บล.พาย: 

AWC: บมจ. แอสเสท เวิรด์ คอร์ป “คาดกลับมามีกำไรสุทธิใน 4Q22”

คาดผลประกอบการพลิกฟื้นเป็นกําไรในไตรมาส 4/22 หนุนจากอัตรารายได้เฉลี่ยต่อห้องพักต่อคืน (RevPar) ของธุรกิจโรงแรมที่ฟื้นตัวดี และการมอบส่วนลดค่าเช่าพื้นที่ค้าปลีกน้อยลง คาดว่าอุปสงค์ที่สูงขึ้นจากการเดินทางเชิงธุรกิจ และได้แรงหนุนจากการประชุม APEC ในเดือน พ.ย. 2022 จะช่วยเติมเต็มอัตราเข้าพักในกลุ่ม MICE ของบริษัทได้ (50% ของรายได้ธุรกิจโรงแรมในปี 2019) จนถึงครึ่งแรกปี 2023 ส่วนระยะยาวบริษัทจะมีกำไรโตสูงสุดในกลุ่มโรงแรม หรือโตเฉลี่ยต่อปี +66% ในปี 2023-26 เพราะจะมีการทยอยเปิดโรงแรมที่เป็นเจ้าของเองกว่า 12 แห่ง มูลค่ารวม 3.0 หมื่นล้านบาทในช่วงดังกล่าว แต่ศักยภาพการเติบโตของกำไรที่สูงนั้น แลกมาด้วยมูลค่าหุ้นที่แพงในระดับ 80.4xPE’24E เทียบค่าเฉลี่ยหุ้นกลุ่มโรงแรมตัวอื่นที่วิเคราะห์อยู่ที่ 34.1xPE’24E ดังนั้นจึงแนะนำ “ถือ” แต่เพิ่มราคาเป้าหมายจาก 5.40 บาท เป็น 5.60 บาท หลังนับรวมโครงการใหม่จำนวน 2-3 เข้ามาในประมาณการ แต่ทั้งนี้ยังไม่รวมสินทรัพย์ที่มีสิทธิ์ปฏิเสธก่อน (ROFR) มูลค่ารวม 2.2 หมื่นล้านบาทเข้ามา

กำไรปรับตัวดีในไตรมาส 3/22 หนุนจากโรงแรมในกรุงเทพและกลุ่ม MICE

  • คาดขาดทุนสุทธิไตรมาส 3/22 ที่น้อยลงเหลือ 44 ล้านบาท หนุนจากธุรกิจโรงแรมที่คาดว่าจะรายงานรายได้ที่ 1.7 พันล้านบาท (+550%YoY +33%QoQ) หลังจากคาดว่าอัตราเข้าพักจะแตะ 55% จาก 43% ในไตรมาส 2/22 ขณะที่ RevPar จะฟื้นขึ้น 40%QoQ เป็น 2,557 บาท คิดเป็น 70% ของช่วงก่อนโควิด-19 ปัจจัยขับเคลื่อนสําคัญ คือ กลุ่ม MICE และรีสอร์ทหรู เพราะมีอัตราราคาห้องพักเฉลี่ย (ARR) ที่คาดว่าจะสูงกว่าช่วงก่อนโควิด-19 อยู่ 5%-10% หนุนจากอุปสงค์สะสมจากกิจการท่องเที่ยวและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ไหลเข้าสู่ภาคใต้ เช่น สมุย ภูเก็ต และกระบี่
  • ธุรกิจค้าปลีกและพาณิชย์ยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป หลังจากการให้ส่วนลดค่าเช่าน้อยลงเป็นประมาณ 10% จากระดับในปี 2019 (15% ในไตรมาส 2/22) คาดรายได้ในธุรกิจนี้จะฟื้นตัว 15% YoY เป็น 726 ล้านบาท

