บล.เคจีไอ (ประเทศไทย):
Bank Sector: ราคาหุ้นได้สะท้อนโหมดการทำธุรกิจแบบระมัดระวังไปแล้ว
Event
สรุปผลประกอบการ 3Q65 และอัพเดตแนวโน้มกลุ่มธนาคาร
Impact
ผลประกอบการ 3Q65 – รายได้จากธุรกิจหลักยังอ่อนแอ
กำไรสุทธิรวมของกลุ่มธนาคารเพิ่มขึ้น 3% และ 28% YoY ใน 3Q65 และเพิ่มขึ้น 13% YoY ในงวด 9M65 โดยปัจจัยสำคัญได้แก่ 1) margin ที่เพิ่มขึ้นทำให้ NII เพิ่มขึ้น 5% QoQ และ 12% YoY ใน 3Q65 และเพิ่มขึ้น 9% YoY ในงวด 9M65 2) รายได้ค่าธรรมเนียมทรงตัวอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สอง 3) credit cost ลดลงเล็กน้อย 4) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นในระดับปานกลาง ทั้งนี้ ในขณะที่กำไรโตในระดับปานกลาง แต่สินเชื่อขยายตัวเพียงเล็กน้อย เพราะมีการชำระคืนหนี้สินเชื่อธุรกิจ และหลายธนาคารมีผลขาดทุน FVTPL (จากการลงทุนในหุ้น)
ธนาคารต่างๆ นำรายได้ส่วนเกินจาก margin ที่เพิ่มขึ้นไปหักเป็นค่าใช้จ่ายพิเศษ
ในขณะที่ margin ของทุกธนาคารดีขึ้นของ BBL เพิ่มมากที่สุดถึง 24bps QoQ และ YoY เนื่องจากสินเชื่อระหว่างประเทศขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นมากกว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศ รองลงมาคือ TTB TISCO และ SCB ซึ่ง NIM เพิ่มขึ้นจากการขยายสินเชื่อรายย่อยที่ yield สูง อย่างไรก็ตาม ธนาคารต่างๆ นำรายได้พิเศษจาก margin ที่เพิ่มขึ้นไปหักเป็นค่าใช้จ่ายพิเศษ โดย BBL ตั้งสำรองหนี้เสียพิเศษเพื่อเพิ่มส่วนรองรับหนี้เสีย ในขณะที่ SCB นำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายพิเศษในการแปลงเป็น SCBX ส่วน TISCO นำไปหักล้างกับผลขาดทุนพิเศษจาก FVTPL
บริหารจัดการให้ NPL ลดลงจากการ write-off หนี้เสีย
NPL เกิดใหม่ในภาพรวมเพิ่มขึ้นใน 3Q65 จากสินเชื่อกลุ่ม SME และ H/P ดังจะเห็นได้จาก NPL ของสินเชื่อ H/P ของ KKP BAY และ TTB ซึ่งมีการปล่อยกู้สินเชื่อ H/P สูง นอกจากนี้ NPL ของกลุ่ม SME ของทุกธนาคารยังสูงขึ้นด้วย ทำให้ KBANK และ SCB ต้อง write-off หนี้เสียกลุ่มนี้อย่างหนัก ในขณะที่แนวโน้มยังคงผันผวนต่อเนื่องใน 4Q65 เนื่องจากสภาวะน้ำท่วมอย่างหนัก อย่างไรก็ตาม NPL ของสินเชื่อธุรกิจยังนิ่งกว่า และธนาคารต่างๆ สามารถทำรายได้ได้มากขึ้น ดังนั้นประเด็นทางด้านคุณภาพสินทรัพย์จึงยังอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้
ธนาคารเปลี่ยนท่าทีเป็นระมัดระวังกับภาวะเศรษฐกิจมากขึ้น แต่ความเสี่ยงต่อประมาณการกำไรยังต่ำ SCB และ KBANK หันมาระมัดระวังมากขึ้นกับแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจ เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศเผชิญความท้าทายมากขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจโลกขาลง โดยเฉพาะ KBANK ซึ่งปรับมาเน้นทางด้านคุณภาพสินทรัพย์ และเพิ่มส่วนรองรับหนี้เสีย ซึ่งอาจจะทำให้คชจ.สำรองฯ(credit cost) เพิ่มขึ้นใน 4Q65 อย่างไรก็ตาม กำไรสุทธิรวมของกลุ่มธนาคารในงวด 9M65 คิดเป็นประมาณ 80% ของประมาณการกำไรเต็มปี กำไรของทั้งปียังอยู่ภายใต้ประมาณการณ์ แม้ว่าจะมีคชจ.พิเศษเพิ่มขึ้น
Risks
NPLs เพิ่มขึ้น และกันสำรองเพิ่มขึ้น, รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง, ผลขาดทุน FVTPL จากการลงทุน