KS Daily View 07.12.2022 > วันนี้ติดตามเงินเฟ้อไทย พ.ย.แนะลงทุนหุ้นกลุ่ม Anti commodity/ Defensive SET คาดพักฐานต่อในกรอบ 1620-1635 จุด หุ้นแนะนำวันนี้ BEM
ประเด็นที่เกิดขึ้นเมื่อวาน : ต่างประเทศ ยังไม่ได้มีปัจจัยอะไรใหม่ที่กระทบหรือหนุนตลาดหุ้นเป็นพิเศษ โดยตลาดหุ้นสหรัฐปรับฐานลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 อิง ดัชนี Dow Jones -1.03%DoD, S&P500 -1.44%, NASDAQ -2.0% โดย Sector ในดัชนี S&P500 ปรับลงเกือบทุก Sector หลักๆ คือ กลุ่ม Energy -2.65% ถัดมาคือกลุ่ม Communication Services -2.57%, กลุ่ม IT -2.14% ส่วนกลุ่มที่บวกสวนคือ Utilities +0.66 ในประเทศ : SET Index เมื่อวานปิด 1632.97 จุด(-0.53%DoD) หุ้นที่ปรับขึ้นหลักๆนำโดย BJC+2.96%, GULF +1.41%ฯลฯ หุ้นที่ปรับลง DELTA -4.1%, ADVANC -1.9%, BDMS -1.72%
ประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้
1.) ติดตามวันนี้รายงานเงินเฟ้อไทยเดือน พ.ย. คาด +0.2%MoM และ +5.85%YoY ชะลอจาก 5.98% ในเดือนก่อนหน้า หากแนวโน้มออกมาชะลอลงเป็นการตอกย้ำว่าเงินเฟ้อไทยได้ผ่านจุด Peak เราประเมินจะลดแรงกดดันต่อการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของไทยในปี 2566 เป็นต้นไป
2.) ติดตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ของ กกพ. หลัง กพช. เห็นชอบให้ ปตท. ร่วมกับ กฟผ. บริหารจัดการผลกระทบราคาก๊าซธรรมชาติต่อค่าไฟฟ้า โดยให้ ปตท. จ่ายค่าอุดหนุนเดือนละ 1,500 ลบ. ต่อเดือน ระหว่าง ม.ค.-เม.ย. 2566 รวมเป็นเงิน 6,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามเรามองว่าจำนวนเงินดังกล่าวอาจช่วยอุดหนุนได้เพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากข้อเสนอของทาง กกพ ทั้ง 3 กรณีนั้น ค่าไฟฟ้าจะต้องปรับขึ้นมาจาก 4.72 บาท/หน่วยในปัจจุบันมาอยู่ระหว่าง 5.37-6.03 บาท/หน่วย หรือปรับขึ้น 0.65-1.31 บาท/หน่วย โดยหากพิจารณาจากปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศที่ปีละ 1.8 แสนล้านหน่วย หรือตกเดือนละ 1.5 หมื่นล้านหน่วย รัฐบาลจะต้องการเงินอุดหนุนจาก ปตท. ราวๆ เดือนละ 1-2 หมื่นลบ. โดยเรามองมีโอกาสที่จะเห็นการปรับขึ้นค่า FT โดยหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการค่า FT มากสุดคือ กลุ่มโรงไฟฟ้า SPP โดยเฉพาะ BGRIM, GPSC
3.) ติดตามแนวโน้ม FDI ที่จะไหลเข้า ASEAN โดยเฉพาะไทย และเวียดนาม ซึ่งจะเป็นบวกกับกลุ่มนิคมของไทยคือ AMATA, WHA, และ FPT ซึ่งล่าสุด WSJ ได้รายงานข่าวว่า APPLE ได้แจ้งผู้ผลิตที่อยู่ใน supply chain ของ iPhone ว่าบริษัทเตรียมย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศจีนหลังเกิดเหตุวุ่นวายในเมือง Zhengzhou ซึ่งจะส่งผลกระทบให้ยอดผลิต iPhone ลดลง 6 ล้านเครื่อง จากเป้า iPhone 14 ที่ 87 ล้านเครื่องในปีนี้ นอกจากนี้บริษัทญี่ปุ่นที่ตั้งฐานการผลิตในจีนมีแนวโน้มที่จะลดการพึ่งพา supply chain จากจีนด้วย โดยจะเลือกกลับไปลงทุนในญี่ปุ่นมากขึ้น รวมถึงประเทศใน ASEAN
