บล.ฟิลลิป:

เอสซีจี แพคเกจจิ้ง – SCGP คาด 4Q65 ผลการดำเนินงานฟื้นตัว

Key Point

คาดผลการดำเนินงาน 4Q65 ฟื้นตัว q-q เนื่องจากคาดว่าแรงกดดันด้านต้นทุนจะทยอยลดลง ขณะที่ราคาขายผลิตภัณฑ์ Fiber และ Polymer packaging ยังคงอยู่ในระดับสูง และเข้าสู่ high season ทำให้คาดว่าปริมาณขาย และ margin มีแนวโน้มที่ดีขึ้น q-q ทางฝ่ายยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาพื้นฐาน 65 บาท

คาดผลการดำเนินงาน 4Q65 ฟื้นตัว q-q

ทางฝ่ายคาดผลการดำเนินงานใน 4Q65 มีโอกาสฟื้นตัว q-q เนื่องจาก 1) ต้นทุนวัตถุดิบ และต้นทุนพลังงานที่อ่อนตัวลง โดยราคาเฉลี่ย AOCC 3Q65 ลงมาอยู่ที่ 200 ดอลลาร์ต่อตันจาก 275 ดอลลาร์ต่อตันใน 2Q65 และราคา spot อยู่ที่ราว 140 ดอลลาร์ต่อตัน เนื่องจากสามารถเก็บ RCP ได้มากขึ้น ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ขณะที่ราคาถ่านหินปรับลงจาก 90 ดอลลาร์ต่อตัน มาอยู่ที่ 80 ดอลลาร์ต่อตัน ใน 3Q65 และราคา spot ทรงตัวที่ 90 ดอลลาร์ต่อตัน ทำให้คาดว่าแรงกดดันด้านต้นทุนใน 4Q65 จะลดลง 2) คาดว่าราคาขายของผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ (Fiber และ Polymer) ยังสามารถคงราคาไว้ในระดับเดิมได้ แม้ต้นทุนวัตถุดิบจะเริ่มปรับตัวลง ทำให้คาดว่า margin มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น 3) 4Q65 เป็นช่วง high season และช่วงสิ้นปีที่คาดว่าจะมีกิจกรรมมากขึ้นจากการผ่อนคลายมาตรการ รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ผู้ผลิตในอุตฯ ยังมีสินค้าคงคลังอยู่ใน \ระดับต่ำ ทำให้คาดว่ากำลังการผลิต และปริมาณการขายจะปรับตัวดีขึ้น q-q จากการขยายตลาดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น แต่การใช้มาตรการ Zero COVID ของจีนยังเป็นปัจจัยกดดันให้อุปสงค์ฟื้นตัวได้จำกัด

บ.ปรับเป้าเงินลงทุนปี 2565 เหลือ 16,000 ลบ.

บ. ปรับเป้าเงินลงทุนปี 2565 เหลือ 16,000 ลบ. จากเดิม 20,000 ลบ. เนื่องจากมีการเลื่อนดีล M&P ไปอยู่ในปี 2566 และมีการเลื่อนการเริ่มดำเนินงานโครงการในเวียดนามไปเป็นปี 2568 จากเดิมปี 2567 เพราะจีนยังคงใช้มาตรการ Zero COVID ไปจนถึงช่วง 1Q66 ซึ่งโครงการดังกล่าวจะมีสัดส่วนการขายในจีนค่อนข้างสูง ส่วนเป้าเงินลงทุนในปี 2566 อยู่ที่ 20,000 ลบ. ซึ่งรวมงบลงทุนการทำ M&P ที่ถูกเลื่อนจากปี 2565 ไว้ด้วย ทำให้ทางฝ่ายคาดว่าบ. ยังมีโอกาสเติบโตจาก Synergy ที่ได้จากการทำ M&P ทั้งในด้านการจัดการวัตถุดิบที่ดีขึ้น และการใช้ฐานลูกค้าที่กว้างขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รับรู้กำลังการผลิตเพิ่มเติม

ปี 2566 บ. จะรับรู้กำลังการผลิต Fiber packaging 75,000 ตัน ซึ่งทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.46 ล้านตัน จากเดิม 1.38 ล้านตัน ซึ่งกำลังการผลิตดังกล่าวได้รวมอยู่ในประมาณการแล้ว โดยกำลังการผลิตดังกล่าวอยู่ในแผนการเติบโตของ บ. ที่จะเน้นไปยังผลิตภัณฑ์ปลายน้ำมากขึ้น เนื่องจากผลิตภัณฑ์ปลายน้ำมี margin ที่ค่อนข้างดี เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ต้นน้ำ

ความเสี่ยง

1. อุปทาน RCP ที่ตึงตัว

2. ความเสี่ยงจากการควบรวมกิจการ

3. ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

- Advertisement -