KS Daily View 17.10.2022 > สินทรัพย์เสี่ยงผันผวน หลังสหรัฐรายงานเงินเฟ้อสูงกว่าคาด SET วันนี้คาด 1550-1570 จุด หุ้นแนะนำ PTG

ประเด็นที่เกิดขึ้นปลายสัปดาห์ที่แล้ว

ต่างประเทศ : สินทรัพย์เสี่ยงผันผวนสูงในช่วงวันหยุดปลายสัปดาห์ โดยตลาดหุ้นสหรัฐวันพฤหัส Rebound แรงแต่วันศุกร์ปรับฐานอีกครั้งโดยดัชนี Dow Jones ปิด -1.34%, NASDAQ -3.1% โดย Sector ในดัชนี S&P500 ปรับลงทุกกลุ่ม โดยกลุ่มที่ติดลบมากสุด คือ Consumer Discretionary  –3.8%, Energy -3.7%, Materials -3.4%   ปัจจัยกดดันตลาดหุ้นมาจากสหรัฐรายงานเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.ย.​ ที่ 8.2% YoY (มากกว่าคาดที่ 8.1% YoY) และเงินเฟ้อพื้นฐานที่ 6.6% YoY (มากกว่าคาดที่ 6.5% YoY)  และวันศุกร์มีการรายงานตัวเลข Michigan 5 Year Inflation Expectation ปรับตัวขึ้นเป็น 2.9% จากเดือนก่อนหน้าที่ 2.7% ทำให้ตลาดยังคงให้น้ำหนักการเร่งขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของ Fed  โดยคาดขึ้นอีก 75bps./ 75bps. ในการประชุมเดือน พ.ย.และ ธ.ค. ขณะเดียวกันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 2 ปีแตะระดับสูงสุดนับแต่ปี 2007 ที่ 4.5% ส่วนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปีปรับตัวขึ้นเหนือ 4% ตามลำดับ

ฝั่งเอเซีย Highlight คือ ปธน.สีจิ้นผิงของจีนกล่าวปาฐกถาเปิดการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ของจีนครั้งที่ 20 ว่าจีนจะยังคงทิศทางของนโยบายตามเดิม โดยมีการส่งสัญญาณว่าจะยังคงนโยบาย Zero-COVID และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับตลาดอสังหาฯตามเดิม หากจีนไม่ปรับนโยบาย KS มองเป็นลบต่อภาคการส่งออกและท่องเที่ยวของไทย   ในประเทศ : SET Index เมื่อวันพุธปิด 1560.7 จุด(-0.12%DoD) JMT +4.9%, CRC+1.3%, EA+1.2%, BBL+1.1% , JTS-6.7%,DELTA-3.9%  MINT-2%

ประเด็นที่ต้องติดตามต่อในสัปดาห์นี้

ในประเทศ : สัปดาห์นี้หลักๆคือ ผลประกอบการงวด 3Q65 ของบริษัทต่างๆ

1.) ติดตามการประกาศกำไร 3Q22 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดย นวค.​ ของ KS คาดจะโต 1% QoQ และ 26% YoY จากแรงหนุนของ loan growth (+6% YoY) และ credit cost ที่ลดลง (-37bps. YoY เป็น 119bps.) โดยธนาคารที่คาดจะรายงานกำไรเติบโตโดดเด่น YoY ได้แก่ KTB, TTB, KKP, SCB และ BAY

2.) ติดตามผลประกอบการ 3Q22 ของกลุ่ม Consumer Electronic และ Gadget ที่คาดว่าจะเห็นผลลบจากการชะลอตัวของการบริโภคสินค้า Consumer IT โดยล่าสุดบริษัทวิจัยตลาดเทคโนโลยี “การ์ทเนอร์” ระบุว่า การจัดส่งพีซีและแล็ปทอปทั่วโลก ใน 3Q22 มียอดรวมราว 68 ล้านเครื่อง ลดลงถึง 19.5% จากช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นการหดตัวครั้งใหญ่ในรอบกว่า 20 ปี

