บล.ฟิลลิป:

ธนาคารเกียรตินาคินภัทร – KKP: พยายามโตต่อในสถานการณ์ที่ยาก

Key Point

KKP ยังคงเป็นธนาคารที่มีความสามารถในการเติบโตที่ดี และมีความโดดเด่นด้านตลาดทุนด้วย นอกจากธุรกิจธนาคารที่น่าจะเติบโตต่อใน 4Q65 KKP จะยังมีดีล IPO ขนาดใหญ่รออยู่ ซึ่งน่าจะทำให้ผลประกอบการได้ลุ้นทำ New high ได้ นอกจากนี้ KKP ยังเป็นธนาคารที่มีเงินปันผลโดดเด่น คงราคาพื้นฐาน 86 บาท ยังแนะนำ “ซื้อ”

สินเชื่อโตเด่นสุดในปี 65 และพยายามโตต่อในปี 66

KKP ยังคงมีสินเชื่อเติบโตโดดเด่นใน 3Q65 โดยโตอีกถึง 6.9% q-q และทำให้ 9 เดือนสินเชื่อโตถึง 17.3% ytd เป็นธนาคารที่สินเชื่อเติบโตสูงที่สุดในปี 65 ซึ่งเกินกว่าเป้าทั้งปีที่ทาง KKP ตั้งไว้ที่ 10 – 15% ไปแล้ว โดยสินเชื่อที่เติบโตสูงในไตรมาสนี้ยังมาจากสินเชื่อบรรษัทหรือสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งเติบโตถึง 19.5% q-q ตามมาด้วยสินเชื่อรายย่อยที่เติบโต 5.6% q-q และสินเชื่อธุรกิจ หรือสินเชื่อ SME เติบโต 3% g-q ส่วนในปี 66 ยังคาดเติบโตได้ต่อ แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวดี และการแข่งขันที่รุนแรง การเติบโตอาจจะไม่เท่ากับปี 65

มองว่าอัตราดอกเบี้ยใหม่ของ สคบ. กระทบไม่มาก

อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อที่ทาง สคบ. ประกาศออกมาว่ารถยนต์ใหม่ให้คิดที่ 10% รถเก่าคิดที่ 15% และรถมอเตอร์ไซค์ที่ 23% จะกระทบกับ KKP ไม่มาก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก คือ สินเชื่อรถมอเตอร์ไซค์ ซึ่งผู้ประกอบการจะคิดในระดับ 30% ขึ้นไป แต่ถูกปรับลดลงมาเหลือ 23% โดย KKP นั้นไม่ได้ทำธุรกิจนี้ ส่วน KKP มีสินเชื่อเช่าซื้อรถเก่าคิดเป็น 60% ของพอร์ต ซึ่งมีแค่ส่วนน้อยเท่านั้นที่คิดอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่ สคบ. กำหนด

NPL ยังเพิ่มขึ้นได้ต่อ แต่คาดไว้แล้ว และสำรองมีเพียงพอ

ถึงแม้ว่า NPL ใน 3Q65 ยังทรงตัวอยู่ที่ 3% เท่ากับ 2Q65 แต่ทาง KKP คาดว่า NPL จะเพิ่มสูงขึ้นอีก จากเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวดี และน้ำท่วมอาจจะส่งผลกระทบด้วย อย่างไรก็ตาม ทาง KKP คาดว่า NPL ณ สิ้นปีจะอยู่ที่ประมาณ 3.3% ในขณะที่มองว่าระดับสำรองที่มีอยู่ในขณะนี้มีเพียงพอแล้ว

ยังคงประมาณการ

จากผลประกอบการรายไตรมาสที่ทำ New high อย่างต่อเนื่อง ทางฝ่ายคาดว่าผลประกอบการปี 65 จะทำ New high ด้วยที่ 7.8 พันลบ. เพิ่มขึ้น 24% y-y และคาดว่าจะมีการจ่ายปันผล 5 บาท/หุ้น คิดเป็น Div. yield 6.9% มีการจ่ายระหว่างกาลไปแล้ว 1.75 บาท/หุ้น

ความเสี่ยง

  1. ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย
  2. ความเสี่ยงด้านเครดิต
  3. การเปลี่ยนแปลงของกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน

 

- Advertisement -