บล.พาย: 

DTAC: บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น “กําไรไตรมาส 3/22 ต่ำคาด”

คงคำแนะนำ “ถือ” ราคาเป้าหมาย 47.76 บาท อิงราคาเสนอขาย ทั้งนี้ กสทช. มีมติลงคะแนนเสียง 3 ต่อ 2 อนุมัติการควบบริษัทแบบมีเงื่อนไข โดยยังไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดของเงื่อนไขอย่างเป็นทางการ ส่วนกำไรปกติไตรมาส 3/22 อยู่ที่ 341 ล้านบาท (-60% YoY, -41% QoQ) ต่ำกว่าคาด 55% เพราะขาดทุนมากขึ้นจากการขายมือ ถือ ต้นทุนบริการ และดอกเบี้ยจ่ายที่สูงขึ้น ขณะที่รายได้ยังทรงตัว

กสทช. อนุมัติดีล TRUE-DTAC

  • ข้อมูลจากบางกอก โพสต์ (วันที่ 22 ต.ค.) ระบุถึงมาตรการสำหรับดีล 1) การแยกคลื่นความถี่และบริการช่วง 3 ปีแรก และ 2) การลดค่าบริการลงเฉลี่ย 12% ภายใน 30 วัน เราคาดว่ามาตรการเหล่านี้จะบั่นทอนผลประโยชน์ร่วมและการประหยัดต้นทุนของบริษัทใหม่ลง ซึ่งเป็นหัวใจหลักของดีลตั้งแต่ต้น
  • เมื่อ TRUE และ DTAC ได้รับหนังสือชี้แจงเงื่อนไขอย่างเป็นทางการก็จะเดินหน้าสู่กระบวนการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์โดยสมัครใจ (VTO) ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผนการ ขั้นตอนที่เหลือจะใช้เวลาราว 3 เดือนกว่าจะแล้วเสร็จ แต่ถ้าอิงจากดีล Axiata-Celcom ในมาเลเซีย เราคาดว่าดีลนี้จะแล้วเสร็จในช่วงไตรมาส 1/23 หรือในครึ่งแรกของปี 2023 มากกว่า
  • ผู้บริหารให้ความเห็นว่าการจ่ายปันผลจะผลกระทบราคา tender offer ของบริษัท โดยผลประกอบการ DTAC 9M22 ลดลง 30%YoY สู่ระดับ 2.2 พันล้านบาท ทั้งนี้เราคาดว่าผลกระทบต่อราคา tender offer ไม่มากนักแต่อาจจะกระทบกับเงินปันผลต่อหุ้นบ้างเล็กน้อย แต่โดยสรุปแล้ว ราคาจะอยู่ที่ 47-47.76 บาท/หุ้น

ARPU ลดลง แต่ชดเชยโดยลูกค้าใหม่จำนวนมาก

บริษัทปิดไตรมาส 3/22 ด้วยจำนวนสมาชิกที่ 21 ล้านราย (+1.779 ล้านราย YoY, +7.76 แสนราย QoQ) เพิ่มขึ้นมากสุดตั้งแต่ไตรมาส 1/19 แต่จำนวนสมาชิกใหม่สุทธิ YoY และ QoQ ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าเติมเงิน เพราะกลุ่มรายเดือนลดลง YoY และ QoQ ขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมาย (ARPU) โดยรวมลดลงเหลือ 222 บาท (-7.7% YoY, -3.5% QoQ) เป็นผลจากสภาพเศรษฐกิจที่ไม่เป็นใจที่บีบให้ผู้ใช้บริการพากันเปลี่ยนไปใช้แพ็คเกจที่ราคาถูก กว่าในช่วงที่ผู้ประกอบการแข่งกันลดราคา คาดว่า ARPU จะยังอยู่ภายใต้แรงกดดันจนกว่าเศรษฐกิจจะปรับดีขึ้นและดีล TRUE-DTAC แล้วเสร็จ

คงคำแนะนำ “ถือ” ราคาเป้าหมายที่ 47.76 บาท

แต่ถ้าดีลล่ม เราจะกลับไปอิงราคาเป้าหมายที่ 31.90 บาท คำนวณด้วยวิธีคิดลดเงินสด (DCF) (WACC 9.0%, TG: 2%)

