สรุปภาวะตลาด

วันจันทร์ที่ผ่านมา ในช่วงเช้าดัชนีปรับตัวบวกสูงสุดถึง 13 จุดตามทิศทางตลาดหุ้นสหรัฐ แต่ในภาคบ่าย ดัชนีอ่อนแรงลงเหลือ +3 จุด ดัชนีพักตัวหลังจากปรับตัวขึ้นมาต่อเนื่อง เพื่อรอดูผลการประชุม FOMC ช่วง 1-2 พ.ย. น้ี แรงซื้อนำโดยหุ้นกลุ่มธนาคาร อย่าง KBANK ปรับตัวบวกจากประเด็นเข้าซื้อหุ้นแบงก์ แมสเปี้ยน ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,608.76 จุด +2.69 จุด +0.17% มูลค่าการซื้อขาย 55,914 ลบ. ต่างชาติ +4,164.85 ลบ. TFEX +3,797 สัญญา ตราสารหนี้ -2,440.56 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ นักลงทุนคาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมนโยบายการเงินสัปดาห์นี้ และจะปรับขึ้นเพียง 0.50% ในการประชุมเดือนธ.ค. หลังการเปิดเผยดัชนี PCE ซึ่งบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อของสหรัฐได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว

+ กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า รัฐบาลเข้าแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราครั้งใหญ่ในเดือนต.ค. โดยใช้วงเงินสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 6.35 ล้านล้านเยน (4.3 หมื่นล้านดอลลาร์) หรือราว 1.6 ล้านล้านบาทเพื่อพยุงค่าเงินเยนที่อ่อนค่าต่อเนื่อง

+ ธปท. คาดเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3/2565 ยังฟื้นตัวต่อเนื่อง อานิสงส์การบริโภค-ลงทุนเอกชนปรับตัวดีขึ้น ด้าน สศอ.เผย MPI ขยายตัวภาคการผลิตกลับมาฟื้นตัว ได้แรงส่งออก-ท่องเที่ยวหนุน

ปัจจัยลบ –

– ดัชนีดาวโจนส์ปิด ลดลง 128.85 จุด หรือ -0.39% ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 1-2 พ.ย.นี้ ท่ามกลางการคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมครั้งนี้

– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 1.37 ดอลลาร์ -1.6% ปิดที่ 86.53 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากมีรายงานว่าการผลิตน้ำมันในสหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่โรคโควิด-19 เริ่มแพร่ระบาด นอกจากนี้ ตลาดยังถูกกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของจีน รวมทั้งความกังวลที่ว่ามาตรการควบคุมโควิด-19 ที่เข้มงวดของจีนจะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน

– ยูโรสแตท เปิดเผยว่า CPI ของยูโรโซนพุ่งขึ้นสู่ระดับ 10.7% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ที่ยูโรสแตทเริ่มรวบรวมข้อมูลดังกล่าว ในปี 2540 หลังจากแตะระดับ 9.9% ในเดือนก.ย.

– เจ้าหน้าที่ยูเครนเปิดเผยว่า รัสเซียได้ยิงขีปนาวุธจำนวนมากถล่มทั่วยูเครน รวมถึงกรุงเคียฟ ส่งผลให้ไฟฟ้าดับและ น้ำประปาไม่ไหล

– ธปท. เปิดเผยว่าทิศทางเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจน และภาคอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มปรับดีขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้น ธปท. จึงเห็นควรไม่ต่ออายุมาตรการ LTV หรือหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย ซึ่งจะครบกำหนดการผ่อนคลายชั่วคราวในวันที่ 31 ธ.ค. 2565

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีในวันน้ีแกว่งตัวผันผวนในลักษณะ Sideway ออกข้าง โดยนักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของ เฟด ในวันที่ 1-2 พ.ย.น้ี ขณะที่ปัจจัยในประเทศยังติดตามการประกาศงบการเงินงวด 3Q65 ของบริษัทจดทะเบียน ที่ทยอยประกาศออกมา คาดกรอบดัชนีในวันนี้ที่ 1,600-1,615 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • หุ้นซ่อมแซมหลังน้ำท่วม : GLOBAL DOHOME HMPRO TOA DPAINT COTTO DCC TASCO
  • หุ้นเด่น IAA : ADVANC AOT BBL KBANK
  • ลุ้น ครม. คนละครึ่งเฟส 6 และเราเท่ียวด้วยกัน : TNP KK ERW CENTEL VRANDA ASAP SPA AAV BA AOT
  • ตัวเลขส่งออกเดือน ก.ย. ขยายตัว : TU GFPT TFG ASIAN
  • ลุ้นมาตรการอุดหนุน EV เข้า ครม. เดือน พ.ย. น้ี : EA NEX BYD GPSC

หุ้นรายงานพิเศษ

AAI – บมจ. เอเชี่ยน อะไลอันซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล SET/Food & Beverage (ราคา IPO 5.55 บาท) ราคาเหมาะสม consensus 7.30-7.70 บาท

