนกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ของรัฐบาลมีความเสี่ยงที่จะทำให้ตัวเลขขาดดุลงบประมาณของอังกฤษปรับตัวสูงขึ้น

– ธนาคารกลางเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศในเดือนก.ย.ร่วงลงมากที่สุดในรอบราว 14 ปี เนื่องจากทางการเกาหลีใต้ได้เทขายสกุลเงินดอลลาร์ในตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศ เพื่อชะลอการอ่อนค่าของสกุลเงินวอน

– โกลด์แมน แซคส์ประกาศปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์ราคาน้ำมันในปีนี้และปีหน้า โดยได้แรงหนุนจากการที่กลุ่มโอเปกพลัส มีมติปรับลดกำลังการผลิต 2 ล้านบาร์เรล/วันในเดือนพ.ย.

– FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 70.7% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ระดับ 3.75-4.00% ในการประชุมวันที่ 1-2 พ.ย. และให้น้ำหนักเพียง 29.3% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50%

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีในวันนี้มีโอกาสอ่อนตัวลงตามทิศทางตลาดต่างประเทศ โดยนักลงทุนยังจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงาน นอกภาคเกษตรของสหรัฐในคืนน้ี ขณะที่หุ้นกลุ่มพลังงานยังช่วยพยุงตลาด หลังราคาน้ามันดิบ WTI ที่ปรับตัวขึ้น ต่อเนื่อง คาดกรอบดัชนีในวันนี้ท่ี 1,580-1597 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • หุ้นซ่อมแซมหลังน้ำท่วม : GLOBAL DOHOME HMPRO TOA COTTO DCC TASCO
  • ศบค. มีมติยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน : ERW CENTEL VRANDA ASAP SPA
  • ตัวเลขส่งออกเดือน ส.ค. เติบโต : BRR KSL TFG GFPT ASIAN JUBILE
  • หุ้นเด่น IAA : ADVANC AOT BBL KBANK

หุ้นรายงานพิเศษ

SVT 2Q65 กำไรโต +29%YoY, +5%QoQ “ซื้อเมื่ออ่อนตัว” Bloomberg consensus – บาท

  • รายได้ 2Q65 เท่ากับ 547 ลบ. +13%YoY, +1%QoQ และกำไร 23 ลบ. +29%YoY, +5%QoQ สาเหตุมาจากการเพิ่มตู้จำหน่ายสินค้าจาก 14,901 ตู้เป็น 15,068 ตู้ +8.5%QoQ สอดคล้องกับยอดขายตู้จำหน่ายสินค้าปรับตัวขึ้นจาก 3 ลบ. เป็น 6 ลบ. +100%QoQ ส่วนอัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 32.2% เป็น 33.3% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ผู้บริหารมองรายได้ปี 65 เติบโตราว +15%YoY โดยในช่วง 1H65 เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากโควิด -19 ทำให้บริษัทชะลอการผลิตตู้จำหน่ายสินค้าบางส่วน ขณะที่ปัจจุบันเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว ทำให้บริษัทเร่งผลิตตู้จำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้นเพื่อกระจายไปยังพื้นที่ที่มีศักยภาพ ได้แก่ ชลบุรีและปทุมธานี โดยปัจจุบันมี 12 สาขา ครอบคลุมพื้นที่ 29 จังหวัด คาดเพิ่มตู้จำหน่ายสินค้าจาก 15,000 ตู้ เป็น 16,000 ตู้ ภายในสิ้นปีนี้
  • ฝ่ายวิจัยประเมินว่าผลประกอบการในช่วง 2H65 จะฟื้นตัวต่อเนื่อง สาเหตุมาจากรัฐเริ่มคลายมาตรการควบคุมโควิด 19 ทำให้ผู้บริโภคเริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติ อีกทั้งบริษัทเร่งกระจายตู้จำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้น ประกอบกับการเปิดใช้งาน application “SUN V” ที่มีแต้มสะสมแลกซื้อสินค้าช่วยหนุนรายได้เติบโต ทั้งนี้ Bloomberg Consensus คาดกำไรปี 65 เฉลี่ย 100 ล้านบาท +50%YoY ปัจจุบันงวด 1H65 มีกำไร 45 ล้านบาท +15%YoY ทำได้ 45% จากเป้าหมาย ขณะที่ราคาหุ้นปรับตัวลงมา -33%YTD ทำให้หุ้นซื้อขายที่ P/E 36 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ระดับ 29 เท่า เราจึงแนะนำ “ซื้อเมื่ออ่อนตัว”

