บล.พาย: 

SCB: บมจ. เอสซีบี เอกซ์ “หัวใจหลักคือปฏิบัติการ”

คงคำแนะนำ “ซื้อ” ด้วยราคาเป้าหมายที่ 144.00 บาท คาดส่วนแบ่งรายได้ดิจิทัลเพิ่มเป็น 30% จากปัจจุบันที่ 10% และกระตุ้นให้อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) สูงขึ้น บริษัทตั้งเป้า ROE ธุรกิจธนาคารรในหลักสิบต้น สำหรับปี 2025 และเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้บริษัทจะมุ่งเน้นการขยายสินเชื่อดิจิทัล (Gen 2) รวมถึงระบบนิเวศด้านดิจิทัลและสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้น (Gen 3) ทั้งนี้ กำไรสุทธิไตรมาส 3/22 ออกมาอยู่ที่ 1.03 หมื่นล้านบาท (+17% YoY, +3% QoQ)

การประชุมนักวิเคราะห์

  • กระบวนการโอนถ่ายธุรกิจคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 4/22 ซึ่งรวมถึงการโอนธุรกิจสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันของธนาคาร (ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญ และสินเชื่อส่วนบุคคล) มายัง CARD X โดย SCB จะมีภาษีจ่ายเพิ่มจากการโอนธุรกิจในไตรมาส 4/22 หลังจากจ่ายภาษีพิเศษไปแล้วก้อนหนึ่งในไตรมาส 3/22
  • SCB X ตั้งเป้าหมายการเติบโตรายได้เฉลี่ยที่ 10% ในปี 2022-25 ด้วยส่วนแบ่งธุรกิจดิจิทัลที่เพิ่มเป็น 1 ใน 3 ของรายได้รวม ด้วยเป้าหมายในการเร่งอัตราการเติบโตของกำไรที่เร็วยิ่งขึ้น และเพื่อบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ บริษัทจะเน้นธุรกิจ Gen 2 และ Gen 3 มากขึ้น โดยมีแผนการทำ IPO ธุรกิจ CARD X (ROE มากกว่า 20%) และ Innovest X (ROE 25%) ในปี 2025 และ AUTO (ROE มากกว่า 25%) ในปี 2027
  • สำหรับธุรกิจธนาคาร (Gen 1) ตั้งเป้าเร่งการเปลี่ยนระบบเป็นดิจิทัลให้เร็วขึ้น เพื่อนำเสนอบริการธุรกรรมรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น (ยอดขายดิจิทัล 20%-25%) ด้วยอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ที่สูงปานกลางระดับ 30% และ ROE หลักสิบต้นในปี 2025
  • SCB ประเมินว่าดอกเบี้ยนโยบายที่เพิ่มขึ้น 1% จะทำให้อัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) เพิ่มขึ้น 25-30bps สำหรับปีแรกที่ดำเนินงานเต็มปี

ผลประกอบการไตรมาส 3/22 สอดคล้องกับคาดการณ์

  • กำไรสุทธิไตรมาส 3/22 อยู่ที่ 1.03 หมื่นล้านบาท โต 17% YoY (+3% QoQ) หนุนจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่สูงขึ้นและการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง คุณภาพสินเชื่อปรับดีขึ้นด้วยอัตราส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL ratio) ที่ลดลงเหลือ 3.3%

ทิศทางการเติบโตคงเดิม

  • ด้วยภาษีจ่ายที่สูงกว่าคาดในปี 2022 เราจึงปรับลดประมาณการกำไรสุทธิลง 1% แม้ NIM ปรับดีขึ้นก็ตาม ด้วยเหตุนี้จึงคาดว่ากำไรสุทธิจะโต 14% ในปี 2022 ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2023-24 ขึ้น 2%-3% เพื่อสะท้อน NIM ที่สูงขึ้น ดังนั้นจึงคาดว่ากำไรสุทธิปี 2023-24 จะโต 17%/15% ตามลำดับ หนุน จากการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง และรายได้การดำเนินงานที่สูงขึ้น

คงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 144 บาท

  • คงคำแนะนำ “ซื้อ” เพราะมีแนวโน้มการเติบโตของกำไรที่มั่นคง คุณภาพสินเชื่อยืดหยุ่นดี และมูลค่าหุ้นน่าดึงดูด
  • ราคาเป้าหมายคำนวณด้วยวิธี Gordon growth model (ROE 10%, อัตราการเติบโต 2%) อิง 1.0x PBV’23E หรือ -0.5SD ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี (2017-2021)

สรุปผลประกอบการไตรมาส 3/22

  • กำไรสุทธิไตรมาส 3/22 อยู่ที่ 1.03 หมื่นล้านบาท (+17% YoY, +3% QoQ) การเติบโต YoY ได้แรงหนุนจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่สูงขึ้น และการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง ส่วนการเติบโตเล็กน้อย QoQ เป็นผลจากรายได้การดำเนินงานที่สูงขึ้นแต่ถูกหักลบโดยภาษีจ่ายที่สูงขึ้น ทั้งนี้ อัตราภาษีที่แท้จริงปรับเพิ่มเป็น 31.3% ในไตรมาส 3/22 (ไตรมาส 2/22: 21.4%) เป็นผลจากภาษีจ่ายส่วนเพิ่มจากการโอนธุรกิจ โดยบริษัทจะมีภาษีจ่ายส่วนเพิ่มอีกในไตรมาส 4/22
  • NIM โตขึ้น QoQ เป็น 3.3% หนุนจากอัตราผลตอบแทนสินเชื่อที่สูงขึ้น ในด้านอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ลดลงเหลือ 42.6% จากค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่สูงขึ้น
  • สินเชื่อลดลงเล็กน้อย 0.4% QoQ สืบเนื่องจากสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ SME สินเชื่อเช่าซื้อยานยนต์ที่ลดลง
  • คุณภาพสินเชื่อปรับดีขึ้น ด้วย NPL ratio ที่ลดลงเหลือ 3.3% จาก NPLs ในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่ลดลง อัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ปรับสูงขึ้น เป็น 164% เพียงพอต่อความไม่แน่นอนในอนาคต

Revenue breakdown

รายได้ของบริษัทในปี 2021 มาจาก 3 ด้านหลัก ประกอบด้วย

  • รายได้ดอกเบี้ยสุทธิคิดเป็น 67% ของรายได้ทั้งหมดของบริษัทในปี 2021 โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเป็นรายได้ส่วนที่มากที่สุด และหากสินเชื่อของธนาคารมีการเติบโตและ NIM ที่สูงขึ้น จะส่งผลให้รายได้ส่วนนี้ปรับตัวสูงขึ้น
  • รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการคิดเป็น 27% ของรายได้ทั้งหมดของบริษัทในปี 2021 โดยธุรกิจส่วนนี้ประกอบด้วยรายได้จากค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต ค่าธรรมเนียมประกันธนาคาร และค่าธรรมเนียม Wealth Management
  • รายได้จากการดำเนินงานอื่นๆ คิดเป็น 10% ของรายได้ทั้งหมดของบริษัทในปี 2021 รายได้จากการดำเนินงานอื่นๆ ส่วนใหญ่เกิดจากกำไรการลงทุนการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และเงินปันผล
- Advertisement -