บล.พาย: 

PTTGC: บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล “ธุรกิจปิโตรเคมีที่อ่อนแอและมีขาดทุนพิเศษครั้งเดียวในไตรมาส 3/22”

ลดคำแนะนำจากซื้อเป็น “ถือ” และลดราคาเป้าหมาย 19% จาก 53.00 บาท เป็น 43.00 บาท เพื่อสะท้อนถึงการปรับประมาณการกำไรปี 2022-23 และภาพรวมระยะกลางของกลุ่มปิโตรเคมีที่อ่อนแอ คาดกำไรไตรมาส 3/22 พลิกเป็นขาดทุน (จุดต่ำรอบ 10 ไตรมาส) ฉุดลงโดยทุกหน่วยธุรกิจ (โรงกลั่น โอเลฟินส์ อะโรเมติกส์ เคมีภัณฑ์สมรรถนะสูง) และรายการพิเศษรวมถึงขาดทุนสต็อกน้ำมัน ขาดทุนป้องกันความเสี่ยวและอัตราแลกเปลี่ยน ส่วนภาพรวมไตรมาส 4/22 ยังอ่อนแอ เพราะมีกำหนดการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นและโรงงานโอเลฟินส์ แต่เล็งเห็นโอกาสที่กำไรสุทธิจะฟื้นตัว เพราะผลกระทบที่ไม่มีนัยสำคัญจากรายการพิเศษ (ขาดทุนสต็อกน้ำมันและการป้องกันความเสี่ยง)

คาดผลประกอบการไตรมาส 3/22 พลิกเป็นขาดทุน

ประเมินถึงผลขาดทุนในไตรมาส 3/22 ที่ 8.8 พันล้านบาท เทียบกับกำไร 7.0 พันล้านบาทในไตรมาส 3/21 และ 1.4 พันล้านบาทในไตรมาส 2/22 โดยทุกหน่วยธุรกิจต่างมีส่วนในการปรับลดลงครั้งนี้ เช่น โรงกลั่น โอเลฟินส์ อะโรเมติกส์ และเคมีภัณฑ์สมรรถนะสูง ทั้งยังคาดว่าบริษัทจะบันทึกขาดทุนพิเศษจากรายการสต็อกน้ำมัน สัญญาป้องกันความเสี่ยง (ราคาน้ำมันดิบลดลง) จํานวน 8.1 พันล้านบาท และขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน 2.6 พันล้านบาทจากเงินบาทที่อ่อนค่าลง

ภาพรวมไม่สู้ดีในปี 2023-24

คาดกำไรปี 2023-24 ยังซบเซาจากราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลง (คาดลดลงจาก US$100/บาร์เรล ในปี 2022 เป็น US$85/บาร์เรล ในปี 2024) ที่น่าจะนำไปสู่ขาดทุนสต็อกน้ำมัน และการกลับสู่สภาวะปกติของส่วนต่างราคา ดีเซลและเชื้อเพลิงน่าจะฉุดค่าการกลั่นลง ในด้านโอเลฟินส์และอะโรเมติกส์คาดว่าถูกฉุดลงโดยสภาวะเศรษฐกิจถดถอยและเงินเฟ้อที่จะไปกระทบอุปสงค์ในกลุ่มยานยนต์ สิ่งทอ และบรรจุภัณฑ์ สำหรับอัตรากำไรจะเผชิญแรงกดดันจากกำลังการผลิตใหม่ในเอเชีย

ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2022-23 ลง 9%-95%

ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2022 ลง 95% เป็น 935 ล้านบาท และลดตัวเลขปี 2023 ลง 9% เป็น 1.79 หมื่นล้านบาท การปรับกำไรปี 2022 มีสาเหตุจาก 1) ขาดทุนป้องกันความเสี่ยงและอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงขึ้นเป็น 1.80 หมื่นล้านบาท 2) ส่วนต่างราคาโอเลฟินส์และอะโรเมติกส์ที่ลดลงจากโครงสร้างวัตถุดิบ และราคาผลิตภัณฑ์ที่ลดลงจากอุปสงค์ที่หดตัว

