สำนักวิจัยซีไอเอ็มบี ไทย :
สถานการณ์เศรษฐกิจที่สำคัญ
– กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 943,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 845,000 ตำแหน่ง จากระดับ 938,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย. ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวลงสู่ระดับ 5.4% ในเดือนก.ค. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 5.7% หลังจากแตะระดับ 5.9% ในเดือนมิ.ย. กระทรวงแรงงานสหรัฐยังได้ปรับตัวเลขการจ้างงานในเดือนพ.ค.
โดยปรับเป็นเพิ่มขึ้น 614,000 ตำแหน่ง จากเดิมที่รายงานว่าเพิ่มขึ้น 583,000 ตำแหน่ง และปรับตัวเลขการจ้างงานในเดือนมิ.ย. โดยปรับเป็นเพิ่มขึ้น 938,000 ตำแหน่ง จากเดิมที่รายงานว่าเพิ่มขึ้น 850,000 ตำแหน่ง กระทรวงแรงงานสหรัฐระบุว่าในเดือนก.ค. ภาคเอกชนมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 703,000 ตำแหน่ง ขณะที่ภาครัฐจ้างงานเพิ่มขึ้น 240,000 ตำแหน่ง (Source: https://www.ryt9.com)
– กระทรวงฝ่ายกิจการภายในประเทศและการสื่อสารของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า การใช้จ่ายของภาคครัวเรือนญี่ปุ่นลดลง 5.1% ในเดือนมิ.ย.เมื่อเทียบรายปี เนื่องจากการบริโภคในปี 2563 ได้รับแรงหนุนอย่างมากจากโครงการแจกเงินสดและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังจากได้รับผลกระทบในช่วงแรกจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 การใช้จ่ายโดยเฉลี่ยของภาคครัวเรือนที่มีสมาชิก 2 คนขึ้นไปอยู่ที่ 260,285 เยน (2,370 ดอลลาร์) ซึ่งลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน จากเป้าหมายที่จะบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นได้เริ่มแจกเงินสดให้กับประชาชนจำนวน 100,000 เยนต่อคนในเดือนพ.ค.ปีที่แล้ว เพื่อกระตุ้นการซื้อเครื่องใช้ภายในบ้านและสินค้าอื่นๆ ในเดือนมิ.ย. (Source: https://www.ryt9.com)
สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนีรายงานรายงานว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเยอรมนีลดลงในเดือนมิ.ย. ซึ่งชี้ว่า เศรษฐกิจเยอรมนีฟื้นตัวได้ช้าลง หลังประสบปัญหาคอขวดในฝั่งอุปทานของสินค้าขั้นกลาง รายงานระบุว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมลดลง 1.3% ในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบรายเดือน หลังลดลง 0.8% ในเดือนพ.ค. การลดลงของผลผลิตครั้งนี้เป็นผลมาจากระดับการผลิตที่ลดลงของสินค้าทุน เช่น เครื่องจักรกลและยานพาหนะ ซึ่งลดลง 2.9%
อย่างไรก็ดี ผลผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้น 3.4% กระทรวงเศรษฐกิจของเยอรมนีระบุว่า นอกจากภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาขาดแคลนไม้แล้ว ผลผลิตที่ลดลงยังเกิดจากปัญหาคอขวดของอุปทานเซมิคอนดักเตอร์ นอกจากนี้ ผลสำรวจโดยสถาบัน Ifo ยังระบุว่า ภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีปรับลดคาดการณ์การผลิตเดือนมิ.ย. เนื่องจากได้พิจารณาถึงปัญหาของอุปทานดังกล่าว (Source: https://www.ryt9.com)
– ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (repo rate) ที่ระดับ 4% และคงอัตราดอกเบี้ย reverse repo ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางใช้อ้างอิงในการกู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ ที่ระดับ 3.35% ในการประชุมวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวยังคงอยู่ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด
– (Source: https://www.ryt9.com)
MONEY MARKET
– ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาท วันศุกร์ (6 ส.ค ) เงินบาทวันนี้อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯสอดคล้องกับค่าเงินเอเชียส่วนใหญ่ โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 943,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 845,000 ตำแหน่ง จากระดับ 938,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย.
CAPITAL MARKET
-ตลาดหุ้นสหรัฐฯ วันศุกร์ (6 ส.ค ) ดัชนีดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้นในวันศุกร์หลังการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯที่ออกมาดีเกินคาด ปิดตลาดวันนี้ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,208.51 เพิ่มขึ้น 0.41% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,436.52 เพิ่มขึ้น 0.17% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,835.76 ลดลง 0.40%
-ตลาดหุ้นไทย วันศุกร์ (6 ส.ค ) ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันนี้ลดลงสอดคล้องกับหลายตลาดในเอเซีย นำโดยหุ้นในกลุ่มบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ปิโตรเคมี อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง กลุ่มพาณิชย์ และกลุ่มขนส่ง โดยปัจจัยต่างๆในประเทศยังกดดันภาวะลงทุนในช่วงนี้ ปิดตลาดวันนี้ SET INDEX ลดลง 5.94 จุด
Analyst View
เงินบาทวันนี้อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯต่อเนื่องจากในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาเนื่องจากหลายปัจจัย โดยทางด้านปัจจัยต่างประเทศวันนี้กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 943,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 845,000 ตำแหน่ง จากระดับ 938,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย. ซึ่งชี้ว่าภาวะตลาดแรงงานสหรัฐฯฟื้นตัวได้ดีต่อเนื่อง และทำให้มีโอกาสมากขึ้นในการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯจะลดมาตรการผ่อนคลายทางการเงินลงในเร็วๆนี้ ซึ่งปัจจัยนี้หนุนการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ
สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆที่มีการรายงานเมื่อวันศุกร์ ทางด้านญี่ปุ่น การใช้จ่ายของภาคครัวเรือนญี่ปุ่นลดลง 5.1% ในเดือนมิ.ย.เมื่อเทียบรายปี ซึ่งชี้ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังฟื้นตัวได้ช้าเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆเนื่องจากการฉีดวัคซีนในญี่ปุ่นดำเนินการช้ากว่าหลายประเทศสำคัญ ทั้งสหรัฐฯ และประเทศในยุโรป ส่วนทางด้านเยอรมนี ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเยอรมนีลดลงในเดือนมิ.ย. หลังประสบปัญหาคอขวดในฝั่งอุปทานของสินค้าขั้นกลาง