Daily Focus: Selective Play

2023SET Target : 1760

ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index ปรับตัวลงพอสมควรอ่อนแอกว่าที่คาด ปิดลบ 9.40 จุด ณ สิ้นวัน โดยถูกกดดันจากกลุ่มโรงไฟฟ้าที่มีความกังวลหลังมีกระแสต้านขึ้นค่า Ft ใน 1Q23 รวมถึงแรงขายหุ้นขนาดใหญ่อื่นๆ ที่ปรับขึ้นแรงในช่วงก่อนหน้า สถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิในตลาดหุ้นอีก 695 ลบ.และ 1.4 พันลบ. ตามลำดับ (ต่างชาติ Short Index Futures 4.4 พันสัญญา)

แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index แกว่งตัว Sideways ในกรอบ 1,610-1,630 จุด โดยตลาดขาด Catalyst ใหม่เข้ามาหนุน หลังผ่านช่วงประกาศกำไร 3Q22 ครบแล้ว ระยะสั้นดัชนีพักตัวลงเล็กน้อยหลังตอบรับเชิงบวกต่อเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่เริ่มชะลอตัว รวมถึงความคาดหวังว่า FED จะชะลอการขึ้นดอกเบี้ย และคาดใกล้ Peak ที่ระดับ 5% ใน 1Q23 ล่าสุด Dollar Index และ Bond Yield 2 ปีของสหรัฐฯ ทรงตัว หลังปรับลงแรงในสัปดาห์ก่อน แต่ Bond Yield 10 ปียังคงปรับลงต่อ ทำให้ภาพ Inverted Yield กว้างขึ้นเป็น -67 bps เทียบสิ้น 3Q22 ที่ -44 bps สะท้อนความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจและความเสี่ยง Recession ที่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม เรามอง SET Index จะพักตัวจำกัดกว่าตลาดหุ้นต่างประเทศ โดยยังคงมีแรงขับเคลื่อนจากเศรษฐกิจที่เร่งตัว โดยเฉพาะภาพการท่องเที่ยว ทำให้โมเมนตัมกำไรบจ.ใน 4Q22-2023 คาดฟื้นตัวแข็งแรง รวมถึงการพลิกกลับมาเกินดุลบัญชีเดินสะพัดได้ในระยะยาว ยังหนุนค่าเงินบาทให้ยังค่อนไปในทิศทางแข็งค่า แม้ระยะสั้นกระแสเงินทุนจะพลิกมาไหลออกเล็กน้อย แต่ภาพรวมยังเอื้อให้ไหลเข้าในระยะกลาง-ยาว

กลยุทธ์ : เลือกเก็งกำไรหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว//ยังถือลงทุนต่อเนื่องหลังสะสมหุ้นเพิ่มไปแล้วช่วงปรับฐาน

หุ้นเด่นเดือน พ.ย. : BBL, DOHOME, EKH, MAKRO, NOBLE

หุ้นเด่นวันนี้ : ASK

  • แนะนำ “เก็งกำไร” ราคาเป้าหมายจาก IAA Consensus 46.50 บาท
  • โมเมนตัมกำไร 4Q22-2023 คาดยังแข็งแกร่งต่อเนื่อง หนุนจากสินเชื่อที่คาดยังโตเด่นตามความต้องการใช้งานรถบรรทุกสอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรมและการขนส่งที่เติบโต
  • ความเสี่ยงด้าน NPL จำกัดกว่าสินเชื่อรายย่อย และ Consensus คาดกำไรปี 2022-2023 เติบโตแข็งแกร่ง +24% Y-Y และ +20% Y-Y ตามลำดับ ขณะที่ Valuation ปัจจุบันยังค่อนข้างถูก เทรด 2023PER เพียง 10 เท่า และให้ Dividend Yield กว่า 4-5% ต่อปี
  • แนวรับ 34//32 บาท แนวต้าน 36-36.50 บาท

Fund Flow : วานนี้กระแสเงินยังคงไหลเข้าภูมิภาคแต่บางลงเหลือ US$371 ล้าน โดยเม็ดเงินส่วนใหญ่ยังไหลเข้ากระจุกตัวที่ไต้หวัน US$497 ล้าน ส่วนเกาหลีใต้และอาเซียน ภาพรวมผสมผสานและค่อนไปในทิศทางไหลออก  แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดว่ายังชะลอการไหลเข้า หลังขาดปัจจัยใหม่เข้ามาหนุน และตลาดตอบรับเชิงบวกต่อทิศทางเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่เริ่มชะลอไปพอสมควรในช่วงก่อนหน้า