3.) ICT sector: ติดตาม กสทช. เคาะปิดดีลควบรวม DTAC-TRUE ในวันที่ 20 ต.ค. โดยต้องติดตามว่า กสทช. จะมีมาตรการเพื่อลดผลกระทบด้านลบอะไรบ้างหากอนุมัติ นอกจากนี้อาจต้องรอดูว่าผู้ประกอบการจะสามารถใช้คลื่นร่วมกัน หรือใช้แบรนด์เดียวกันได้หรือไม่ด้วย สำหรับกรณีที่ กสทช. ไม่อนุมัติคงต้องรอดูเหตุผลของ กสทช. และดูว่าทาง DTAC-TRUE จะฟ้องร้องต่อหรือไม่

4.) Transport sector:  ติดตามตัวเลขจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าเดือน ต.ค. หลังนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ คาดคนมางานสัปดาห์หนังสือที่ศูนย์สิริกิตติ์จำนวนมากหลังอั้นมานานถึง 3 ปีจากพิษโควิด มั่นใจยอดขายปีนี้รายได้เกินเป้า 300 ล้านบาท ผู้เข้าชมงานต่อคิวแน่น ที่จอดรถ 3 พันคันเต็มทุกวัน เผย 12 วันมีโอกาสทะลุ 1 ล้านคน จากวันธรรมดาที่คนมางาน 1 แสนคนต่อวันและ คาดเสาร์-อาทิตย์คนแห่มางาน 2 แสนคนต่อวัน มองจะเป็นปัจจัยหนุนต่อจำนวนผู้โดยสาร MRT และรถบนทางด่วน โดยล่าสุด BEM และ BTS รายงานจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าเดือน ก.ย.​ ที่ 3.44 แสนเที่ยวคนต่อวัน และ 4.76 แสนเที่ยวคนต่อวันตามลำดับ คิดเป็นการฟื้นตัวมาที่ 98% และ 69% ของระดับก่อนโควิดในปี 2019

ธีมการลงทุนแนะนำสัปดาห์นี้  : เน้นสะสมหุ้นแนวโน้มกำไรงวด 3Q65 จะออกมาแข็งแกร่ง โต QoQ, YoY  อาทิ   TU, ASIAN  กลุ่มธนาคาร อาทิ SCB, TTB (Valuation ถูกสุดที่ 0.4 เท่า เมื่อเทียบกับคู่แข็งเฉลี่ย 0.7 เท่า)  ส่วนกลุ่มที่แนะนำเก็งกำไรระยะสั้นจากราคาพลังงานปรับลงแนะนำกลุ่ม Anti commodity อาทิ PTG

ประเมินตลาดหุ้นไทยวันนี้คาด 1550-1570 จุด หุ้นแนะนำ PTG

Top pick :

PTG (ราคาทางพื้นฐาน 17.7 บาท) เราแนะนำเก็งกำไรจาก

1.) ราคาพลังงาน โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบ BRENT ปิดที่ US$91.63/bbl (-3.1% DoD)  โดย PTG  ผู้ได้ประโยชน์สูงสุดจากค่าการตลาดน้ำมันขายปลีกที่เพิ่มขึ้น หลังจากแนวโน้มราคาน้ำมันปรับตัวลง

2.) เราคาดการเติบโตของปริมาณการขายน้ำมันจะเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งในครึ่งปีหลัง จากผลกระทบที่รุนแรงน้อยลงของโควิด-19 ในประเทศ

3.) การเติบโตของปริมาณการขาย LPG ที่โดดเด่น จากการขยายธุรกิจเชิงรุกในกลุ่มก๊าซหุงต้ม และมีแผนที่จะเสนอขายหุ้น IPO สำหรับธุรกิจนี้ในปี 2565 อิงตามรายงานของผู้บริหารในการประชุมนักวิเคราะห์ไตรมาส 3/2564

4.) ธุรกิจ non-oil หลัก รวมถึง กาแฟพันธุ์ไทย และ ออโต้แบคส์ จะเริ่มคุ้มทุนและสร้างผลกำไรที่ดีในปี 2565

5.) ราคาหุ้นปัจจุบันยังซื้อขายค่อนข้างถูกคืออยู่ที่ PBV -1SD.

