สรุปภาวะตลาด

วันอังคารที่ผ่านมา ดัชนีปรับตัวเคลื่อนไหวในแดนบวก ดัชนีรีบาวด์หลังจากปรับตัวลงในวันก่อนหน้า นำโดยหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และค้าปลีก ส่วนแรงขายมาจากหุ้นกลุ่มพลังงาน จากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลง นักลงทุนจับตาการรายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนต.ค. ของสหรัฐ ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,629.38 จุด +6.00 จุด +0.37% มูลค่าการซื้อขาย 61,703 ลบ.ต่างชาติ -437.79 ลบ. TFEX +5,003 สัญญา ตราสารหนี้ -3,838.43 ลบ.

ปัจจัยบวก +

+ ดัชนีดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น 56.22 จุด +0.17% หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่ต่ำกว่าคาด ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนการคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี ตลาดถูกกดดันจากความกังวลเก่ียวกับความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ หลังมีรายงานว่าขีปนาวุธของรัสเซียถูกยิงตกในโปแลนด์

+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 1.05 ดอลลาร์ +1.2% ปิดที่ 86.92 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากมีรายงานว่าท่อส่งน้ำมันที่ลำเลียงน้ำมันไปยังฮังการีนั้นถูกระงับชั่วคราว เนื่องจากพบปัญหาแรงดันตก นอกจากนี้ การอ่อนค่าของดอลลาร์ยังเป็นปัจจัยหนุนตลาดน้ำมัน

+ สหรัฐเปิดเผยดัชนี PPI ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิต ปรับตัวขึ้น 8%YoY ในเดือนต.ค. ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 8.3% และชะลอตัวลงจากระดับ 8.4% ในเดือนก.ย. ส่วนดัชนี PPI พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 5.4%YoY โดยชะลอตัวจากระดับ 5.6% ในเดือนก.ย.

+ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่านักลงทุนให้น้ำหนัก 80.6% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมวันที่ 13-14 ธ.ค. และให้น้ำหนักเพียง 19.4% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75%

+ ครม.มีมติให้ปรับลดค่าธรรมเนียมวีซ่ารักษาพยาบาล 1 ปี จากเดิมรายละ 6,000 บาท เหลือรายละ 5,000 บาท หนุนนโยบาย Medical Hub

+ ททท. เปิดเผยถึงสถานการณ์การท่องเที่ยวของไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ยังมองเป็นบวก โดยตั้งเป้าไว้ตามเดิม คือ สามเดือนสุดท้ายนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเดินทางเข้าไทยไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านคน/เดือน ซึ่งจะทำให้จำนวนนักท่องเท่ียวปี 65 ไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน

ปัจจัยลบ –

– โอเปก ประกาศปรับลดคาดการณ์การเติบโตของอุปสงค์น้ำมันท่ัวโลกในปี 2565 เป็นครั้งที่ 5 นับตังแต่เดือนเม.ย. รวมถึงปรับลดตัวเลขคาดการณ์ในปีหน้าลงด้วย อันเนื่องมาจากปัญหาด้านเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่ระดับสูงและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

– อังกฤษรายงานว่า อัตราว่างงานปรับตัวขึ้นแตะ 3.6% ในเดือนก.ค.-ก.ย. ขณะที่ตำแหน่งงานว่างปรับตัวลงใน การรายงาน 5 ครังติดต่อกัน เนื่องจากบริษัทต่างๆ วิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศ

– รัสเซียประกาศจะต่อต้านความพยายามที่จะให้รัสเซียจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามให้แก่ยูเครน

+/- ผลการนับคะแนนเลือกตังกลางเทอมสหรัฐค่อนข้างชัดเจนว่า พรรคเดโมแครตและรีพับลิกันจะแบ่งกันไปคนละสภา โดยเดโมแครตสามารถครองวุฒิสภา และรีพับลิกันครองสภาผู้แทนราษฎร

