KS Daily View 31.10.2022 : ตลาดหุ้นไทยวันนี้คาดแกว่งตัว 1600 -1616 จุด รอประชุม Fed 2 พ.ย.,ในประเทศโฟกัสหลักอยู่ที่รายงานงบฝั่ง Real sector หุ้นแนะนำวันนี้เน้นหุ้นโมเมนตัมกำไรเติบโตต่อเนื่อง อาทิ BBIK ตามหุ้น Tech ต่างประเทศที่ขึ้นแรง และ CPN หนุนจากกระแสเปิดเมือง

ประเด็นที่เกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์

ต่างประเทศ : ภาพรวมตลาดหุ้นทั่วโลกแกว่งตัว แต่ฝั่งสหรัฐปรับขึ้นแรง อิงดัชนี Dow Jones +2.6%, NASDAQ +2.87% โดย Sector ในดัชนี S&P500 กลุ่มที่ปรับขึ้นมากที่สุดคือ กลุ่ม IT +4.5%, กลุ่ม Communication Services 2.9%, Utilities 2.85%, Financials +2.5%ฯลฯ

ในประเทศ : SET Index เมื่อวานปิด 1606.1 จุด (0.23%DoD)หุ้นที่ปรับขึ้นนำโดย DELTA+6.4%, MAKRO+2.9% , PTTEP+2.6%, PTT+1.4% หุ้นที่ปรับลงหลักๆคือ JKN -13.9%, JMT-2.6%, BH -1.3%

ประเด็นที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

ต่างประเทศ:

1.) ติดตามทางการรัสเซียประกาศระงับการมีส่วนร่วมในข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อให้ยูเครนส่งออกธัญพืชจากท่าเรือทะเลดำ เนื่องจากยูเครนส่งโดรนโจมตีกองเรือของรัสเซีย ในทะเลดำ ในเซวาสโทพอล ไครเมีย อาจเป็น sentiment เชิงลบต่อหุ้นที่ใช้ข้าวสาลีเป็นวัตถุดิบ (RBF SNNP TFMAMA) จากราคาข้าวสาลีที่อาจปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงเรือแห้งเทกอง (PSL, TTA)

2.) ติดตามพัฒนาการหลังประธานาธิบดีโจ ไบเดน มีกำหนดเยือนเมืองชาร์ม เอล-ชีค ของอียิปต์ 11 พ.ย. นี้ เพื่อเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามกรอบของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 27 หรือ “COP27”ต่อจากนั้น ผู้นำสหรัฐจะเดินทางต่อไปยังกัมพูชา เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นนำ ASEAN ที่กรุงพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชา ระหว่าง 12-13 พ.ย. นี้ ถัดไปประชุม G20 ที่เกาะบาหลีของอินโดนีเซีย ระหว่าง 15-16 พ.ย. โดยจะส่งรองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริส จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC ที่กรุงเทพฯ โดยหุ้นที่เกี่ยวข้องกับธีม Green Energy และ Carbon credit อาจมีแรงเก็งกำไรในช่วงการประชุม COP27

3.) ติดตามถ้อยแถลงของนาย Powell คืนวันพุธนี้ หากมีการส่งสัญญาณชะลอการขึ้นดอกเบี้ยคาดจะทำให้ USD อ่อนค่า เป็นบวกกับหุ้นโรงไฟฟ้าที่มีหนี้ USD เยอะ เช่น EGCO และ BGRIM

ในประเทศ:

1.) ติดตามร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กัญชากัญชง พ.ศ. ของพรรคภูมิใจไทย เตรียมกลายเป็น “วาระเดือด” ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สัปดาห์ที่ 2 ทันทีเมื่อสภาเปิดเทอม 1 พฤศจิกายน ทั้งนี้วาระดังกล่าวจะมีผลโดยตรงต่อหุ้นในกลุ่ม F&B

2.) 3Q22 earnings results: ติดตามการประกาศผลประกอบการในสัปดาห์หน้าได้แก่ TU (คาด 2,180 ลบ. +34.3% QoQ, +12.6% YoY) HENG (คาด 106 ลบ. +18.4% QoQ, -6.2% YoY) ADVANC (คาด 5,553 ลบ. -11.9% QoQ, -12.9% YoY) FTREIT (คาด 635 ลบ. -17.5% QoQ, -3.6% YoY) LPN (คาด 75 ลบ. -49.1% QoQ, +183.5% YoY) GPSC (คาด 305 ลบ. -55% QoQ, -84% YoY) BE8 (คาด 35 ลบ. +17% QoQ, +67% YoY) RCL (คาด 4,457 ลบ. -39.4% QoQ, +19.5% YoY)

3.) ติดตาม AAI เริ่มเทรด 1 พ.ย. นี้ ราคา IPO 5.55 บาท คิดเป็น PE ประมาณ 17x โดยนายชนินทร์ ชลิศราพงศ์” นายกสมาคมการค้าอาหารสัตว์เลี้ยงไทย ได้ให้สัมภาษณ์กับทางประชาชาติธุรกิจว่า ปีนี้อุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยงเติบโตสูงมาก แค่ 9 เดือนแรกของปีนี้ ส่งออกแล้ว 7.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.41% ปัจจุบันส่งออกไป 80 ประเทศทั่วโลก โดยตลาดส่งออกสําคัญ คือ สหรัฐอเมริกา 21,520.36 ล้านบาท (+59.11%) ญี่ปุ่น 8,411.20 ล้านบาท (+6.56%) และอิตาลี 4,821.45 ล้านบาท (+52.59%) ทำให้คาดว่าทั้งปีจะทำยอดส่งออกรวมได้เกิน 1 แสนล้านบาท และจะยังโต double digit ได้อีกหลายปี เนื่องจากคนไม่ลดค่าใช้จ่ายอาหารสัตว์เลี้ยงเลย เพราะเขารักเหมือนลูก ยังไงก็ต้องจ่าย เพราะเขากลัวว่าถ้าอาหารไม่ดีก็เข้าโรงพยาบาล ยิ่งจ่ายหนักกว่า ไทยมีข้อได้เปรียบจากต้นทุนและคุณภาพ อีกทั้งยังได้รับการยกเว้นภาษีตามข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ด้วย

