บล.กรุงศรีฯ:

INVESTMENT STRATEGY – ยังไม่มีสัญญาณว่าเงินเฟ้อจะพลิกความคาดหมายก่อนการประชุม FOMC?

FOMC มีกำหนดประชุมนัดหน้าในวันที่ 1 พฤศจิกายน และเราเชื่อว่าน่าจะยังขึ้นดอกเบี้ยอีก 75bp ตามที่ตลาดคาดเอาไว้ ดังนั้น สาระสำคัญจึงจะอยู่ที่มุมมองของ FOMC ต่อทิศทางเงินเฟ้อ และแนวโน้มของนโยบายการเงิน ทั้งนี้ เนื่องจากตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตเกือบทุกตัวชี้ไปทางชะลอตัว และ จากตัวเลขล่าสุดก็ชี้ว่าแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อน่าจะเป็นไปตามที่ตลาดคาดไว้  ดังนั้น เราจึงไม่คิดว่าจะมีการใช้วาทกรรมที่ aggressive มากขึ้นในการประชุมรอบนี้ ดังนั้น จึงมีโอกาสมากขึ้นที่ FOMC จะขึ้นดอกเบี้ยเพียง 50bp ในการประชุมช่วงปลายปี ซึ่งตลาดน่าจะตอบรับในเชิงบวก

ยังคงมีแรงกดดันทางด้านราคาอยู่

ในขณะที่เรายังรอตัวเลขเงินเฟ้อ (เดือนตุลาคม) เพื่อยืนยันแนวโน้ม แต่มีสิ่งที่บ่งชี้มากขึ้นว่าเงินเฟ้อกำลังอ่อนตัวลง โดยล่าสุดดัชนีเงินเฟ้อ PCE ซึ่งเป็นดัชนีที่ Fed จับตาดูอย่างใกล้ชิด เป็นไปที่ตลาดคาดเอาไว้ โดย core PCE (เดือนกันยายน) เพิ่มขึ้น 0.5% mom หรือ 6.2% yoy  ในขณะเดียวกัน ดัชนี employment cost index ก็ชะลอตัวลงเหลือ 1.2% (จาก 1.3%) ใน 3Q22 นอกจากนี้ Michigan inflation expectation (เดือนตุลาคม) ยังเพิ่มขึ้นเป็น 5% จาก 4.7% ในรายงานฉบับก่อนหน้า แต่ยังคงประมาณการอัตราเงินเฟ้อระยะยาวเอาไว้เท่าเดิมที่ 2.9%

แต่อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจที่อ่อนแออาจจะลดแรงกดดันด้านราคาลง

ถึงแม้เงินเฟ้อจะยังไม่ลงง่าย ๆ แต่เราเห็นสัญญาณว่าจะลดลงมาได้ในเดือนต่อ ๆ ไป โดยแรงกดดันที่ลดลงในสายโซ่อุปทาน การบริโภคสินค้าที่ลดลง ราคาบ้านที่ลดลง และค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง ล้วนเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าเงินเฟ้อกำลังชะลอตัวลง ทั้งนี้ ตัวเลข ISM ของสหรัฐที่จะออกมาในวันที่ 1 พฤศจิกายนจะทำให้เรามีข้อมูลมากขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มเงินเฟ้อ โดยเฉพาะในฝั่งอุปทาน ซึ่งเมื่ออิงจากข้อมูล PMI ของ Federal reserve ห้าเขต ดัชนี ISM น่าจะลดลงอีก (Fig 5) โดยโมเมนตัมเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงจะค่อย ๆ ฉุดให้เงินเฟ้อลดลงได้เมื่อเวลาผ่านไป (Fig 6) ซึ่งหากทฤษฎีของเราถูกต้อง ก็น่าจะเห็นทั้งหุ้นและตราสารหนี้ปรับตัวดีขึ้นได้ในขณะที่จะทำให้มีเงินสกุล USD อ่อนค่าลง

- Advertisement -