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีในวันนี้ยังแกว่งตัวผันผวนระหว่างวัน โดยมีแรงหนุนจากสหรัฐเปิดเผยดัชนี PPI ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อ จากการใช้จ่ายของผู้ผลิตต่ำกว่าคาด ขณะที่ยังมีแรงกดดันจากรายงานว่าขีปนาวุธของรัสเซียถูกยิงตกในโปแลนด์ คาดกรอบดัชนีในวันนี้ที่ 1,620-1,635 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • หุ้นเด่น IAA : ADVANC AOT BBL KBANK
  • ลุ้น เราเท่ียวด้วยกัน เฟส 5-มาตรการกระตุ้นท่องเที่ยว เข้าครม. 28 พ.ย. : ERW CENTEL VRANDA ASAP SPA AAV BA AOT
  • ลุ้นมาตรการอุดหนุน EV เข้า ครม. เดือน พ.ย. นี้ : EA NEX BYD GPSC
  • MSCI Rebalancing มีผล 30 พ.ย. :
    • MSCI Global Standard หุ้นเข้า : – , หุ้นออก : BAM
    • MSCI Global Small Cap หุ้นเข้า: BAM, ERW, JWD, NEX, RAM หุ้นออก: PSG, SYNEX

หุ้นรายงานพิเศษ

POLY – บริษัท โพลีเน็ต จ้ากัด (มหาชน)

SET/Industrials (ราคา IPO 6.80 บาท) (ราคาเหมาะสม consensus 8.00 – 8.50 บาท)

  • POLY เป็นเป็นผู้ประกอบธุรกิจข้ึนรูป ผลิตและจําหน่ายผลิตภัณฑ์เก่ียวกับยาง พลาสติก ซิลิโคน แม่พิมพ์ สําหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ และสินค้าอุปโภค บริโภค
  • บริษัทมีรายได้ปี 62-64 และงวด 9M65 เท่ากับ 581.4 ลบ. 522.7 ลบ. 786.1 ลบ. และ 789.5 ลบ. ตามลําดับ และรายงานผลประกอบการ ปี 62-64 และงวด 9M65 มีกําไรสุทธิที่ 13.1 ลบ. 21.8 ลบ. 120.9 ลบ. และ 122.5 ลบ. ตามลําดับ เป็นผลมาจากการมองเห็นโอกาสในการจัดสรรกําลังการผลิตใหม่ และปรับกลยุทธ์เพื่อขยายธุรกิจเข้าสู่กลุ่มอุปกรณ์การแพทย์และกลุ่มสินค้า อุปโภคบริโภค ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มการเติบโตสูง ขณะที่ GPM ปี 62-64 และงวด 9M65 อยู่ที่ 17.7% 19.2% 28.3% และ 24.8% โดยอัตรากําไรขั้นต้นมีสาเหตุจากการเพิ่มสัดส่วนรายได้ในกลุ่มอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งมีอัตรากําไรขั้นต้นโดยเฉลี่ยที่สูงกว่า
  • จํานวนหุ้น IPO 120 ล้านหุ้น คิดเป็น 26.7% ของจํานวนหุ้นทั้งหมด มูลค่าที่ตราไว้ 1.0 บาทต่อหุ้น โดยราคา IPO คิดเป็น P/E ประมาณ 20.4 เท่า เมื่อเทียบกับ P/E กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ ได้ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ําหนักของ P/E อยู่ระหว่าง 22.0 – 24.7 เท่า วัตถุประสงค์การระดมทุน 1.เพื่อสําหรับจ่ายคืนหนี้สินเงินกู้ยืมจากสถาบัน 2. เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการ 3.เพื่อใช้สําหรับลงทุนในโครงการขยายโรงงานและลงทุนเครื่องจักรเพิ่มเติม