หุ้นมีข่าว

(+) NRF (Bloomberg Consensus 7.20 บาท) ชูธุรกิจอาหารสัตว์มาแรงสร้างรายได้ทันทีปีนี้ 250 ล้านบาท ชูตลาดนับแสนล้าน คาดปี 2566 สร้างรายได้ไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาส 3 ออเดอร์ทุกธุรกิจเติบโตดี รับอานิสงส์บาทอ่อนค่า ทั้งปีรายได้โตตามแผน เดินหน้าขยายสาขา alt.Eatery ชูบริษัทเข้าเมกะเทรนด์ลดโลกร้อน (ที่มา ทันหุ้น)

(+) SGP (Bloomberg Consensus – บาท) เข้าซื้อ “ประสานสักแก๊ส” ใน สปป.ลาว ในราคา 15 ล้านบาท ลั่นสุดคุ้ม ได้ทั้งที่ดินและใบอนุญาตการนำเข้าธุรกิจก๊าซ LPG เตรียมปรับปรุงให้บริการปีหน้า มองในอนาคตจะสามารถขยายไปยังธุรกิจอื่น น้ำมัน ไฟฟ้าในสปป.ลาว ได้เพิ่มอีก สบช่องโมเดลซื้อธุรกิจ เล็ง LPG ในกัมพูชา พร้อมวางลงทุนครบทุกประเทศในกลุ่ม CLMV บุกอินเดีย-ศรีลังกา-บังกลาเทศ (ที่มา ทันหุ้น)

(+) ANAN (Bloomberg consensus 1.38 บาท) แบ็กล็อกแน่นกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท ทยอยโอนไตรมาส 4/2565 ราว 6 พันล้านบาท แถมมีสต๊อกพร้อมขายอีกกว่า 5.1 หมื่นล้านบาท เสริมทัพ รองรับการเติบโตใน 3 ปีจากนี้ เล็งปรับตัวขยายสู่เซ็กเมนต์ลักชัวรี่ โกยยอดขายแนวราบเพิ่ม พร้อมมองภาพรวมอสังหาฟื้นตัวได้ดี (ที่มา ทันหุ้น)

(+) MC (Bloomberg consensus 12.15 บาท) ตั้งเป้าผลงานปีบัญชี 2565/2566 มุ่งบริหารกำไรโตสองหลัก พร้อมตั้งเป้ายอดขายโต 10-20% วางงบลงทุน 500 ล้านบาท สร้างแวร์เฮาส์ หนุนการตลาด ลุยขยายสาขา แม็ค เอาต์เล็ต เพิ่มอีก 50 สาขา ส่งผลให้ในเดือนมิถุนายน 2566 จะมีเอาต์เล็ตทั้งหมด 172 สาขาทั่วประเทศ พร้อมมองหาโอกาสการลงทุนใหม่ๆ (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 7 ต.ค. ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
  • 12 ต.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ฉบับย่อ
  • 19-21 ต.ค. รมว.คลัง เป็นประธานการประชุมและเจ้าภาพจัดประชุมรมว.คลังเอเปค
  • 25 ต.ค. กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออก นําเข้า
  • 26-29 ต.ค. ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมประจำปี รัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 30
  • 27-29 ต.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัด งาน BOT Digital Finance Conference 2022
  • 28 ต.ค. ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
  • 30 พ.ย. กำหนดประชุมกนง.รอบหน้า

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 7 ต.ค. ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ญี่ปุ่นรายงานการใช้จ่ายภาคครัวเรือนเดือน ส.ค. และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนส.ค.
    • จีน รายงานทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเดือน ก.ย.
    • สหรัฐรายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ก.ย. และสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนส.ค.
  • 8 ต.ค. จีนรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนก.ย.จากไฉซิน
  • 11 ต.ค. ญี่ปุ่นรายงานดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ส.ค.
    • สหรัฐรายงานดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาด ย่อมเดือนก.ย.
  • 1-2 พ.ย. กำหนดประชุมธนาคารกลางสหรัฐรอบหน้า
- Advertisement -