คาดถึงพลิกฟื้นในไตรมาส 4/22 ด้วยแผนขยายกิจการที่แข็งแกร่ง

  • คาดถึงการพลิกฟื้นกลับเป็นกำไรสุทธิในไตรมาส 4/22 เมื่อ RevPar แตะ 75% ของช่วงก่อนโควิด-19 ด้วยแรงหนุนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติชาเข้าที่อย่างน้อย 1.5 ล้านคน/เดือน (1.3 ล้านคนในเดือน ก.ย. 2022) และอุปสงค์สะสมจากกลุ่ม MICE ขณะที่จะมีการจัดประชุม APEC ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่บริหารจัดการโดย TCC Asset หน่วยธุรกิจเรือธงภายใต้ TCC group เราเชื่อว่า AWC จะได้ประโยชน์มากสุดจากการประชุมครั้งใหญ่นี้ เพราะบริษัทแม่อย่าง TCC group น่าจะเอื้อให้มีแขกไหลเข้ามาพักในโรงแรมของบริษัทที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ได้ โดยเฉพาะแมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค (1,388 ห้อง) เพราะตั้งอยู่ใกล้กับสถานที่จัดงาน
  • การเปิดอินเตอร์คอนติเนนตัล เชียงใหม่ แม่ปิง และโรงแรม อินน์ไซด์ กรุงเทพ สุขุมวิทในไตรมาส 4/22 และเพิ่มจำนวนห้องเข้าพอร์ต 514 ห้อง หรือ 10% ของพอร์ตทั้งหมด ส่วนหลังจากนี้ในระยะยาวจะมีอีก 10 โรงแรม ด้วยต้นทุนโครงการที่ 3.0 หมื่นล้านบาท ที่จะเปิดให้บริการในช่วงปี 2023-27 แต่ยังไม่รวมโครงการประเภท ROFR ที่จะมีการถ่ายโอนจาก TCC มูลค่ารวม 2.2 หมื่นล้านบาทเข้ามาในประมาณการ ทั้งนี้ เราคงคำแนะนำ “ถือ” และราคาเป้าหมายที่ 5.60 บาท คำนวณด้วยวิธีคิดลดเงินสด (DCF) หรือคิดเป็น 73.8xPE’24E ค่าพรีเมี่ยมต่อกลุ่มโรงแรมในไทยนั้นสะท้อนการเติบโตของก๋าไรที่โดดเด่นกว่าคู่แข่ง ด้วยการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 66% ในช่วงปี 2023-26

พรีวิวผลประกอบการ

  • หากไม่รวมรายการพิเศษจากการปรับมูลค่าสินทรัพย์ คาดว่าขาดทุนสุทธิจากธุรกิจหลักในไตรมาส 3/22 จะลดลงเหลือ 44 ล้านบาท หนุนจากธุรกิจโรงแรมที่คาดว่าจะรายงานรายได้ที่ 1.7 พันล้านบาท (+550%YoY +33%QoQ) หลังจากคาดว่าอัตราเข้าพักจะแตะ 55% จาก 43% ในไตรมาส 2/22
  • ขณะที่ RevPar จะฟื้นขึ้น 40%QoQ เป็น 2,557 บาท (+569%YoY +39%QoQ) ปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญคือกลุ่ม MICE และรีสอร์ทหรู เพราะมี ARR ที่คาดว่าจะสูงกว่าช่วงก่อนโควิด-19 อยู่ 5%-10% หนุนจากอุปสงค์สะสมจากกิจการท่องเที่ยวและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ไหลเข้าสู่ภาคใต้ เช่น สมุย ภูเก็ต และกระบี่
  • ธุรกิจค้าปลีกและพาณิชย์ยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป หลังจากมอบส่วนลดค่าเช่าน้อยลงเป็นประมาณ 10% จากระดับในปี 2019 (15% ในไตรมาส 2/22) คาดรายได้ในธุรกิจนี้จะฟื้นตัวเป็น 726 ล้านบาท (+15%YoY +4%QoQ)
  • คาดอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) แตะจุดสูงรอบ 10 ไตรมาสที่ 43.0% จากรายได้ที่แตะจุดสูงรอบ 10 ไตรมาสที่ 2.4 พันล้านบาท คาดว่าอัตราส่วนค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A) ต่อยอดขายจะลดลงสู่จุดต่ำรอบ 7 ไตรมาสที่ 35.0% (37.3% ในไตรมาส 2/22 และ 70.7% ในไตรมาส 3/21)
  • คาด EBITDA ยังอยู่ในแดนบวก 4 ไตรมาสติดที่ 625 ล้านบาท (+29%QoQ)

ปรับประมาณการกำไร

  • เราปรับเพิ่มกำไรสุทธิปี 2022 เป็น 1.6 พันล้านบาทจากขาดทุน 383 ล้านบาท หลังจากนับรวมรายได้จากการปรับมูลค่าสินทรัพย์ในครึ่งแรกปี 2022 แต่ปรับลดปี 2023 ลง 19% จากอัตราการเช่าและเข้าพักที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาดในธุรกิจค้าปลีก อาคารสำนักงาน และโรงแรม

Revenue breakdown

  • กลุ่มธุรกิจโรงแรมมีสัดส่วน 42% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย 4 ประเภทหลัก คือ: MICE (การประชุม การท่องเที่ยว การสัมมนา การจัดนิทรรศการ) โรงแรมในเมืองในกรุงเทพ, โรงแรมที่อยู่นอกกรุงเทพและรีสอร์ทระดับหรู
  • บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารสำนักงานให้เช่าแก่ผู้เช่ารายย่อย โดยบริษัทเปิดให้บริการอาคารพาณิชย์จำนวน 4 แห่งใน กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย Empire Tower, Athenee Tower, 208 Wireless Road Building และ Interlink Tower ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 39% ของรายได้ทั้งหมด
  • พื้นที่ให้เช่าเพื่อค้าปลีกคิดเป็นสัดส่วน 19% ของรายได้ทั้งหมด บริษัทพัฒนาและดำเนินงานห้างสรรพสินค้าชุมชน แหล่งท่องเที่ยวเชิงไลฟ์สไตล์ และตลาดชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ
- Advertisement -