สรุปผลประกอบการไตรมาส 3/22

  • กำไรสุทธิออกมาอยู่ที่ 488 ล้านบาท (-41% YoY, -51% QoQ) ประกอบด้วยกำไรจากสินไหมทดแทน 170 ล้านบาท จากคลังสินค้าที่เสียหายในไตรมาส 2/22 มูลค่า 560 ล้านบาท หากไม่รวมรายการพิเศษ กำไรปกิตในไตรมาสจะอยู่ที่ราว 341 ล้านบาท (-60% YoY, -41% QoQ) การปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญทั้ง YoY และ QoQ เป็นผลจาก 1) ขาดทุนมากขึ้นจากการขายมือถือ 2) ต้นทุนบริการที่สูงขึ้น และ 3) ดอกเบี้ยจ่ายที่สูงขึ้น
  • รายได้ไตรมาส 3/22 อยู่ที่ 2.0 หมื่นล้านบาท (+4% YoY, ทรงตัว QoQ) การเติบโต YoY ได้แรงหนุนจากยอดขายมือถือที่สูงขึ้น เพราะการเปิดตัว iPhone 14 (iPhone 13 เปิดตัวไตรมาส 4/21) ส่วนรายได้ที่ทรงตัว QoQ เป็นเพราะรายได้บริการและยอดขายมือถือที่ทรงตัว
  • บริษัทปิดไตรมาส 3/22 ด้วยจำนวนสมาชิกที่ 21 ล้านราย (+1.779 ล้านราย YoY, +7.76 แสนราย QoQ) เพิ่มขึ้นมากสุดตั้งแต่ไตรมาส 1/19 แต่จำนวนสมาชิกใหม่สุทธิ YoY และ QoQ ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าเติมเงิน เห็นได้จาก ARPU โดยรวมที่ลดลงเหลือ 222 บาท (-7.7% YoY, -3.5% QoQ) และจากสัดส่วนกลุ่มเติมเงินที่คิดเป็น 71% ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดในไตรมาส 3/22 เทียบ 69% ในไตรมาส 2/22 และ 68% ในไตรมาส 3/21 สาเหตุที่ลูกค้าเติมเงินมีสัดส่วนสูงขึ้น เพราะ 1) จำนวนนักท่องเที่ยวที่ไหลเข้ามา และ 2) การย้ายจากแพ็คเกจรายเดือนเป็นเติมเงิน สืบเนื่องจากเงินเฟ้อที่สูงและเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าที่ไปกระทบการใช้จ่ายผู้บริโภค จนผู้ใช้บริการต้องหันไปใช้แพ็คเกจที่ถูกกว่าที่ถูกนำเสนอผ่านการแข่งขันด้านราคาระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการ
  • อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ไตรมาส 3/22 อยู่ที่ 22.1% (-3.9ppts YoY, -2.1ppts QoQ) สาเหตุที่ GPM หดตัวลง YoY และ QoQ เป็นเพราะขาดทุนจากการขายมือถือ (DTAC เสียเงินกับการขายมือถือตั้งแต่ปี 2018) อีกสาเหตุคือต้นทุนบริการที่สูงขึ้น (สัดส่วนต้นทุนบริการต่อรายได้บริการปกติอยู่ที่ 92% ในไตรมาส 3/22 89% ในไตรมาส 2/22 และ 88% ในไตรมาส 3/21)

Revenue breakdown

บริษัทมีรายได้จาก 3 แหล่งหลักคือ:

  • บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่คิดเป็น 71% ของรายได้รวมของบริษัทในปี 2021 โดยบริษัทมีจำนวนผู้ใช้บริการรวม 19.6 ล้านราย 68% เป็นลูกค้าในระบบเติมเงิน (การชำระเงินตามความต้องการและการใช้งานที่จำกัด) และส่วนที่เหลือเป็นลูกค้าระบบรายเดือน (การชำระเงินหลังการใช้บริการ โดยมีระดับของการส่งข้อมูลที่แตกต่างกันหลายระดับ)
  • รายได้ส่วนอื่นๆ คิดเป็น 18% ของรายได้รวม ซึ่งเกี่ยวกับการให้บริการ IDD (การโทรระหว่างประเทศ) และบริการสื่อดิจิทัลอื่นๆ
  • การจำหน่ายเครื่องโทรศัพท์และชุดเลขหมายคิดเป็น 11% ของรายได้รวมของบริษัท โดยธุรกิจส่วนนี้เกี่ยวข้องกับการขายซิมและอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ ซึ่งมักจะจำหน่ายควบคู่ไปกับบริการโทรศัพท์มือถือ แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วบริษัทจะรับรู้ขาดทุนจากส่วนธุรกิจนี้ (GPM เฉลี่ย 3 ปี -123%) แต่การขาดทุนจะได้รับการชดเชยด้วยการขยายฐานผู้ใช้บริการใหม่
- Advertisement -