ประเด็นสำคัญวันนี้

(+) SC ยืนยันบรรลุเป้ายอด Presales ปีนี้ที่ 2.2 หมื่นลบ. ซึ่ง YTD ทำได้แล้ว 91% ของเป้าทั้งปี แนวโน้มกำไร 4Q22 คาดเร่งตัวขึ้นทั้ง Q-Q และ Y-Y เป็นไตรมาสที่ดีที่สุดของปีจาก Backlog แนวรับที่สูง รวมถึงการโอนคอนโดสร้างเสร็จใหม่ และมีแผนเปิดโครงการเพิ่มต่อเนื่อง รวมถึงการขยายการลงทุนธุรกิจ Recurring ทั้งโรงแรม คลังสินค้า และ Service Apartment ในสหรัฐฯ เพื่อสร้างเสถียรภาพของกำไรในระยะยาว เรายังคงประมาณการกำไรปี 2022-2023 +15% Y-Y และ +6% Y-Y) ตามลำดับ ทำ New High ติดต่อกันเป็นปีที่ 3 ยังคงราคาเป้าหมาย 5 บาท แนะนำ “ซื้อ”

(+) SAPPE ผู้บริหารตั้งเป้ารายได้ปี 2023 โตสูง +25% จากทั้งส่งออกและในประเทศกลับมาฟื้น โดยมองค่าเงินบาทอยู่ที่ 34-35 บาท และตั้งเป้า GPM ทรงตัวสูงจากปี 2022 ที่ 40-41% จากการใช้กำลังการผลิตสูงและต้นทุน Pet Resin ลดลง ปัจจุบันอยู่ระหว่างขยายกำลังการผลิตและจ้าง OEM รวมจะมีกำลังการผลิตเพิ่มในปี 2023 ราว 30% ตั้งแต่ 1Q23 เป็นต้นไป ระยะสั้นกำไร 4Q22 จะอ่อนลงตามฤดูกาล แต่ยังคาดทั้งปี 2022 +53% Y-Y และโตต่ออีก +13% Y-Y ในปี 2023 คงราคาเป้าหมายที่ 52 บาท แนะนำ “ซื้อ”

(-) TIDLOR แนวโน้มกำไร 4Q22 คาดยังชะลอตัว Q-Q โดยยังคงถูกกดดันจาก Credit Cost และค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่ยังเร่งขึ้นตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ที่ลดลง แนวโน้ม NPL คาดว่ายังเป็นขาขึ้นหลังหมดช่วงเวลาช่วยเหลือโดยคาด Peak ใน 2Q23 FSSIA คาดกำไรปี 2022-2023 +7% Y-Y และ +13% ตามลำดับ และคงราคาเป้าหมายที่ 32 บาท และแนะนำ “ซื้อ” แต่เชิงกลยุทธ์ยังไม่น่าสนใจและจำเป็นต้องรีบเข้าลงทุน

 

(-) ตลาดดาวโจนส์ ปิดที่ 33,553.83 จุด ลดลง 39.09 จุด หรือ -0.12% หลังบริษัทาร์เก็ต (TGT:NYSE) ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐรายงานกำไร 3Q22 ทรุดตัว ทำให้นักลงทุนกังวลต่อแนวโน้มผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน และตลาดถูกกดดันจากหุ้นกลุ่มผลิตชิปหลังบริษัทไมครอน (MU:NASDAQ) ประกาศแผนปรับลดการผลิตชิป

(-) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดลบ นำโดยหุ้นกลุ่มค้าปลีกของยุโรปจากความกังวลเกี่ยวกับการใช้จ่ายของผู้บริโภค

(0) ตลาดหุ้นเอเชีย แกว่งตัวผสม หลังตัวเลขทางเศรษฐกิจหลายประเทศรอประกาศเช้านี้ ขณะที่ญี่ปุ่นรายงานขาดดุลการค้าสูงกว่าที่คาด

(-) ค่าเงินบาท อ่อนค่า อยู่ที่บริเวณ 35.77 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ปิดลดลง 1.33 ดอลลาร์ หรือ 1.5% ปิดที่ 85.59 ดอลลาร์/บาร์เรล จากรายงานว่ารัสเซียเริ่มกลับมาลำเลียงน้ำมันไปยังฮังการีได้แล้ว และยังถูกกดดันจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ในจีน ในขณะที่เช้านี้ปรับลงต่อที่ระดับ 85.24 ดอลลาร์/บาร์เรล 0.20%

(0) ราคาทองคำ COMEX ปิดลดลงเล็กน้อย 1 ดอลลาร์ หรือ 0.06% ปิดที่ 1,775.8 ดอลลาร์/ออนซ์ จากแรงเทขายทำกำไร ในขณะที่เช้านี้รีบาวน์เล็กน้อยที่ระดับ 1,776.4 ดอลลาร์/ออนซ์ 0.03%

SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 906.35 / +1.73

- Advertisement -