บล.พาย: 

SPRC: บมจ. สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง “คาดไตรมาส 3/22 พลิกเป็นขาดทุน”

คาดผลประกอบการไตรมาส 3/22 พลิกเป็นขาดทุน (จุดต่ำรอบ 10 ไตรมาส) ฉุดจากขาดทุนสต็อกก้อนใหญ่เพราะราคาน้ำมันดิบดูไบ ลดลง 10% QoQ หักลบส่วนชดเชยความเสี่ยงจากประเด็นสงคราม รัสเซีย-ยูเครน แต่คาดค่าการกลั่นยังแข็งแกร่งที่ US$7.4/บาร์เรล (เหนือค่าเฉลี่ย 3 ปี) แต่ย่อลงจากยอดสูงในไตรมาส 2/22 ผล ประกอบการไตรมาส 3/22 เป็นจุดต่ำสุดของปี และคาดว่าจะพลิกฟื้นในไตรมาส 4/22 เพราะ 1) อุปสงค์ช่วงฤดูหนาวในสหภาพยุโรป (EU) ที่หนุนส่วนต่างราคาดีเซลสูงขึ้น 2) กำไรสต็อกน้ำมันจากการปรับขึ้นของราคาน้ำมันดิบ และ 3) ยอดขายที่สูงขึ้นเพราะการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น 2 แห่งในประเทศของ PTTGC และ IRPC จึงยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” SPRC ด้วยมูลค่าพื้นฐานที่ 13.50 บาท

ค่าการกลั่นแข็งแกร่ง แต่ผลประกอบการไตรมาส 3/22 ถูกฉุดลงจากขาดทุนสต็อกน้ำมัน

  • คาดขาดทุนสุทธิในไตรมาส 3/22 ลดลงจากกำไรที่สูงเป็นประวัติการณ์ที่ 7.2 พันล้านบาทในไตรมาส 2/22 และ 113 ล้านบาทในไตรมาส 3/21สาเหตุของการปรับลดลงมาจากขาดทุนสต็อกน้ำมัน 5.0 พันล้านบาทหลังจากราคาน้ำมันดิบดูไบลดลง 10% จาก US$108/บาร์เรลในไตรมาส 2/22 เหลือ US$97/บาร์เรลในไตรมาส 3/22
  • คาดค่าการกลั่นไตรมาส 3/22 ลดลง QoQ เหลือ US$7.4/บาร์เรล จากยอดสูงที่ US$18.9/บาร์เรลในไตรมาส 2/22 (สืบเนื่องจากเหตุขัดข้องด้านอุปทานจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน) แต่ยังเป็นระดับที่ถือว่าดี เพราะยังยืนเหนือค่าเฉลี่ย 3 ปีที่ US$4.7/บาร์เรล
  • ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบปรับดีขึ้นเล็กน้อยเป็น 1.57 แสนบาร์เรลต่อวัน (bpd) (+22.0% YoY, +1.0% QoQ) หนุนจากอุปสงค์ในประเทศที่สูงขึ้นหลังคลายล็อกดาวน์

อุปสงค์ฤดูหนาวจะช่วยหนุนภาพรวมไตรมาส 4/22

  • คาดอุปสงค์การใช้ความร้อนช่วงฤดูหนาวในยุโรป และนโยบายการใช้เชื้อเพลิงทดแทนก๊าซที่มีราคาสูงจะพยุงให้ส่วนต่างราคาดีเซลยังอยู่ในกรอบสูงช่วงไตรมาส 4/22 ส่วนราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นก็คาดว่าจะช่วยให้บริษัทรับรู้กำไรสต็อกน้ำมันได้อีกครั้งหลังขาดทุนไปในไตรมาส 3/22
  • การปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นในประเทศ 2 แห่งของ PTTGC และ IRPC น่าจะทำให้อัตราการผลิตน้ำมันดิบของ SPRC เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ 90% เป็น 100% ในไตรมาส 4/22 และหนุนการเติบโตของยอดขายขึ้น

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 13.50 บาท อิง 1.2xPBV’23E คิดเป็นค่าเฉลี่ย 5 ปี ราคาหุ้นปัจจุบันดูเหมือนสะท้อนภาพกำไรที่อ่อนแอในไตรมาส 3/22 ไปแล้ว จึงคาดว่าการฟื้นตัวของค่าการกลั่นและกำไรในไตรมาส 4/22 จะเป็นปัจจัยบวกสำคัญต่อราคาหุ้นระยะกลาง

Revenue breakdown

บริษัทดำเนินธุรกิจโรงกลั่นเป็นหลัก โดยมีการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมคุณภาพสูงหลากหลายชนิด เช่น

  • ดีเซล (48% ของรายได้ทั้งหมด)
  • เบนซิน (32% ของรายได้ทั้งหมด)
  • น้ำมันอากาศยาน (2% ของรายได้ทั้งหมด)
  • น้ำมันเตากำมะถันหนัก (HSFO) (2% ของรายได้ทั้งหมด)
  • แนฟทา (3% ของรายได้ทั้งหมด)
  • ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) (2% ของรายได้ทั้งหมด)
  • อื่นๆ (11% ของรายได้ทั้งหมด) ซึ่งรวมถึงก๊าซผสม C4 ยางมะตอย และโพรพิลีน

ผลิตภัณฑ์ที่บริษัทจำหน่ายภายในประเทศส่วนใหญ่จะจำหน่ายผ่านข้อตกลงระยะยาวที่มีกับ Chevron และ PTT ขณะที่มีกำลังการกลั่น 175 KBD หรือคิดเป็นราวๆ 13% ของกำลังการผลิตกลั่นทั้งหมดของไทย

- Advertisement -