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันจันทร์ ติดตามการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 20 ของจีน (ระหว่าง 16 – 22 ต.ค.) ตัวเลข FDI ใน 9M22 ของจีนคาด +15% YoY (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ 16.4% YoY) และดอกเบี้ยนโยบาย MLF 1 ปีของจีนเดิมอยู่ที่ 2.75%
  • วันอังคาร ติดตามตัวเลข GDP 3Q22 ของจีนคาด +3.4% YoY (เทียบ 2Q22 ที่ +0.4% YoY) ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนเดือน ก.ย. คาด +4.5% YoY (ดีขึ้นจากเดือนก่อนที่ +4.2% YoY) ตัวเลข Fixed Asset Investment ใน 9M22 ของจีนคาด +6% YoY ตัวเลข Retail sales เดือน ก.ย.​ ของจีนคาด +3.3% YoY (เทียบ +5.4% YoY ของเดือนก่อนหน้า) ตัวเลข Zew Economic Sentiment Index เดือน ต.ค.​ คาด -66 จุด (แย่กว่าเดือนก่อนหน้าที่ -61.9 จุด) ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. คาด +0.1% MoM
  • วันพุธ ติดตามดัชนีราคาบ้านเดือน ก.ย. ของจีนคาด -1.5% YoY (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ -1.3% YoY) ตัวเลขเงินเฟ้ออังกฤษเดือน ก.ย. คาด +0.4% MoM และ 10% YoY (เทียบ 9.9% ของเดือนก่อนหน้า) ตัวเลข Core Inflation ของอังกฤษเดือน ก.ย.​ คาด +6.4% YoY ตัวเลข Housing starts ของสหรัฐฯ​ เดือน ก.ย. คาด -7% MoM เป็น 1.47 ล้านยูนิต ตัวเลข Building permits ของสหรัฐฯ เดือน ก.ย.​ คาด -2% MoM เป็น 1.48 ล้านยูนิต ปริมาณสต๊อกน้ำมันรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ และถ้อยแถลงของ Fed Bullard
  • วันพฤหัสฯ ติดตามตัวเลขการส่งออกและนำเข้าของญี่ปุ่นเดือน ก.ย.​คาด +27.1% YoY และ +45% YoY ตามลำดับ ตัวเลขดุลการค้าของญี่ปุ่นคาด -Y2167bn (เทียบเดือนก่อนที่ -Y2817bn) การกำหนดอัตราดอกเบี้ย Loan Prime Rate 1 ปีและ 5 ปีของจีนเดิมอยู่ที่ 3.65% และ 4.3% ตามลำดับ ดัชนี PPI ของเยอรมันเดือน ก.ย. คาด +44% YoY (จากเดือนก่อหน้าที่  +45.8% YoY) ตัวเลข Initial Jobless Claim ของสหรัฐฯ​ คาด +232K (จากสัปดาห์ก่อนที่ +228K) ตัวเลข Existing Homes Sales เดือน ก.ย.​ คาด -0.3% MoM เป็น 4.69 ล้านยูนิต ถ้อยแถลงของ Fed Jefferson, Fed Cook และ Fed Bowman
  • วันศุกร์ ติดตามตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ก.ย.​ ของญี่ปุ่น คาด 3.2% YoY ตัวเลข Retail sales ของอังกฤษเดือน ก.ย. คาด -0.5% MoM ตัวเลข Consumer Confidence Flash เดือน ต.ค. ของยูโรโซน คาด -30.3 จุด (แย่ลงจากเดือนก่อนหน้าที่ -28.8 จุด) และถ้อยแถลงของ Fed Williams
- Advertisement -