บล.กรุงศรีฯ:

สปสช. ปรับลดงบค่าตรวจโควิด RT-PCR ลง 26-35% เป็น 1,500-1,700 บาทต่อครั้ง และการตรวจด้วย Antigen test kit ลดลง 8-21% เป็น 450-550 บาทต่อครั้ง แต่เพิ่มรายการเบิกจ่ายบางรายการให้ผู้ป่วย ICU เฉลี่ย 34% และเพิ่มรายการเบิกจ่ายสำหรับผู้ป่วยใน  เราเชื่อว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้นจากผู้ป่วยใน จะไม่สามารถชดเชยรายได้ที่ลดลงจากการตรวจโควิด ซึ่งจะทำให้รายได้ใน 3Q-4Q ต่ำกว่าที่ตลาดคาด อย่างไรก็ตามโรงพยาบาลอาจมีการบรรเทาผลกระทบ โดยการเพิ่มจำนวนการตรวจ (อาจไม่สามารถทำได้), เพิ่มคนไข้เงินสดที่จ่ายค่าตรวจสูงกว่า, และใช้การตรวจ three-gene ที่มีราคาสูงกว่า เราแนะนำ ซื้อ BDMS (26บาท) และ CHG (4.5บาท); แนะนำ ถือ BCH (24บาท) และ BH (148บาท)

ปรับลดงบค่าตรวจโควิด แต่เพิ่มค่ารักษา

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ปรับลดงบการเบิกจ่ายค่าตรวจโควิด แบบ RT-PCR ลง 26-35% จาก 2,300บาท/ครั้ง เป็น 1,500-1,700บาท/ครั้ง และการตรวจด้วย Antigen test kit (ATK) ลง 8-21% โดยวิธี Chromatography จาก 450-550 บาทต่อครั้ง เป็น 450 บาทต่อครั้ง และวิธี FIA technic จาก 600-700 บาทต่อครั้งเป็น 550 บาทต่อครั้ง มีผลตั้งแต่ 1 ส.ค. อย่างไรก็ตาม สปสช. ได้เพิ่มเพดานค่ารักษาในบางรายการสำหรับคนไข้ ICU โดยเฉลี่ย 34% (มีผลตั้งแต่ 29 มิ.ย.) และอนุญาตให้เพิ่มรายการเบิกจ่ายผู้ป่วยในบางรายการ (มีผลตั้งแต่ 5 มี.ค.) ดูกราฟ 1-2

ผลกระทบเชิงลบ

เราเชื่อว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้นจากผู้ป่วย ICU และผู้ป่วยใน จะไม่สามารถชดเชยรายได้ที่ลดลงจากการตรวจโควิด  ซึ่งอาจทำให้รายได้ 3Q-4Q จะต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลอาจลดผลกระทบได้โดย:

  • เพิ่มจำนวนการตรวจขึ้น 33% จะช่วยคงระดับรายได้ได้ หรือรายได้จะลดลง 22% หากจำนวนการตรวจเท่าเดิม การคำนวณนี้อ้างอิงโครงสร้างรายได้การตรวจโควิดของ BCH (สปสช. 75%, เงินสด 20% และการตรวจ ATK 5%) ในสถานการณ์ปัจจุบันการเพิ่มจำนวนการตรวจอาจไม่สามารถทำได้เนื่องจากไม่มีเตียงรองรับสำหรับผู้ที่ผลตรวจเป็นบวก
  • เน้นคนไข้เงินสด ซึ่งคิดเป็น 20% ของรายได้การตรวจโควิดทั้งหมด เนื่องจากคนไข้กลุ่มนี้จ่ายค่าตรวจ 3,000 บาทต่อครั้ง
  • ใช้การตรวจวิธี three-gene (1,700 บาทต่อครั้ง) แทนการตรวจวิธี two-gene (1,500 บาทต่อครั้ง) และ Antigen Test Kit (450-550 บาทต่อครั้ง)
- Advertisement -