4.) ทิศทางราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ล่าสุดปรับลงแรง โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบ Brent -4%DoD ปิดที่ 79.35 เหรียญ/บาร์เรล ต่ำสุดนับตั้งแต่ 3 ม.ค.2565 จากความกังวล Recession ส่วนราคา Wheat ปรับลง 1.4%DoD ฯลฯ ทำให้เรามีมุมมองบวกต่อกลุ่ม Anti Commodity อาทิ กลุ่มโรงไฟฟ้า GPSC, BGRIM ฯลฯ กลุ่ม Retail oil อาทิ PTG, OR กลุ่มอาหาร RBF, SNNP กลุ่มสายการบิน อาทิ AAV, BA โดยรวมประเมินจะเป็นปัจจัยบวกต่อราคาหุ้นในวันนี้
กลยุทธการลงทุนสัปดาห์นี้ : KS ยังคงมุมมองตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้คาดแกว่งตัวลง แนวรับสำคัญคือ 1666 และ 1605 จุด เชื่อว่าตลาดยังรอการประชุมกลาง Fed กลางเดือน ธ.ค. และความกังวลเรื่อง Recession ยังเป็นปัจจัยกดดันบรรายากาศการลงทุนโดยรวม ส่วนปัจจัยในประเทศในช่วงนี้ให้น้ำหนักการทำ Window dressing และรอวันนี้รายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของไทยในเดือน พ.ย. ส่วนทิศทางเงินทุนต่างชาติช่วง 2 วันที่ผ่านมาจะเห็นแรงขายสุทธิรวมกัน 9.4 พันล้านบาท แต่เรายังมีมุมมองบวกต่อเงินทุนต่างชาติไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ทั้งจากแนวโน้มเงินบาท/ดอลลาร์ทิศทางแกว่งตัวแข็งค่า ล่าสุดอยู่ 35 บาท และปัจจัยแวดล้อมในช่วงที่เหลือของปียังไม่ได้มีปัจจัยลบอะไรใหม่ โดยรวมเราประเมินแนวต้าน SET Index ในช่วงที่เหลือของปีนี้ 1666 จุด และ 1700 จุด
หุ้นแนะนำลงทุนตลอดในสัปดาห์นี้
1.) กลุ่ม Growth stock แนะนำ JMT, KLINIQ
2.) หุ้น Defensive พื้นฐานดี, Downside จำกัด แนะนำ BEM, BAM GPSC, BGRIM
3.) กลุ่มนิคมได้ประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิต AMATA
4.) กลุ่มโรงแรม SHR,MINT
ประเมินตลาดหุ้นไทยวันนี้คาดกรอบ 1620-1635 จุด
Top pick :
BEM (ราคาพื้นฐาน 10.84 บาท) เราชื่นชอบเนื่องจากเป็นหุ้น Defensive Stocks ในช่วงที่ตลาดผันผวน และมีปัจจัยหนุนราคาหุ้นจากทิศทางการเติบโตของธุรกิจ อาทิ
1) การฟื้นตัวของปริมาณการจราจรบนทางด่วนและ MRT ที่สูงขึ้น เราประมาณการปริมาณการใช้ทางพิเศษของ BEM ในปี 2566 ที่ 1.15 ล้านเที่ยว/วัน คิดเป็น 93% ของระดับก่อนเกิดโควิด-19 และ 369,000 เที่ยว/วัน ในธุรกิจโครง MRT คิดเป็น 109% ของระดับก่อนเกิดโควิด-19
2) การปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT ทีสูงขึ้น
3) การเริ่มต้นโครงการทางด่วน 2 ชั้น ในปี 2566
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ
- วันพุธ ติดตาม ตัวเลขส่งออก และนำเข้าของจีน เดือน พ.ย. คาด -3.6% YoY และ -5.0% YoY การประชุมธนาคารกลางอินเดียคาดขึ้นดอกเบี้ย 25 bps. เป็น 6.15% การประชุมธนาคารกลางแคนาดาคาดปรับขึ้นดอกเบี้ย 50bps. เป็น 4.25% และตัวเลขปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ
- วันพฤหัสฯ ติดตามถ้อยแถลงของ ECB President Lagarde และตัวเลข Initial Jobless Claim ของสหรัฐฯ รายสัปดาห์คาด 230K (vs. 225K สัปดาห์ก่อน)
- วันศุกร์ ติดตาม ตัวเลขเงินเฟ้อของจีนเดือน พ.ย. คาด +0.2% MoM และ +2.1% YoY ดัชนีราคาผู้ผลิตของจีนเดือน พ.ย. คาด -1.6% YoY ดัชนีราคาผู้ผลิตของสหรัฐฯ เดือน พ.ย. คาด +0.2% MoM และ +7.2% YoY ตัวเลข Michigan Consumer Sentiment สหรัฐฯเดือน ธ.ค. คาด 57 จุด ทรงตัว MoM และตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อเฉลี่ย 5 ปีโดย U Michigan คาด 2.9% (vs. 3.0% เดือนก่อน)