ธีมแนะนำลงทุนหุ้นประจำสัปดาห์ :

1.) กลุ่ม Tech consult อาทิ BBIK, BE8 ได้ประโยชน์จาก Bond yield ปรับลงจากคาดเงินเฟ้อเริ่มชะลอ และหุ้น Tech สหรัฐปรับขึ้นปลายสัปดาห์

2.) ธีมหุ้นได้ประโยชน์เปิดเมือง อาทิ LH, CPN

ประเมินตลาดหุ้นไทยวันนี้คาด 1600-1616 จุด หุ้นแนะนำ BBIK, CPN

Top pick :

  • BBIK (ราคาทางพื้นฐาน 104.35 บาท) 1.)คาดบริษัทจะรายงานกำไรสุทธิที่เติบโตขึ้นแข็งแกร่งในไตรมาส 3-4/2565 2.)ยังคงมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มรายได้ปี 2565 จากยอด Backlog ที่แข็งแกร่งที่ 447 ลบ. ในไตรมาส 2/2565 เราคาดว่ากำไรจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งในปี 2565-67 ด้วย CAGR ที่ 64% 3.)ได้ Sentiment บวกตามหุ้น Growth และกลุ่มTech ต่างประเทศที่กลับมาฟื้นตัวตั้งแต่ต้นสัปดาห์
  • CPN (ราคาทางพื้นฐาน 74.25 บาท) 1.) คาด CPN จะรายงานกำไร 3Q22 ที่ 2.8 พันลบ. เพิ่มขึ้น 1,142% YoY และ 3.4% QoQ โดยได้แรงหนุนจากธุรกิจหลักทั้งหมดยกเว้นที่อยู่อาศัย 2.)อัตราส่วนลดโดยรวมของธุรกิจค้าปลีกยังลดลงต่อเนื่องตามยอดขายของผู้เช่าที่เพิ่มขึ้น 3.)การฟื้นตัว CPN จะหนุนจาก นักท่องเที่ยวต่างชาติที่หลั่งไหลเข้ามามากขึ้นจะทำให้เพิ่ม Upside ขึ้น

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันจันทร์ ติดตามตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเดือน ก.ย. คาด -2,950 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (จากเดือนก่อนหน้าที่ -3,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเดือน ก.ย. คาด -1% MoM ตัวเลข Retail Sales ของญี่ปุ่นเดือน ก.ย. คาด +1.4% MoM และ +4.1% YoY ตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคญี่ปุ่น เดือน ต.ค. คาด 30 จุด (-2.6% MoM) ตัวเลข NBS Manufacturing PMI ของจีน เดือน ต.ค. คาด 50 จุด (ทรงตัว MoM) ตัวเลข NBS Non Manufacturing PMI ของจีน เดือน ต.ค. คาด 50.5 จุด (ทรงตัว MoM) ตัวเลข GDP 3Q22 ของยูโรโซน คาด +0.2% QoQ และ +2.1% YoY ตัวเลขเงินเฟ้อของยูโรโซนเดือน ต.ค. คาด +1.2% MoM และ +10.2% YoY ตัวเลข Core Inflation ของยูโรโซน เดือน ต.ค. คาด +4.9% YoY และตัวเลข Chicago PMI ของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. คาด 47 จุด (+2.8% MoM)
  • วันอังคาร ติดตามตัวเลข Caixin Manufacturing PMI ของจีน เดือน ต.ค. คาด 49 จุด (+1.9% MoM) การประชุมธนาคารกลางออสเตรเลียคาดปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 25bps. เป็น 2.85% ตัวเลข ISM Manufacturing PMI ของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. คาด 49.9 จุด (-2% MoM) ตัวเลข JOLTs Job Openings ของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. คาด 10 ล้านตำแหน่ง (-0.5% MoM)
  • วันพุธ ติดตามตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐฯ โดย ADP เดือน ต.ค. คาด 190K (-8.6% MoM) การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ คาดปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 75bps. เป็น 3.75-4% ถ้อยแถลงของ Fed Chair Powell และตัวเลข Stock น้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ
  • วันพฤหัสฯ ติดตามตัวเลข Caixin Services PMI ของจีนเดือน ต.ค. คาด 49.1 จุด (ทรงตัว MoM) การประชุมธนาคารกลางอังกฤษคาดปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 75bps. เป็น 3% ตัวเลขดุลการค้าของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. คาดขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็น -USD72bn (เทียบเดือนก่อนที่ -USD67bn) ตัวเลข ISM Non Manufacturing PMI ของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. คาด 55.4 จุด (-2.3% MoM)
  • วันศุกร์ ติดตามตัวเลข CPI และ Core CPI ของไทยเดือน ต.ค. คาด +6% YoY และ +3.1% YoY ตามลำดับ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. คาด +200K (-24% MoM) ตัวเลขอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. คาด 3.6% (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ 3.5%) ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงเดือน ต.ค. ของสหรัฐฯ คาด +4.7% YoY (เทียบเดือนก่อนที่ +5% YoY)
- Advertisement -