ลดคำแนะนำเป็น “ถือ” ด้วยราคาเป้าหมายที่ 43.00 บาท

ราคาเป้าหมายที่ 43.00 บาท อิง 0.6x PBV’23 หรือที่ -2SD ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี ราคาหุ้นที่ลดลง 6% ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา และ 29% YTD รวมถึงภาพรวมทําไรครึ่งหลังปี 2022 ที่อ่อนแอน่าจะยังคงกดดันทิศทางราคาหุ้นต่อไปในระยะสั้น

คาดผลประกอบการไตรมาส 3/22 พลิกเป็นขาดทุน

  • ประเมินถึงผลขาดทุนในไตรมาส 3/22 ที่ 8.8 พันล้านบาท เทียบกับกำไร 7.0 พันล้านบาทในไตรมาส 3/21 และ 1.4 พันล้านบาทในไตรมาส 2/22 โดยทุกหน่วยธุรกิจต่างมีส่วนในการปรับลดลงครั้งนี้ เช่น โรงกลั่น โอเลฟินส์ อะโรเมติกส์ และเคมีภัณฑ์สมรรถนะสูง ทั้งยังคาดว่าบริษัทจะบันทึกขาดทุนพิเศษจากรายการสต็อกน้ำมัน สัญญาป้องกันความเสี่ยง (ราคาน้ำมันดิบลดลง) จำนวน 8.1 พันล้านบาท และขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน 2.6 พันล้านบาทจากเงินบาทที่อ่อนค่าลง
  • การปรับลดลงอย่างมาก QoQ ของส่วนต่างราคาดีเซลและน้ำมันเตาที่ US$8.0/บาร์เรล และ US$13.0/บาร์เรล ตามลำดับ คาดว่าปัจจัยนี้จะฉุดค่าการกลั่นลงเป็น US$10/บาร์เรล ในไตรมาส 3/22 ชะลอลงจากยอดสูงที่ US$21.1/บาร์เรลในไตรมาส 2/22
  • ส่วนแบ่งจากโอเลฟินส์จะถูกฉุดลงจากส่วนต่างราคา HDPE ที่อ่อนแอที่ลดลงมาอยู่ต่ำ US$400/ตัน หรือจุดต่ำเป็นประวัติการณ์ สืบเนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น (ราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น) และราคาผลิตภัณฑ์ที่ลดลงจากอุปสงค์ที่หดตัวเพราะสภาวะเศรษฐกิจถดถอยและการล็อกดาวน์ในจีน
  • ส่วนต่างราคา PX และ BZ ที่อ่อนแอเป็นผลจากกำลังการผลิตใหม่ในจีน (PX 7.5 ล้านตันต่อปี) ที่คาดว่าจะฉุดส่วนแบ่งอะโรเมติกส์ลดลง QoQ สำหรับธุรกิจเคมีภัณฑ์สมรรถนะสูงจะได้รับผลกระทบจากส่วนต่างราคา BPA ที่ลดลง 75% QoQ ในไตรมาส 3/22

ภาพรวมไม่สู้ดีในปี 2023-2024

  • คาดกำไรซบเซาไปถึงไตรมาส 4/22 หลังจากธุรกิจปิโตรเคมีมีผลงานชะลอตัวลง (สืบเนื่องจากส่วนต่างราคาโอเลฟินส์ อะโรเมติกส์ และเคมีภัณฑ์สมรรถนะสูงที่อ่อนแอ) กลุ่มโรงกลั่นจะได้รับผลกระทบจากอัตราการดำเนินงานด้านน้ำมันดิบและปริมาณขายที่ลดลง เพราะมีกำหนดการปิดซ่อมบำรุงโรงงานเป็นเวลา 60 วันในไตรมาส 4/22 แต่คาดกำไรสุทธิจะฟื้นตัว QoQ เพราะคาดถึงผลกระทบที่ไม่มีนัยสำคัญจากรายการพิเศษ (ขาดทุนสต็อกน้ำมันและการป้องกันความเสี่ยง)
  • คาดภาพรวมกำไรปี 2022 ที่ไม่ดีจากฐานสูงในปี 2021 แม้ค่าการกลั่นฟื้นตัวแข็งแกร่งมายืนเหนือช่วงก่อนโควิด-19 แต่กำไรสุทธิของบริษัทจะถูกตอกย้ำจากแรงกดดันด้านอัตรากำไรปิโตรเคมีที่ต่ำ ซึ่งเป็นผลจาก 1) ต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นทั้งในส่วนแนฟทาและอีเทน 2) โครงสร้างวัตถุดิบโอเลฟินส์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น อีเทนต้นทุนต่ำที่ลดลงเหลือ 40% จาก 60% และ 3) อุปสงค์ที่อ่อนแอลงและอุปทานล้นตลาดของอะโรเมติกส์ และเคมีภัณฑ์สมรรถนะสูง
  • คาดกำไรปี 2023-24 ยังซบเซาจากราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลง (คาดลดลงจาก US$100/บาร์เรล ในปี 2022 เป็น US$85/บาร์เรล ในปี 2024) ที่น่าจะนำไปสู่ขาดทุนสต็อกน้ำมันและการกลับสู่สภาวะปกติส่วนต่างราคาดีเซลและเชื้อเพลิงน่าจะฉุดค่าการกลั่นลง ในด้านโอเลฟินส์และอะโรเมติกส์คาดว่าถูกฉุดลง โดยสภาวะเศรษฐกิจถดถอยและเงินเฟ้อที่จะไปกระทบอุปสงค์ในกลุ่มยานยนต์ สิ่งทอ และบรรจุภัณฑ์

ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2022-23 ลง 9%-95%

  • ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2022 ลง 95% เป็น 935 ล้านบาท และลดตัวเลขปี 2023 ลง 9% เป็น 1.79 หมื่นล้านบาท
  • การปรับกำไรปี 2022 มีสาเหตุจาก 1) ขาดทุนป้องกันความเสี่ยงและอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงขึ้นเป็น 1.80 หมื่นล้านบาท 2) ส่วนต่างราคาโอเลฟินส์และอะโรเมติกส์ที่ลดลงจากโครงสร้างวัตถุดิบ และราคาผลิตภัณฑ์ที่ลดลงจากอุปสงค์ที่หดตัว คาดว่าส่วนต่างราคาโอเลฟินส์และอะโรเมติกส์จะยังอ่อนแอในปี 2023 จึงปรับตัวเลขตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
  • ปรับประมาณการรายได้ปี 2022-23 ขึ้น 35% และ 32% ตามลำดับ จากราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่สูงขึ้น หลังราคาน้ำมันดิบปี 2023 ปรับเพิ่มเป็น US$100/บาร์เรล (+42% YoY)

ลดคำแนะนำเป็น “ถือ”

  • ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 43.00 บาท อิง 0.6x PBV’23 หรือที่ -2SD ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี สะท้อนภาพรวมธุรกิจปิโตรเคมีที่อ่อนแอ ในช่วงปี 2023-24 และปัจจัยเสี่ยงด้านกำไรที่ตามมา
  • ราคาหุ้นที่ลดลง 6% ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา และ 29% YTD รวมถึงภาพรวมกำไรครึ่งหลังปี 2022 ที่อ่อนแอน่าจะยังคงกดดันทิศทางราคาหุ้นต่อไปในระยะสั้น

Revenue breakdown

  • โอเลฟินส์คิดเป็น 48% ของ EBITDA ทั้งหมดของบริษัท โดยบริษัทมีโรงงานโอเลฟินส์ทั้งหมด 4 แห่ง (2.9 MTA) และมีกำลังการผลิตโพลีเมอร์อยู่ที่ 3.3 MTA
  • โรงกลั่น (คิดเป็น 3% ของ EBITDA ทั้งหมด) ธุรกิจนี้เกี่ยวข้องกับการกลั่นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและการจำหน่ายเพื่อการบริโภคภายในประเทศ โรงกลั่นของบริษัทมีกำลังการผลิต 145KBD (ไม่รวมเครื่องแยกคอนเดนเสท 135KBD)
  • บริษัทผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและบรรจุภัณฑ์ธุรกิจส่วนนี้คิดเป็น 12% ของ EBITDA ทั้งหมด
  • กลุ่มเคมีภัณฑ์สมรรถนะสูงเป็นส่วนประกอบหลักในอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมพลาสติกวิศวกรรม ส่วนนี้คิดเป็น 32% ของ EBITDA ทั้งหมด
  • ส่วนสุดท้าย เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม (คิดเป็น 3% ของ EBITDA ทั้งหมด) เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมี
- Advertisement -