  • AAI เป็นบริษัทย่อยของบริษัท ASIAN ประกอบธุรกิจผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์เลี้ยงและอาหารพร้อมทานบรรจุภาชนะปิดผนึก และผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้จากการแปรรูปปลาทูน่า อาทิ น้ำนิ่งปลา ปลาป่น และน้ำมันปลา โดยส่งออกไปยังต่างประเทศ 90% ภายใต้การรับจ้างผลิต (OEM) 97% ของรายได้และแบรนด์ของบริษัทเอง อาทิ Monchou Maria Hajiko และ Pro 3% ของรายได้
  • บริษัทมีรายได้ปี 62-64 และงวด 6M65 เท่ากับ 3,588 ลบ. 4,512 ลบ. 4,985 ลบ. และ 3,464 ลบ. ตามลำดับ และรายงานผลประกอบการ ปี 62-64 และงวด 6M65 ที่ 168 ลบ. 555 ลบ. 639 ลบ. และ 363 ลบ. ตามลำดับ โดยรายได้และกำไรเติบโตต่อเนื่องตามความต้องการอาหารสัตว์เลี้ยงในต่างประเทศที่แข็งแกร่ง มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายตอบรับกับความต้องการของลูกค้า ขณะที่ GPM ปี 62-64 และงวด 6M65 อยู่ที่ 9.84% 17.37% 21.46% และ 19.09% โดยอัตรากำไรขั้นต้น 6M65 ปรับตัวลงจากต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวขึ้น
  • จำนวนหุ้น IPO ไม่เกิน 637.5 ล้านหุ้น คิดเป็น 30% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด มูลค่าที่ตราไว้ 1 บาทต่อหุ้น แบ่งเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุน 425 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย ASIAN 212.5 ล้านหุ้น โดยราคา IPO คิดเป็น P/E ประมาณ 16.98 เท่า เมื่อเทียบกับ P/E บริษัทที่ใกล้เคียงกัน ได้แก่ TC 17.22× TU 11.27x และ ASIAN 13.31x วัตถุประสงค์การระดมทุน 1.เพื่อขยายกำลังการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงแบบเปียก 2.ลงทุน คลังสินค้าอัตโนมัติแห่งที่ 2 3.ชำระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้นและระยะยาว และ 4. ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการ ดำเนินธุรกิจ

หุ้นมีข่าว

(+) BRR (Bloomberg Consensus – บาท) ชูทุกธุรกิจสดใส ทยอยเซ็นล็อกราคาน้ำตาลระดับสูง ดันรายได้ปีนี้โดดเด่น แถมได้ดีบาทอ่อนหนุน รับส่งออก 70% ธุรกิจแพ็กเกจจิ้งจะหนุนแรงปีนี้หลังผลิตเต็ม 100% เดินหน้าขายเฟสใหม่ดันมาร์จิ้น ส่วนธุรกิจเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งจะมาแรงปีหน้า เซ็นขายญี่ปุ่นแล้ว มีลุ้นขายคาร์บอนเครดิตให้ญี่ปุ่นด้วย จับตาผลงานไตรมาส 3 มีเซอร์ไพรส์ (ที่มา ทันหุ้น)

(+) ASIAN (Bloomberg Consensus 23.25 บาท) ยอดขายไตรมาส 4/2565 โดดเด่น ออเดอร์ผลิตใหม่ไหลเข้าล้นมือ ยิ้มอัพแกร่งกำลังผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงเพิ่มหนุนยอดขาย ฟุ้ง อัตราการใช้กำลังผลิตปัจจุบันยืนเหนือ 70% พร้อมมองธุรกิจทูน่ายังเห็นการเติบโตของดีมานด์อยู่ มั่นใจผลงานปี 2565 โตตามเป้า 1.12 หมื่นล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

(+) PLANET (Bloomberg consensus – บาท) ส่งสัญญาณรายได้ปี 2566 โตก้าวกระโดด จากธุรกิจ EV เตรียมกดปุ่มให้บริการผลิต ขายสถานีชาร์จครบวงจร ปักหมุดหัวเมืองใหญ่ ภูเก็ต พัทยา แห่งแรก ส่งซิกมีข่าวดีธุรกิจโซลาร์เร็วๆ นี้ พร้อมแตกไลน์ดาต้า เซ็นเตอร์ ทำเงิน มองดีมานด์ล้น (ที่มา ทันหุ้น)

(+) JKN (Bloomberg consensus 4.60 บาท) วางกลยุทธ์ปั้นรายได้จากธุรกิจ MUO เสริมแกร่งรายได้ 800-1,200 ล้านบาทต่อปี คาดปีน้ีจะรับรู้รายได้ราว 160 ล้านบาท ดันผลงานทั้งปีโต 40% ย้ำไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุน มั่นใจฐานะการเงินแข็งแกร่ง พร้อมร่วมมือกับพันธมิตรท้ังไทยและต่างชาติ เพื่อนำ MUO Brand ไปขยายในธุรกิจต่างๆ (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 1 พ.ย. จับตาวาระครม. ทบทวนกฎหมายอนุญาตให้ต่างชาติซื้อที่ดินได้ไม่เกิน 1 ไร่
  • 30 พ.ย. กําหนดประชุมกนง.

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 1 พ.ย. จีน รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนต.ค.จากไฉซิน
    • สหรัฐ รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนต.ค. ดัชนีภาคการผลิต เดือนต.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของ
    • สหรัฐ (ISM) ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนก.ย. การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือนก.ย.
  • 1-2 พ.ย. กำหนดประชุมธนาคารกลางสหรัฐ
  • 2 พ.ย. อียู รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนต.ค.จากเอสแอนด์พี โกลบอล
    • สหรัฐ รายงานตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือน ต.ค.จาก ADP สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จาก สํานักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
    • (เช้าวันที่ 3 พ.ย.) ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประชุมนโยบายการเงินและแถลงมติอัตราดอกเบี้ย
- Advertisement -