หุ้นมีข่าว

(+) ORI (Bloomberg Consensus 13.25 บาท) จ่อโอน 2 โครงการใหญ่มูลค่า 7.6 พันล้านบาท ใน Q4/2565 แถมตุนแบ็กล็อกแน่นกว่า 4.1 หมื่นล้านบาท ทยอยโอนถึงปี 2568 คาดภาครัฐไม่ต่อมาตรการ LTV หนุนผู้ซื้อเร่งซื้อ และโอนโครงการก่อน 31 ธันวาคมนี้ (ที่มา ทันหุ้น)

(+) ASW (Bloomberg Consensus 10.00 บาท) กางแผนธุรกิจปี 2566 ลุยเปิดโครงการกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท ปักธงรายได้ที่ 7.2 พันล้านบาท เติบโต 20% หลังมีโครงการรอโอนกว่า 2 หมื่นล้านบาท มองตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังเติบโตได้ดี ดีมานด์ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ส่วนผลงานไตรมาส 4/2565 คาดว่ารายได้จะทำได้มากกว่าไตรมาส 3/2565 มั่นใจรายได้ปี 2565 ตามนัดที่ 6 พันล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

(+) COM7 (Bloomberg consensus 39.00 บาท) กางแผนปี 2566 ลุยเปิดสาขาเพิ่มอีก 150 แห่ง จากปีนี้ที่ 166 แห่ง และขยายธุรกิจร้านขายยา Dr.Pharma โดยร่วมมือกับบริษัทในเครือ BDMS ปี 2566 เตรียมขยาย 10 สาขา ด้านยอดขายไตรมาส 4/2565 กลุ่มสินค้า iPhone ยังหนุนยอดขายต่อเนื่อง มั่นใจรายได้ปี 2565 โตไม่ต่ำกว่า 20% จากปีก่อน (ที่มา ทันหุ้น)

(+) CHAYO (Bloomberg consensus 10.55 บาท) มองเศรษฐกิจฟื้นตัวเป็นจังหวะดีปล่อยสินเชื่อใหม่ วางงบ 200-300 ล้านบาท เน้นภาคธุรกิจท่องเที่ยวที่กลับมาเด่น วางเป้าปี 2566 ปล่อยสินเชื่อใหม่อีก 1 พันล้านบาท ด้านธุรกิจซื้อหนี้เข้าไฮซีซันกำเงิน 1.5 พันล้านบาท ลุยซื้อหนี้ใหม่เติมพอร์ตไม่น้อยกว่า 3-7 พันล้านบาท หลังเห็น TOR เหลือประกาศอีกกว่า 5 หมื่นล้านบาท แย้มมีสรุปดีลพฤศจิกายนนี้ (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 18-19 พ.ย. ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ปี 2565 (APEC 2022)
  • สัปดาห์ที่ 4 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์
    • กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้า
  • 21 พ.ย. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) แถลงตัวเลข GDP 3Q65
  • สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง, ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค
    • สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
  • 25 พ.ย. กระทรวงพาณิชย์รายงานดุลการค้า
  • 30 พ.ย. ประชุมกนง. ครั้งที่ 6
    • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
  • 6 ธ.ค. ก.พาณิชย์รายงานตัวเลข CPI เดือนต.ค.

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 16 พ.ย. สหรัฐ ยอดค้าปลีกเดือนต.ค. การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนต.ค. สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนก.ย. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนพ.ย.จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB)
  • 17 พ.ย. อียู รายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนต.ค.
    • สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนต.ค. ดัชนีการผลิตเดือน พ.ย.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย
  • 18 พ.ย. สหรัฐ รายงานยอดขายบ้านมือสอง เดือนต.ค. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนต.ค.จาก Conference Board
  • 21 พ.ย. ธนาคารกลางจีนประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR)
    • สหรัฐ รายงานดัชนีกิจกรรมเศรษฐกิจทั่วประเทศ เดือนต.ค.จากเฟดชิคาโก
- Advertisement -