บล.หยวนต้า (ประเทศไทย):

 Action BUY (Maintain)

TP upside (downside) +16.6%

Close Dec 9, 2022 Price (THB) 2.92 

12M Target (THB) 3.40

Previous Target (THB) 3.34

What’s new?

  • IFS รายงานทําไรสุทธิ 3Q65 ที่ 41 ลบ. โต 10.7%QoQ และ 8.4%YoY ใกล้เคียงคาด แม้มีแรงกดดันจากการตั้งสำรองที่ปรับขึ้น แต่กำไรจากการตำเนินงานก่อนการตั้งสำรอง (PPOP) โต 12.7%YoY
  • 4Q65 คาดกำไรสุทธิลดลง YoY แต่จะปรับขึ้น QoQ เข้าสู่ High Season และเริ่มเห็นความต้องการใช้สินเชื่อจากลูกค้ากลุ่ม SME เข้ามามากขึ้น หนุนให้คาดทั้งปี 2565 IFS จะมีกำไรสุทธิ 164 ลบ. โต 7.0%YoY และโตต่อ 7.1%YoY ในปี 2566

Our view

  • เราคาดแนวโน้มผลดำเนินงานของ IFS อยู่ในช่วงฟื้นตัว หนุนจากภาพรวมของเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัว ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบันมี Upside 16.6% หลังปรับไปใช้มูลค่าพื้นฐานปี 2566 ที่ 3.40 บาท (จากเดิมที่ 3.34 บาท) คิดเป็น PBV เพียง 0.9X ลดลงจากเดิมที่ 1x (อิงวิธี Gordon Growth Model โดย Ke = 11.1% ปรับขึ้นเล็กน้อย จากเดิมที่ 10.8% ส่วน Sustainable ROE = 10.5% และ LTG = 2% เท่าเดิม) บวกกับคาดจะให้ Div. Yield ปี 2565 สูงราว 5.7% ต่อปี จึงคงคำแนะนำ “ซื้อ”

IFS CAPITAL (IFS) มีปันผลน่าสนใจ และผลดำเนินงานกำลังฟื้นตัว

3Q65 แม้ค่าใช้จ่ายสูง แต่รายได้ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมโตดี YoY

IFS รายงานทําไรสุทธิ 3Q65 จํานวน 41 ลบ. โต 10.7%QoQ และโต 8.4%YoY ใกล้เคียงคาด แม้มีแรง กดดันจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เร่งตัวขึ้น 13.1%YoY และค่าใช้จ่ายตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้น 141.9%YoY ผลกระทบจากหนี้เสียสูงขึ้นเป็น 4.2% จาก 3.3% ของสินเชื่อรวมใน 3Q64 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากช่วง COVID-19 และยังฟื้นตัวได้ช้า ทำให้ขาดสภาพคล่อง แต่ปัจจัยลบดังกล่าวถูกชดเชยด้วยประเด็นบวกจาก 1) รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิที่ปรับขึ้น 11.1%YoY สอดรับกับขนาดของพอร์ตสินเชื่อที่ขยายตัวขึ้นได้ดี โดยเฉพาะสินเชื่อ Factoring หลังลูกค้ามีความต้องการแหล่งเงินทุนสำหรับเสริมสภาพคล่องในการทำธุรกิจในช่วงที่เศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัว เช่น กลุ่มลูกค้าโรงแรม กลุ่มก่อสร้าง และกลุ่ม Packaging และ 2) รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยโต 16%YoY หลักๆ มาจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่ขยายตัว สอดรับกับปริมาณธุรกรรมสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น ทำให้กำไรจากการดำเนินงานก่อนการตั้งสำรอง (PPOP) ปรับขึ้น 12.7%YoY

คาด 4Q65 กำไรโต QoQ หลังเข้าสู่ช่วง High Season

กำไรสุทธิ 9M65 อยู่ที่ 121 ลบ. โต 10.6%YoY คิดเป็น 73.8% ของประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี และเรายังคงประมาณการเดิม โดยคาดผลดำเนินงาน 4Q65 ของ IFS แม้ปรับลงเล็กน้อย YoY เนื่องจากมีการโอนกลับสำรองจํานวน 3 ลบ. ใน 4Q64 ซึ่งคาดใน 4Q65 จะกลับมาตั้งสำรองตามปกติ ส่วน QoQ คาดจะเร่งตัวขึ้น หลังเข้าสู่ช่วง High Season ของธุรกิจ ซึ่งปีนี้คาดจะได้แรงหนุนจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คึกคักขึ้นมาก หลังมาตรการล็อคดาวน์ผ่อนคลายลง หนุนให้ผู้ประกอบการ SME ซึ่งเป็นฐานลูกค้าหลักของ IFS กลับมาใช้สินเชื่อเพื่อเร่งขยายธุรกิจ  ขณะที่การตั้งสำรองคาดจะเริ่มผ่อนคลายลง เนื่องจากลูกหนี้ที่เหลือในพอร์ตส่วนใหญ่มีฐานะการเงินดี และบริษัทได้เข้าไปติดตามลูกหนี้อย่างใกล้ชิด หนุนให้คาดทั้งปี 2565 IFS จะมีกำไรสุทธิ 164 ลบ. โต 7.0%YoY และโตต่อ 7.1%YoY ในปี 2566

ฐานะการเงินแข็งแรง มองดอกเบี้ยขาขึ้นกระทบจำกัด

ส่วนสถานะทางการเงิน ณ สิ้น 3Q65 IFS มี D/E Ratio อยู่ที่ 1.3x ลดลงเล็กน้อยจาก 2Q65 หลังชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นบางส่วน โดยปัจจุบันบริษัทยังมีวงเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินที่สามารถใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนได้อีกราว 3,000 ลบ. ทำให้ไม่จำเป็นต้องเร่งออกหุ้นกู้ (ต้นทุนทางการเงินของหุ้นกู้เบื้องต้นอยู่ที่ 6-7% ต่อปี เทียบกับต้นทุนทางการเงินของบริษัทใน 3Q65 ที่ 2% ต่อปี) ขณะที่ผลกระทบจากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นคาดจะไม่รุนแรง เพราะบริษัทเน้นปล่อยสินเชื่อระยะสั้น (อายุไม่เกิน 1 ปี) ทำให้สามารถส่งผ่านต้นทุนไปให้กับลูกค้าได้เร็ว

ราคาหุ้นมี Upside และเงินปันผลน่าสนใจ

เราคาดแนวโน้มผลดำเนินงานของ IFS อยู่ในช่วงฟื้นตัว หนุนจากภาพรวมของเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัว ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบันมี Upside 16.6% หลังปรับไปใช้มูลค่าพื้นฐานปี 2566 ที่ 3.40 บาท (จากเดิมที่ 3.34 บาท) คิดเป็น PBV เพียง 0.9X ลดลงจากเดิมที่ 1x (อิงวิธี Gordon Growth Model โดย Ke = 11.1% ปรับขึ้นเล็กน้อยจากเดิมที่ 10.8% ส่วน Sustainable ROE = 10.5% และ LTG = 2% เท่าเดิม) บวกกับคาดจะให้ Div. Yield ปี 2565 สูงราว 5.7% ต่อปี จึงคงคำแนะนำ “ซื้อ”

- Advertisement -